Share to:

 

มรดกของเลโอนิด เบรจเนฟ

ความเข้าใจอย่างเต็มรูปแบบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสหภาพโซเวียตและสหพันธรัฐรัสเซีย อิทธิพลของเลโอนิด เบรจเนฟเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญในประวัติศาสตร์ เขาเป็นทั้งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ (CPSU) และประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 จนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1982 ซึ่งถือเป็นยุคแห่งความซบเซาทางสังคมและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียต[1]

แม้จะมีความล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศการต่างประเทศและนโยบายการป้องกันของเขารวมถึงความพยายามให้สหภาพโซเวียตเป็นรัฐมหาอำนาจหนึ่งเดียว ความนิยมในหมู่ประชาชนลดลงในช่วงปีสุดท้ายของเขา ความเชื่อมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ-เลนินก็ของประชาชนโซเวียตเริ่มหายไปอย่างไรก็ตามการสนับสนุนเขายังคงมีอยู่เห็นได้ชัดในวันที่เขาถึงแก่อสัญกรรม หลังจากถึงแก่อสัญกรรมของเขาพรรคคอมมิวนิสต์และประชาชนโซเวียตได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างรุนแรงทั้งเขาและครอบครัว โดยการวิจารณ์นโยบายของเขาว่านำสหภาพโซเวียตสู่"ยุคซบเซา"

นอกจากความซบเซาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เบรจเนฟทิ้งไว้ให้ประเทศชาติแล้วยังมีมรดกทางวัฒนธรรมและกลุ่มอำนาจทั้งยูรี อันโดรปอฟและคอนสตันติน เชียร์เนนโค ซึ่งเป็นผู้สูงอายุและอ่อนแอทางการเมือง นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าเบรจเนฟเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดยุคซบเซา อย่างไรก็ตามในการทำแบบสำรวจความนิยมในแต่ละยุคของรัสเชียในปี ค.ศ. 2006 ชี้ได้ว่า 61 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนรัสเชียมองว่ายุคเบรจเนฟเป็นหนึ่งในยุคที่ดีของรัสเชีย

สิ่งที่ทิ้งไว้

แผ่นโลหะรูปเบรจเนฟติดอยู่บนผนังของมหาวิทยาลัยดนีโปรดเซียร์จินสค์

เมื่อ เลโอนิด เบรจเนฟถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ยูรี อันโดรปอฟได้รับเลือกให้เป็นประธานในพิธีศพ ตามความคิดในโลกที่หนึ่งเห็นได้ชัดเจนว่ายูรี อันโดรปอฟได้รับการสืบทอดอำนาจต่อจากเบรจเนฟ[2] การทุจริตทางการเมืองอย่างเป็นวงกว้างในช่วงยุคเบรจเนฟกลายเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษที่ 1980 อันโดรปอฟ เริ่มมีนโยบายในการต่อต้านการทุจริตทั่วประเทศ อันโดรปอฟ เชื่อว่าเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตจะสามารถฟื้นตัวได้หากรัฐบาลโซเวียตสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นในหมู่กรรมกรและประชาชนโซเวียตได้[3] การบริหารของเบรจเนฟถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพราะหละหลวมทางอุดมการณ์และความเอาแต่ใจตัวเอง[4] รูปแบบการปกครองเบรจเนฟถูกค่อย ๆ ค่อย ๆ เอาออกไปโดย อันโดรปอฟ และได้มีการแต่งตั้งภายในพรรคใหม่โดยคำนึงความ "ศูนย์กลาง"เช่น ว่าที่นายกรัฐมนตรี Nikolai Ryzhkov และหัวหน้าคณะกรรมการกลาง Yegor Ligachev[5]นโยบายด้านการต่างประเทศของสหภาพโซเวียตก็เลื่อนหายและเสื่อมลงไปในช่วงปีสุดท้ายของเบรจเนฟและเมื่อเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 1982 ก่อนถึงแก่อสัญกรรมของเขา โรนัลด์ เรแกนได้กล่าวว่าสหภาพโซเวียตเป็น "จักรวรรดิปีศาจ" ท่าทีทางการทูตระหว่างประเทศได้หายไปก่อนที่มีฮาอิล กอร์บาชอฟเริ่ม "ความคิดใหม่"[6] ความเชื่อมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ-เลนินเริ่มหายไปที่ประจักษ์ชัดในหมู่ชาวโซเวียตอย่างไรก็ดียังมีการสนับสนุนอย่างเล็กน้อยในช่วงยุคเบรจเนฟ ทำให้ชาวโซเวียตยังคงระมัดระวังในแนวคิด เช่น ความคิดเห็นแบบเสรีภาพประชาธิปไตยและการกระจายอำนาจ และด้วยเหตุนี้ลัทธิมากซ์ - เลนินยังคงเป็นแนวคิดสำคัญในการปกครองต่อไป[7] เนื่องจากการสะสมทางทหารขนาดใหญ่ของทศวรรษที่ 1960 จงทำให้สหภาพโซเวียตยังคงเป็นมหาอำนาจในช่วงระหว่างการปกครองของเบรจเนฟ

ครอบครัวเบรจเนฟทุกคนยกเว้น กาลินา ลูกสาวของเบรจเนฟถูกจับกุมในข้อหาทุจริตทางการเมืองในระหว่างการบริหารของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ[8] Churbanov ลูกเขยของเบรจเนฟถูกตัดสินจำคุกสิบสองปีเนื่องจากมีการฉ้อฉลและการทุจริตขนาดใหญ่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 โดยถูกปลดออกจากตำแหน่งทั้งหมดและส่งไปยังค่ายกักกันแรงงาน กาลินาพร้อมกับครอบครัวที่เหลือของเบรจเนฟสูญเสียสิทธิ์ของรัฐทั้งหมด เมืองเบรจเนฟถูกเปลี่ยนเป็นชื่อเดิมคือ Naberezhnye Chelny และมีการเปลี่ยนชื่อเมือง ถนน โรงงานและสถาบันที่มีชื่อของเบรจเนฟและคอนสตันติน เชียร์เนนโคทั้งหมด[9]โดยที่มีรัฐบาลโซเวียตออกรัฐกฤษฎีกาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982[10]ตามที่คำกล่าวของหลานชายของเขาอันเดรย์ เบรจเนฟ "ชื่อ เบรจเนฟ ได้กลายเป็นคำสาปแช่งสำหรับครอบครัวและสมาชิกในครอบครัว หลายคนถูกบังคับให้ออกจากงานของพวกเขาและเพื่อนของพวกเขาได้ทิ้งเขาไป"[10]นอกจากนี้ รางวัล และ เครื่องอิสริยากรณ์ต่างๆที่ได้มาจากการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สองของเบรจเนฟมีมติให้ยึดคืนในการประชุมสภาโซเวียตสูงสุดเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1989[11]

ในช่วงยุคกอร์บาชอฟ ยุคเบรจเนฟถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่ายุคสตาลินโดยในการสำรวจวามคิดเห็นเพียงร้อยละ 7 เลือกยุคเบรจเนฟเป็นยุคที่ดี ในขณะที่ร้อยละ 10 เลือกยุคสตาลินเป็นยุคที่ดี[12] หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการปฏิรูปตลาดของบอริส เยลซินต่อมาชาวรัสเซียหลายคนมองว่ามีความคิดถึงยุคเบรจเนฟ คิดถึงเสถียรภาพของยุคเบรจเนฟซึ่งได้หายไปในช่วง ยุคกอร์บาชอฟ และ เยลซิน[13]

บทความวิเคราะห์

ประวัติศาสตร์ได้แสดงคำติชมของเบรจเนฟ และนโยบายของเขา บทความเกี่ยวข้องกับเขานั้นในช่วงเวลาก่อนถึงแก่อสัญกรรมนั้นหาได้ยาก ส่วนใหญ่จะเป็นบทความหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเขาซึ่งเป็นแง่ลบอย่างท่วมท้น บทความเกี่ยวข้องเบรจเนฟ ได้รับการเขียนเป็นภาษาอังกฤษและแม้กระทั่งในภาษารัสเซีย อ้างอิงจาก มาร์ค แซนเดิล และเอ็ดวิน เบคอน ผู้เขียนเรื่องการพิจารณาเบรจเนฟใหม่ (Brezhnev Reconsidered) กล่าวว่า เบรจเนฟ ได้รับความสนใจน้อยไม่นานหลังจากที่เขาเสียชีวิต

เมื่อ มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำก็ได้เริ่มนโยบายเปเรสตรอยคา เขาตำหนิเบรจเนฟในการทำให้เศรษฐกิจและสังคมโซเวียตซบเซา และเรียกยุคการปกครองของเขาว่า "ยุคซบเซา"[14] กอร์บาชอฟได้กล่าวว่า เบรจเนฟเป็น "พวกนีโอ-สตาลินนิสต์"[15]แม้ว่าในภายหลัง กอร์บาชอฟ ได้รับรองว่าเบรจเนฟไม่ได้เลวร้ายเหมือนที่เขาพูด และได้กล่าวว่า, "เบรจเนฟไม่ได้เป็นเหมือนรูปล้อเขาในตอนนี้"[16]

นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ Robert Service เขียนไว้ในหนังสือของเขา รัสเชีย:จากซาร์สู่ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด (Russia: From Tsarism to the Twenty-First Century) ว่า "เมื่อเขา (เบรจเนฟ) ประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจ ครุชชอฟ เขายังคงเป็นนักการเมืองที่เข้มแข็งที่คาดว่าจะทำให้พรรคและรัฐบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เขาเฉื่อยชาและอ่อนเพลียอย่างสิ้นเชิง แต่เขาได้กลายเป็นเลขาธิการได้นำลัทธิคอมมิวนิสต์สู่ความเกลียดชังที่สุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1917 " เขาเสริมว่า "ยากที่จะรู้สึกเสียใจมากสำหรับเบรจเนฟ"; นโยบายเศรษฐกิจและสังคมของเขาได้ส่งประเทศเข้าสู่ยุคของความซบเซาซึ่งผู้สืบทอดของเขาไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่ได้[17]"Talal Nizameddin ระบุไว้ในหนังสือของเขารัสเซียและตะวันออกกลาง: ต่อนโยบายการต่างประเทศใหม่ (Russia and the Middle East: Towards A New Foreign Policy) ว่า "มรดกของเบรจเนฟ"โดยทั่วไปไม่ได้รับผลกระทบจากผู้สืบทอดที่อ่อนแอของเขา (ยูรี อันโดรปอฟและคอนสตันติน เชียร์เนนโค) ทั้งสงครามอัฟกานิสถาน ความตึงเครียดกับจีนและญี่ปุ่น เช่นเดียวกับ ความคาดหวังของมิติใหม่ในการแข่งขันอาวุธกับสหรัฐฯในรูปของยุทธศาสตร์การป้องกัน (Star Wars) "[18]ตามนักประวัติศาสตร์ David Dyker ผู้เขียนหนังสือสหภาพโซเวียตภายใต้กอร์บาชอฟ: อนาคตสำหรับการปฏิรูป "เบรจเนฟสืบทอดฝ่ายซ้ายสหภาพโซเวียตผู้ทุกข์ทรมานจากปัญหาต่าง ๆ ในประเทศและต่างประเทศ" (The Soviet Union under Gorbachev: Prospects for Reform "Brezhnev left his successors a Soviet Union suffering from a host of domestic and foreign problems") อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่ Dyker เจอคือจุดอ่อนของเศรษฐกิจที่ทำลายอิทธิพลของโซเวียตนอกพรมแดนอย่างมากในช่วงปลายยุคเบรจเนฟเนื่องจากความล้าหลังทางเทคโนโลยี[19]

ผู้เขียน ความขัดแย้งของสหภาพโซเวียต: การขยายตัวจากภายนอกความเสื่อมภายใน (The Soviet Paradox: External Expansion, Internal Decline) Seweryn Bialer มีการประเมินยุคเบรจเนฟ Bialer กล่าวว่ายุคนั้นเป็นช่วงเวลาแห่ง "โอกาสที่หายไป" แต่ยอมรับว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงปีแรกของเบรจเนฟอ่อนลง "เหตุผลในการปฏิรูปที่รุนแรง"[20] ในหนังสือการเปลี่ยนแปลงของรัสเซีย: ภาพรวมของระบบที่ร่วน (Russia's Transformation: Snapshots of a Crumbling System) ของ Robert Vincent Daniels ระบุว่า เบรจเนฟ"ให้เสถียรภาพของประเทศ" และนโยบายภายในประเทศและภายนอกของเขาพยายามที่จะให้เป็น "สถานะเดิม"[21] Daniels เชื่อว่ายุคเบรจเนสามารถแยกออกเป็นสองส่วนส่วนแรกที่เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1964 และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1975 สอดคล้องกับ "ความเป็นผู้นำสภาพการสร้างเศรษฐกิจที่ใฝ่หาการผ่อนคลายและการบำรุงรักษาสมดุลทางการเมือง" ระยะที่สองซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1975 เป็นเรื่องตรงกันข้าม; เศรษฐกิจหยุดการเจริญเติบโตความเป็นผู้นำร่วมกันสิ้นสุดลงด้วยการลาออกของนีโคไล ปอดกอร์นืย, เบรจเนฟ การพัฒนาสหภาพโซเวียตเริ่มที่จะซบเซา[22] นักประวัติศาสตร์ จิริ วาเลนต้าและแฟรงก์ ซิบุลก้าที่ระบุไว้ในหนังสือกอร์บาชอฟ ความคิดใหม่และความขัดแย้งในโลกที่สาม (Gorbachev's New Thinking and Third World Conflicts) ว่ามรดกของเบรจเนฟเป็น "ส่วนผสมของความสำเร็จและความล้มเหลวทั้งในประเทศและนโยบายต่างประเทศ" อย่างไรก็ตามพวกเขาโต้แย้งว่าเมื่อถึงเวลาที่เบรจเนฟถึงแก่อสัญกรรม ความล้มเหลวของเขากลายเป็นปัญหาระบบที่เรื้อรังอย่างรุนแรง ความสำเร็จลิทธิเบรจเนฟตาม วาเลนต้า และ ซิบุลก้า เขียนไว้เป็นนโยบายต่างประเทศและการป้องกันประเทศของเขาอย่างไรก็ตามเศรษฐกิจที่ลดลงความสำเร็จเหล่านี้ไม่ยั่งยืนในระยะยาว พวกเขายังตั้งข้อสังเกตอีกว่าสหภาพโซเวียตสามารถรวมตัวเป็นมหาอำนาจซึ่งจะเพิ่มอิทธิพลในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศคอมมิวนิสต์ในประเทศโลกที่สาม [23]

ในบันทึกของเอียน แทตเชอร์ระบุว่า "สมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบุคคลประสบความสำเร็จมากที่สุดในการเมืองโซเวียต" เขาระบุว่าเบรจเนฟเป็นนักการเมืองที่ดีภายในกรอบของระบบการเมืองโซเวียต [24] Dmitry Peskov กล่าวว่า "เบรจเนฟ ไม่ได้เป็นด้านลบของประวัติศาสตร์ของประเทศของเรา เขาเป็นด้านบวกมาก เขาวางรากฐานสำหรับเศรษฐกิจของประเทศและการเกษตร." [25] อาร์ชี บราวน์ เขียนไว้ในหนังสือของเขาการเกิดและดับไปของคอมมิวนิสต์ (The Rise & Fall of Communism) ไว้ว่า"จากมุมมองของผู้ปกครองคอมมิวนิสต์ยุคเบรจเนฟประสบความสำเร็จในหลาย ๆ ด้าน" "ความเท่าเทียมกับสหรัฐอเมริกา" อย่างเข้มแข็งโดยต้นยุค 70 และกลายเป็นมหาอำนาจในความรู้สึกทางทหารของโลก[26] "ยุคเบรจเนฟ เป็นช่วงเวลาที่หลายสิบล้านคนของโซเวียตอาศัยอยู่ในชีวิตที่เงียบสงบและสามารถคาดการณ์ได้กว่าบัดนี้" และ "คนส่วนใหญ่ไม่ได้หวาดกลัวคุมตัวของ KGB" [27]

การสำรวจความคิดเห็น

ความคิดเห็นของชาวรัสเชียต่อเบรจเนฟในส่วนใหญ่เป็นไปทางที่ดี อย่างไรก็ตามทางฝั่งตะวันตกมองว่าเขาเป็นผู้เริ่มต้นความซบเซาทางเศรษฐกิจจนนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต[28] การสำรวจโดยกองทุนความคิดเห็นทางสาธารณะ (VTsIOM) ในเดือนกันยายน ค.ศ 1999 ได้เลือกช่วงเวลาของเบรจเนฟเป็นช่วงเวลา"ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีที่สุด"ในศตวรรษที่ 20 โดยมีเสียง 51 ถึง 10 คะแนนอย่างชัดเจน ในการสำรวจความคิดเห็นที่คล้ายกันในปี ค.ศ 1994 เบรจเนฟ รวบรวมคะแนนได้เพียง 36 ถึง 16[29] การสำรวจความคิดเห็นในปี ค.ศ 2000 โดย VTsIOM ได้ถามคำถามต่างๆกับชาวรัสเซียว่า "ยุคสมัยใดบางที่ให้ผลดีและผลเสียต่อประเทศนี้" 36 เปอร์เซ็นต์วิจารณ์ยุคเบรจเนฟในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบขณะที่นิกิตา ครุสชอฟตามหลังได้ไป 33 เปอร์เซ็นต์[30]การสำรวจความคิดเห็นความนิยมในแต่ละยุคของรัสเชียในปี ค.ศ. 2006 ชี้ได้ว่า 61 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนรัสเชียมองว่ายุคเบรจเนฟเป็นหนึ่งในยุคที่ดีของรัสเชีย[31]การสำรวจความคิดเห็นการเลือกที่จะใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 20 โดย VTsIOM ในค.ศ. 2007 แสดงให้เห็นว่าชาวรัสเซียส่วนใหญ่เลือกช่วงยุคเบรจเนฟ[32]นักวิเคราะห์ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความนิยมของเบรจเนฟในก่อนและหลังช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินของรัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 1998 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาทั้งสองทั้งก่อนและหลังช่วงวิกฤตการณ์ได้ชี้ว่าเบรจเนฟเป็นที่จดจำได้ดีที่สุดว่าในการทำให้เกิดเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจโดยชาวรัสเซียไม่มองว่าเป็นยุคซบเซาของสหภาพโซเวียตเหมือนในความคิดเห็นทางฝั่งตะวันตก[28]

อ้างอิง

  1. "The Soviets: Changing the Guard". Time. 22 November 1982. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.
  2. White 2000, p. 211.
  3. Service 2009, p. 428.
  4. Service 2009, p. 429.
  5. Service 2009, p. 430.
  6. Service 2009, p. 432.
  7. Kort 2010, p. 357.
  8. Geldern, James von. "Our Little Father". Soviethistory.org. สืบค้นเมื่อ 4 February 2011.
  9. Staar 1991, p. 42.
  10. 10.0 10.1 White 1993, p. 79.
  11. Chaney 1996, p. 263.
  12. White 1993, p. 80.
  13. Churbanov 2001, p. 149.
  14. Bacon & Sandle 2002, p. 1.
  15. Bacon & Sandle 2002, p. 2.
  16. Bacon & Sandle 2002, p. 27.
  17. Service 2009, p. 427.
  18. Nizameddin 1999, p. 44.
  19. Dyker 1987, p. 166.
  20. Bialer 1986, pp. 55–56.
  21. Daniels 1998, p. 46.
  22. Daniels 1998, pp. 49–50.
  23. Valenta & Cibulka 1990, pp. 4–5.
  24. Bacon & Sandle 2002, p. 207.
  25. Staff writer (5 October 2001). "Putin's spokesman praises Soviet leader Brezhnev". The Guardian. Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  26. Brown 2009, p. 415.
  27. Brown 2009, p. 416.
  28. 28.0 28.1 Bacon & Sandle 2002, p. 6.
  29. Bacon & Sandle 2002, p. 5.
  30. Bacon & Sandle 2002, p. 4.
  31. "Russians Satisfied with Brezhnev's Tenure". Angus-Reid.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
  32. "ВЦИОМ: Лучшие лидеры — Брежнев и Путин" (ภาษารัสเซีย). Rosbalt.ru. 25 April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-12. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.

บรรณานุกรม

Kembali kehalaman sebelumnya