Share to:

 

ภาษาฮีบรูสะมาริตัน

ภาษาฮีบรูสะมาริตัน
ࠏࠁࠓࠉࠕ Îbrit
ภูมิภาคประเทศอิสราเอลและดินแดนปาเลสไตน์ ส่วนใหญ่อยู่ในนับลุสและโฮโลน
สูญแล้วป. คริสต์ศตวรรษที่ 2[1]
ยังคงใช้งานในพิธีสวด
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอับญัดสะมาริตัน
รหัสภาษา
ISO 639-3smp
Linguasphere12-AAB
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาฮีบรูสะมาริตัน (อังกฤษ: Samaritan Hebrew language; ࠏࠨࠁࠬࠓࠪࠉࠕʿÎbrit) เป็นรูปอ่านที่ชาวสะมาริตันใช้ในการอ่านภาษาฮีบรูโบราณในโทราห์สะมาริตัน ซึ่งตรงข้ามกับการอ่านคัมภีร์ในภาษาฮีบรูไทบีเรียนของบรรดาชาวยิว

สำหรับชาวสะมาริตัน ภาษาฮีบรูโบราณไม่มีผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันและสืบทอดเป็นภาษาอราเมอิกสะมาริตัน ซึ่งไม่มีผู้พูดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 12 แล้วแทนที่ด้วยภาษาอาหรับ (หรือเฉพาะเจาะจงคือภาษาอาหรับปาเลสไตน์สะมาริตัน)

สัทวิทยาของภาษาฮีบรูสะมาริตันมีความคล้ายคลึงกับสัทวิทยาในภาษาอาหรับสะมาริตันอย่างมาก และชาวสะมาริตันใช้ภาษานี้ในบทสวด[2] ปัจจุบัน ภาษาพูดของชาวสะมาริตันแบ่งออกเป็นระหว่างภาษาฮีบรูสมัยใหม่และภาษอาหรับปาเลสไตน์ ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาอาศัยอยู่ที่โฮโลน (อิสราเอล) หรือเชเคม (เช่น นับลุสในพื้นที่ A ของปาเลสไตน์)

ประวัติและการค้นพบ

การเขียน

รายละเอียดโทราห์สะมาริตันนาบุลในภาษาฮีบรูสะมาริตัน

ภาษาฮีบรูสะมาริตันเขียนด้วยอักษรสะมาริตัน ซึ่งเป็นอักษรที่สืบทอดโดยตรงจากชุดตัวอักษรปาเลโอ-ฮีบรู ซึ่งถือเป็นอักษรแบบหนึ่งของอักษรไซนายดั้งเดิมตอนต้น

อักษรซามาริทัยมีความใกล้ชิดกับอักษรที่ปรากฏบนเหรีญและจารึกภาษาฮีบรูโบราณหลายแห่ง[3] ในทางตรงกันข้าม วิธภาษาของภาษาฮีบรูอื่น ๆ ทั้งหมดที่เขียนโดยชาวยิวใช้อักษรฮีบรูแบบเหลี่ยม ซึ่งเป็นอักษรที่สืบมาจากชุดตัวอักษรแอราเมอิกที่ชาวยิวเริ่มใช้งานในช่วงการคุมขังที่บาบิโลนหลังการเนรเทศจากอาณาจักรยูดาห์เมื่อศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. ชาวยิวเริ่มใช้อักษรแบบ "เหลี่ยม" นี้ไว้เขียนภาษาแอราเมอิกจักรวรรดิ อักษรประจำตำแหน่งของจักรวรรดิอะคีเมนิด[4] ในขณะที่ชาวสะมาริตันยังคงใช้อักษรปาเลโอ-ฮีบรู ซึ่งพัฒนาไปเป็นอักษรสะมาริตัน

การออกเสียง

พยัญชนะ

ชื่อ A'laf Bit Ga'man Da'lat Iy Baa Zen It Ṭit Yut Kaaf La'bat Mim Nun Sin'gaat In Fi Tsaa'diy Quf Rish Shan Taaf
อักษรสะมาริตัน
อักษรฮีบรูแบบเหลี่ยม (Ktav Ashuri) א ב ג ד ה ו ז ח ט י כ ל מ נ ס ע פ צ ק ר ש ת
ออกเสียง [ʔ] [b] [ɡ] [d] [ʔ] [b], [w] [z] [ʔ], [ʕ] [] [j] [k] [l] [m] [n] [s] [ʔ], [ʕ] [f], [b] [] [q], [ʔ] [r] [ʃ] [t]

สระ

นิกกุดกับ ‎/מ , ,
เทียบเสียง /a/, /ɒ/ /e/ /e/, /i/ /o/, /u/ (พยัญชนะซ้ำ) /ʕa/

ไวยากรณ์

นาม

เมื่อเติมปัจจัย ê และ ô ในพยางค์สุดท้ายอาจจะกลายเป็น î และ û เช่น bôr (Judean bohr) "pit" > búrôt "pits"

คำนำหน้านาม

คนำหน้านามชี้เฉพาะเป็น a- หรือ e-

จำนวน

ปัจจัยพหูพจน์เป็น –êm ปัจจัยทวิพจน์บางครั้งเป็น –ayem แต่โดยทั่วไปจะเหมือนพหูพจน์

บุพบท

"ในหรือใช้ออกเสียงเป็น:

  • b- ก่อนสระ: b-érbi = "with a sword"; b-íštu "กับภรรยาของเขา".
  • ba- ก่อน bilabial consonant: bá-bêt (Judean Hebrew: ba-ba′yith) "ในบ้าน”
  • ev- ก่อนพยัญชนะอื่น: ev-lila "ในกลางคืน", ev-dévar "กับสิ่งของ".
  • ba-/be- ก่อนคำนำหน้านามชี้เฉพาะ: barrášet (Judean Hebrew: Bere’•shith′) "ในตอนเริ่มต้น"; béyyôm "ในวัน".

"คล้าย", ออกเสียงเป็น:

  • ka เมื่อไม่มีคำนำหน้า: ka-demútu "in his likeness"
  • ke เมื่อมีคำนำหน้า: ké-yyôm "like the day".

"ถึง" ออกเสียงเป็น:

  • l- ก่อนสระ: l-ávi "to my father", l-évad "to the slave"
  • el-, al- ก่อนพยัญชนะ: al-béni "to the children (of)"
  • le- ก่อน l: le-léket "to go"
  • l- ก่อนคำนำหน้านาม: lammúad "at the appointed time"; la-şé'on "to the flock"

"และ" ออกเสียงเป็น:

  • w- ก่อนพยัญชนะ: wal-Šárra "and to Sarah"
  • u- ก่อนสระ: u-yeššeg "and he caught up"

อ้างอิง

  1. ภาษาฮีบรูสะมาริตัน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Ben-Ḥayyim 2000, p. 29.
  3. Herbermann, Charles, บ.ก. (1913). "Samaritan Language and Literature" . สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.
  4. A History of the Hebrew Language. Cambridge, England: Cambridge University Press. 1993. ISBN 0-521-55634-1.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya