มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (อังกฤษ: Acute myeloid leukemia, acute myelogenous leukemia, AML) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดในสายไมอิลอยด์ มีลักษณะเฉพาะของโรคคือมีการเจริญอย่างรวดเร็วผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ สะสมในไขกระดูกจนรบกวนการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดปกติ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ แม้มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะเป็นโรคที่ค่อนข้างพบน้อยโดยนับเป็น 1.2% ของการตายจากมะเร็งในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม อุบัติการณ์ของโรคนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เกิดจากการที่เซลล์ในไขกระดูกถูกแทนที่โดยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งทำให้ร่างกายมีจำนวน เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวปกติน้อยลง อาการเหล่านี้เช่น อาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย เลือดออกง่าย มีจ้ำตามตัวง่าย ติดเชื้อง่าย ถึงแม้จะมีการค้นพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์แล้วหลายอย่างก็ตามแต่สาเหตุที่แท้จริงของโรคนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และเช่นเดียวกันกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดอื่นๆ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายในเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีวิธีการรักษาและพยากรณ์โรคแตกต่างกัน อัตรารอดชีวิตที่ห้าปีมีตั้งแต่ 15-70% และอัตราการกลับเป็นซ้ำมีตั้งแต่ 78-33% แล้วแต่ชนิด การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ในระยะแรกนั้นใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยมุ่งเหนี่ยวนำให้โรคสงบ โดยผู้ป่วยอาจต้องได้รับเคมีบำบัดเพิ่มเติมหรือต้องได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโลหิตในไขกระดูก งานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านพันธุศาสตร์เกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ทำให้มีการทดสอบที่สามารถทำนายได้ว่ายาชนิดใดจะได้ผลดีกับผู้ป่วยรายใดโดยเฉพาะ และยังทำให้ทราบได้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากเท่าใดอีกด้วย การจำแนกประเภทระบการจำแนกประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ที่นิยมใช้มีอยู่สองระบบ คือระบบเก่าของฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษ (French-American-British, FAB) และระบบใหม่ขององค์การอนามัยโลก ระบบการจำแนกประเภทขององค์การอนามัยโลกระบบการจำแนกประเภทมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ขององค์การอนามัยโลกถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นระบบการจำแนกประเภทที่มีประโยชน์ทางคลินิกและให้ข้อมูลด้านพยากรณ์โรคที่เป็นประโยชน์มากกว่าระบบการจำแนกประเภทของฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษ แต่ละประเภทตามที่จำแนกไว้ ระบบการจำแนกประเภทแบบฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษระบบการจำแนกประเภทแบบฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษได้แบ่งโรคออกเป็นชนิดย่อย 8 ชนิด ตั้งแต่ M0 ถึง M7 ตามชนิดและระยะการเจริญของเซลล์ที่เจริญขึ้นเป็นมะเร็งเม็ดเลือด ทำได้โดยตรวจเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์และ/หรือตรวจด้วยวิธีการทางเซลล์พันธุศาสตร์เพื่อหาความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ ชนิดย่อยแต่ละชนิดมีพยากรณ์โรคและการตอบสนองต่อการรักษาแตกต่างกันไป แม้ระบบการจำแนกประเภทขององค์การอนามัยโลกจะให้ประโยชน์ทางคลินิกมากกว่าแต่ระบบการจำแนกประเภทแบบฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษก็ยังเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป
ฟีโนทัยป์ที่พบน้อยของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์
อาการและอาการแสดงอาการและอาการแสดงส่วนใหญ่ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เกิดจากการที่เม็ดเลือดปกติถูกแทนที่ด้วยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด การที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติน้อยลงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยที่แม้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวจะเจริญมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดขาวแต่เซลล์เหล่านี้ก็ไม่มีความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคเหมือนเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติ[6] อาการซีดที่เกิดจากการที่มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยลงสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ซีด และหายใจลำบากได้ การขาดเกล็ดเลือดสามารถทำให้ผู้ป่วยมีรอยจ้ำตามตัวหรือเลือดออกได้ง่ายเมื่อบาดเจ็บเล็กน้อย ส่วนใหญ่อาการแสดงในช่วงแรกของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เป็นอาการทั่วๆ ไปที่ไม่มีความจำเพาะต่อโรคใดโรคหนึ่งเป็นพิเศษ อาการอาจแทบไม่ต่างกับอาการของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคอื่นทั่วๆ ไป อาการทั่วๆ ไปเหล่านี้ เช่น ไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หายใจลำบาก ซีด มีจ้ำตามตัว เลือดออกง่าย มีจุดเลือดออก ปวดข้อ ปวดกระดูก และติดเชื้อบ่อยครั้งหรือไม่หาย[6] ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์อาจมีม้ามโตได้ แต่ส่วนใหญ่มักโตไม่มากและไม่มีอาการ ผู้ป่วยมักไม่มีต่อมน้ำเหลืองโตซึ่งต่างกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก ผู้ป่วย 10% อาจมีอาการแสดงทางผิวหนังเรียกว่าลิวคีเมีย คิวติส (leukemia cutis) และอาจพบกลุ่มอาการสวีท (Sweet's syndrome) ซึ่งเป็นอาการอักเสบของผิวหนังแบบพารานีโอพลาสติกที่พบไม่บ่อย ซึ่งอาจพบร่วมกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ได้[6] ผู้ป่วยบางรายอาจมีเหงือกบวมจากการที่เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดเข้าไปแทรกตัวอยู่ในเนื้อเยื่อเหงือก ผู้ป่วยจำนวนน้อยบางรายอาจมีอาการแสดงแรกของโรคเป็นการพบก้อนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดนอกไขกระดูกเรียกว่าคลอโรมา (chloroma) บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ และพบโรคโดยบังเอิญจากการตรวจเลือดก็ได้[7] สาเหตุโรคก่อนเป็นมะเร็งเม็ดเลือด
การสัมผัสสารเคมี
รังสี
พันธุกรรม
การวินิจฉัยส่วนใหญ่แล้วร่องรอยแรกๆ ที่จะทำให้สงสัยว่าผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ก็คือการมีผลการตรวจการนับเม็ดเลือด (complete blood count) ผิดปกติโดยมักพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ (leukocytosis) บางครั้งจะเห็นเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดขาว (leukemic blasts) หรืออาจพบแต่เพียงการมีเกล็ดเลือดหรือเม็ดเลือดแดงลดลง หรืออาจพบเม็ดเลือดขาวลดลง (leukopenia) ก็เป็นได้[8] ถึงแม้ว่าการวินิจฉัยเบื้องต้นจะสามารถทำได้ด้วยการตรวจเสมียร์เลือด (peripheral blood smear) แต่การวินิจฉัยให้แน่ชัดนั้นจะเป็นต้องทำด้วยการเจาะดูดและตัดชิ้นเนื้อไขกระดูก ไขกระดูกหรือเลือดจะถูกตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงหรือด้วยวิธี flow cytometry เพื่อหาว่ามีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดหรือไม่ ถ้ามี เป็นเซลล์ชนิดใด เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดอื่น (เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก) และจัดอยู่ในประเภทย่อยประเภทใด ตัวอย่างเลือดหรือไขกระดูกที่ได้มักได้รับการตรวจเพิ่มเพื่อหาการย้ายที่ของโครโมโซม (chromosomal translocation) ด้วยวิธีมาตรฐานทางเซลล์พันธุศาสตร์หรือวิธี FISH (fluorescent in situ hybridization) การตรวจทางพันธุศาสตร์อาจเป็นการตรวจเพื่อหาการกลายพันธุ์เฉพาะที่ในบางตำแหน่งของยีน เช่น FLT3, nucleophosmin และ KIT ซึ่งอาจมีผลกับผลการรักษาได้[9] พยาธิสรีรวิทยา
การรักษา
พยากรณ์โรคเซลล์พันธุศาสตร์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|