Share to:

 

ภาษาตาตาร์

ภาษาตาตาร์
татар теле, tatar tele, تاتار تلی
ภูมิภาคภูมิภาควอลกา
ชาติพันธุ์ชาวตาตาร์วอลกา
จำนวนผู้พูด5.2 ล้านคน  (2015)[1]
(อาจรวมผู้พูดภาษาที่สอง)
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาตาตาร์เก่า
  • ภาษาตาตาร์
ระบบการเขียนอักษรตาตาร์ (ซีริลลิก, ละติน อดีตใช้อักษรอาหรับ)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการตาตาร์สตาน (รัสเซีย)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในโปแลนด์[2]
ผู้วางระเบียบInstitute of Language, Literature and Arts of the Academy of Sciences of the Republic of Tatarstan
รหัสภาษา
ISO 639-1tt
ISO 639-2tat
ISO 639-3tat
Linguasphere44-AAB-be
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาตาตาร์ (ตาตาร์: татар теле, tatar tele หรือ татарча, tatarça) เป็นภาษากลุ่มเติร์กิก พูดโดยชาวตาตาร์ จัดเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีผู้พูดในบางส่วนของยุโรป รัสเซีย ไซบีเรีย จีน ตุรกี โปแลนด์ ยูเครน ฟินแลนด์ และเอเชียกลาง เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน เขียนด้วยอักษรซีริลลิกโดยมีอักษรเฉพาะที่ไม่ได้ใช้ในภาษากลุ่มสลาวิก

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

มีผู้พูดในรัสเซีย เอเชียกลาง ยูเครน โปแลนด์ จีน ฟินแลนด์และตุรกี ภาษาตาตาร์เป็นภาษาแม่ของผู้พูดภาษาบัชกอร์ต 400,000 คน โดยเฉพาะที่อยู่ในยูฟา ชาวตาตาร์ 94% และชนกลุ่มอื่นที่อยู่ในตาตาร์สถาน 7% บอกว่าตัวเองรู้ภาษาตาตาร์ ใน พ.ศ. 2545[3]

สถานะการเป็นภาษาราชการ

ภาษาตาตาร์เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน อักษรทางการของภาษาตาตาร์เป็นอักษรซีริลลิกและเพิ่มตัวอักษรที่ไม่พบในภาษากลุ่มสลาฟอื่นๆ บางครั้งมีการใช้อักษรอื่นๆ เช่น อักษรละติน และอักษรอาหรับ การใช้ในการตีพิมพ์และในอินเทอร์เน็ตเป็นอักษรซีริลลิก แต่ในที่ๆภาษาตาตาร์ไม่ได้เป็นภาษาราชการ อักษรที่ใช้ขึ้นกับความถนัดของผู้เขียน

ภาษาตาตาร์เสมือนเป็นภาษาราชการในรัสเซียเมื่อ พ.ศ. 2460 แต่เฉพาะในสาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมตาตาร์-บัชกอร์ต และเป็นภาษาราชการในรัฐอีเดล-ยูราล

การใช้ภาษาตาตาร์เริ่มลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2473 ใน พ.ศ. 2523 ไม่มีการสอนในโรงเรียนในเมือง มีแต่ในโรงเรียนในชนบท ผู้พูดภาษาตาตาร์มีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยน้อย เพราะในมหาวิทยาลัยสอนเป็นภาษารัสเซีย อย่างไรก็ตาม ภาษาตาตาร์ยังไม่จัดว่าเป็นภาษาใกล้ตาย เพราะมีการสอนด้วยภาษาตาตาร์ระดับสูงในตาตาร์สถาน การใช้ภาษาตาตาร์เป็นภาษาเขียนพบเฉพาะในหมู่ผู้พูดภาษาตาตาร์

สำเนียง

ภาษาตาตาร์มีสำเนียงหลักสามสำเนียงคือ สำเนียงตะวันตก (Mişä) สำเนียงกลาง (ใช้ทั่วไป) และสำเนียงตะวันออก (ไซบีเรียนตาตาร์) แต่ละสำเนียงยังแบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้อีก

ภาษารัสเซียมีอิทธิพลต่อภาษาตาตาร์ มีการใช้คำและวลีภาษารัสเซียด้วยไวยากรณ์ภาษาตาตาร์ หรือมีการใช้ไวยากรณ์ภาษารัสเซียในหนังสือภาษาตาตาร์

ภาษาตาตาร์ไซบีเรียเป็นสำเนียงที่ต่างจากภาษาตาตาร์ที่ใช้ในการเขียน สำเนียงนี้เคยใช้เป็นภาษาเขียนในช่วงก่อน พ.ศ. 2473 หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ภาษารัสเซีย ภายในสำเนียงนี้เองยังมีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์.[4]โดยเฉพาะไซบีเรียตะวันตก ส่วนภาษาของชาวชูเลียม ตาตาร์ ถือเป็นภาษาเอกเทศต่างหาก

ตาตาร์ในรัสเซีย

มีผู้พูดภาษาตาตาร์ในรัสเซียราว 5,300,000 คน โดยเป็นชาวตาตาร์ 4,500,000 คน ส่วนที่เหลือเป็นชาวบัชกอร์ต 520,000 คน ชาวรัสเซีย 130,000 คน ชาวชูวาส 70,000 คน ชาวมาริส 42,000 คน ชาวอุดเมิร์ธ และมอร์ดวินส์ มีชาวพื้นเมืองที่พูดภาษาตาตาร์ในตาตาร์สถาน ได้แก่ ชาวอาเซอรี ชาวคาซัค ชาวอาร์เมเนีย และชาวยิว

ไวยากรณ์

ภาษาตาตาร์เป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆ

ประวัติ

บรรพบุรุษของภาษาตาตาร์คือภาษาโบลการ์ที่ตายแล้วและภาษาเคียปชัก ภาษาตาตาร์ไครเมียไม่ถือเป็นภาษาใกล้เคียง สำเนียงที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการเขียนคือสำเนียงกลางที่ใช้ในตาตาร์สถานและสำเนียงโบราณ ทั้งสองสำเนียงนี้อยู่ในภาษากลุ่มเคียปชักซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มเตอร์กิก ภาษาตาตาร์ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มคอเคเซียน ภาษากลุ่มสลาฟ และภาษากลุ่มฟินโน-อูกริก ที่ใช้พูดในบริเวณแม่น้ำโวลการ์มาก

สัทวิทยา

ระบบเสียงสระ

ภาษาตาตาร์มีเครื่องหมายแทนเสียงสระ 16 ตัว เช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆ ภาษาตาตาร์มีการเปลี่ยนเสียงสระ สระบางตัวแยกเป็นสระหน้าและสระหลังด้วย สระหน้า: ä [æ~ə], â [æ], e [e], é [ɛ], i [i], ó [ø], ö [œ], ü [y] สระหลัง: a [ɑ~ʌ], á [ɑ], í [ɯɪ], ı [ɯ~ɨ:], o [o~o:], u–ú [u]

ระบบเสียงพยัญชนะ

หน่วยเสียงในภาษาตาตาร์ส่วนใหญ่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆ เสียง /f/, /x/ และ /ʒ/ เป็นเสียงที่ยืมมาจากภาษาอาหรับและภาษาในยุโรปตั้งแต่ยุคกลาง ส่วนเสียง /v/ ยืมมาในพุทธศตวรรษที่ 25 ความแตกต่างระหว่างเสียง /h/ และ /x/ เริ่มเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการใช้คำ อัลลอหฺ และการได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย ในยุคที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต การปรากฏของเสียง /h/ ลดลงมาก

ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟัน ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ เส้นเสียง
เสียงระเบิด [ p ] [ b ] [ t ] [ d ] [ k ] [ ɡ ] [ q ]
เสียงนาสิก [ m ] [ n ] [ ŋ ]
เสียงเสียดแทรก [ f ] [ v ] [ s ] [ z ] [ ʃ ]
[ ɕ ]
[ ʒ ]
[ ʑ ]
[ ɣ ] [ h ]
เสียงรัว [ r ]
เสียงเปิด [ j ]
เสียงเปิดข้างลิ้น [ l ]

ระบบการเขียน

ภาษาตาตาร์มีประวัติการเขียนด้วยอักษรหลายชนิด การเขียนเริ่มแรกประยุกต์มาจากภาษาโบลการ์ ซึ่งใช้อักษรออร์คอนก่อน พ.ศ. 1463 ต่อจากนั้น เปลี่ยนมาใช้อักษรอาหรับ จนถึง พ.ศ. 2471 ในช่วง พ.ศ. 2470 – 2481 ใช้อักษรละติน ส่วนในรัสเซียและในตาตาร์สถานได้เปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิก ต่อมาในราว พ.ศ. 2543 ได้มีการปรับปรุงการเขียนด้วยอักษรละตินใหม่และเป็นที่นิยมใช้ทางอินเทอร์เน็ต แต่มีใช้ในรัสเซียน้อยเพราะมีกฎหมายบังคับให้ทุกภาษาในรัสเซียต้องเขียนด้วยอักษรซีริลลิก

ตัวอย่าง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1:

Барлык кешеләр дә азат һәм үз абруйлары һәм хокуклары ягыннан тиң булып туалар. Аларга акыл һәм вөҗдан бирелгән һәм бер-берсенә карата туганнарча мөнасәбәттә булырга тиешләр.
Barlıq keşelär dä azat häm üz abruyları häm xoquqları yağınnan tiñ bulıp tualar. Alarğa aqıl häm wöcdan birelgän häm ber-bersenä qarata tuğannarça mönasäbättä bulırğa tiyeşlär

อ้างอิง

  1. ภาษาตาตาร์ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-06. สืบค้นเมื่อ 2022-01-29.
  3. Russian Census 2002. 6. Владение языками (кроме русского) населением отдельных национальностей по республикам, автономной области и автономным округам Российской Федерации เก็บถาวร 2006-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(Knowledge of languages other than Russian by the population of republics, autonomous oblast and autonomous districts)(รัสเซีย)
  4. Information about Siberian Tatar

อ่านเพิ่ม

  • Bukharaev, R., & Matthews, D. J. (2000). Historical anthology of Kazan Tatar verse: voices of eternity. Richmond, Surrey: Curzon. ISBN 0-7007-1077-9
  • PEN (Organization). (1998). Tatar literature today. Kazan: Magarif Publishers.
  • Poppe, N. N. (1963). Tatar manual: descriptive grammar and texts with a Tatar-English glossary. Bloomington: Indiana University.
  • (ในภาษารัสเซีย) Ахатов Г. Х. Татарская диалектология (учебник для студентов вузов). — Казань, 1984.
  • (ในภาษารัสเซีย) Татарская грамматика. В 3-х т. / Гл. ред. М. З. Закиев. — Казань, 1993.
  • Gilmetdinova A, Malova I. 'Language education for glocal interaction: English and Tatar.' World Englishes 37(3) 2018;1–11. https://doi.org/10.1111/weng.12324

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya