มารีอา ลุยซา กาบรีเอลลาแห่งซาวอย
มารีอา ลุยซา กาบรีเอลลาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน (อังกฤษ: Maria Luisa of Savoy) (17 กันยายน ค.ศ. 1688 - 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1714) มารีอา ลุยซา กาบรีเอลลาแห่งซาวอยเป็นพระอัครมเหสีองค์ในพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน หรือฟีลิปแห่งฝรั่งเศส[1] ในปี ค.ศ. 1702 พระนางทรงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อพระราชสวามีออกสงคราม พระชนม์ชีพช่วงต้นปฐมวัยมารีอา ลุยซา กาบรีเอลลาแห่งซาวอยเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1688 ที่พระราชวังตูริน, ตูริน ซาวอย เป็นพระธิดาในวิตโตรีโอ อาเมเดโอที่ 2 ดยุกแห่งซาวอยและอาน มารีแห่งออร์เลอ็อง ดัชเชสแห่งซาวอย ผู้เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในฟีลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็องและเจ้าหญิงเฮนเรียตตาแห่งอังกฤษ เมื่อทรงพระเยาว์ มารีอา ลุยซา กาบรีเอลลาแห่งซาวอย ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้ “ฉลาดหลักแหลม และสนุกสนาน” ทรงได้รับการศึกษาอย่างดี รวมทั้งพระองค์ยังทรงสนิทสนมกับพระเชษฐภคินี มารีอา อาเดลาอีเด ผู้ที่ต่อมาเสกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญ พระราชนัดดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงหมั้นเจ้าชายฟีลิป ดยุกแห่งอ็องฌู ได้ขึ้นสืบราชสมบัติสเปนจากการที่ พระเจ้าการ์โลสที่ 2 แห่งสเปน ไม่ทรงมีรัชทายาท เพื่อรักษาอำนาจที่สั่นคลอนเหนือบัลลังก์สเปนของพระองค์จากพระชาติกำเนิดที่เป็นฝรั่งเศส พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 จึงตัดสินพระทัยที่จะรักษาสัมพันธไมตรีกับดยุกแห่งซาวอย ด้วยการที่จะทรงเสกสมรสกับพระธิดาของดยุก คือ มารีอา ลุยซา กาบรีเอลลา พระญาติชั้นที่ 2 ผ่านทางพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ช่วงกลางปี 1701 พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสู่ขอพระนาง โดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบรมราชอัยกา พระเจ้าหลุยส์ที่ 14[2] ทั้งสองพระองค์ทรงเสกสมรสโดยฉันทะเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1701 5 วันก่อนวันคล้ายวันประสูติปีที่ 13 ของพระนางมารีอา ลุยซา กาบรีเอลลา พระนางเสด็จถึงยังเมืองนิสเมื่อวันที่ 18 กันยายน และทรงรับการต้อนรับจาก สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 11 ซึ่งประทานดอกกุหลาบทองแก่พระนางเมื่อวันที่ 20 กันยายน เป็นของทูลพระขวัญ ภายใน 1 สัปดาห์ ได้เสด็จขึ้นเรือพระที่นั่งประทับจากนีสมายังบาร์เซโลนา[3] สมเด็จพระราชินีแห่งสเปนพระราชพิธีเสกสมรสอย่างเป็นทางการจัดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1701[4] พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 ทรงหลงรักพระมเหสีอย่างมากตั้งแต่แรกเริ่ม เช่นเดียวกับพระมเหสีองค์ถัดไป พระองค์ทรงพึ่งพาพระนางในเรื่องเพศ เนื่องจากหลักศาสนาของพระองค์ห้ามมิให้ทรงมีเพศสัมพันธ์ใดๆ นอกเหนือจากสตรีที่สมรสด้วย พระเจ้าเฟลิเปบรรทมบนพระแท่นเดียวกับพระมเหสีและทรงยืนกรานในสิทธิจากการสมรสของพระองค์ ซึ่งแตกต่างจากพระมหากษัตริย์สเปนองค์ก่อนๆ เพียงไม่นานหลังจากพระราชพิธีสเกสมรส เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ดยุกแห่งกรามงต์ ได้กราบทูลต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ว่าพระเจ้าเฟลิเปจะทรงถูกครอบงำโดยพระนางอย่างสมบูรณ์ ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเตือนพระราชนัดดาว่าอย่ายอมให้ราชินีครอบงำพระองค์ได้[5] โดยทั่วไปแล้ว การที่พระนางทรงมีอิทธิพลเหนือองค์กษัตริย์นั้นเป็นประโยชน์ พระนางมารีอา ลุยซา กาบรีเอลลาได้รับการอธิบายว่าทรงมีพระอุปนิสัยเป็นผู้ใหญ่เกินวัยมาก ทรงมีความรู้ทางการเมือง ตรัสฉะฉานชัดเจน และทรงงานหนัก พระองค์ได้รับคำชมเชยจากทั่วสเปนสำหรับการ่ำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการ และพระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นขุมพลังของพระราชสวามี[6] สงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในปี ค.ศ. 1702 พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 ทรงถูกบีบบังคับให้กรีธาทัพจากสเปนไปรบในนาโปลีในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ในช่วงเวลาที่พระราชสวามีทรงออกทำศึก สมเด็จพระราชินีมารีอา ลุยซา กาบรีเอลลา พระชนมายุ 14 พรรษา ทรงทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จากกรุงมาดริดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทรงยืนกรานให้มีการสอบสวนข้อร้องเรียนทั้งหมด และมีพระราชเสาวนีย์ให้ทูลเกล้าถวายรายงานโดยตรงถึงพระนาง[7] ทั้งยังทรงงานหลายชั่วโมงร่วมกับเหล่าคณะรัฐมนตรี พระนางพระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะทูตานุทูตและคณะบุคคลเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท และทรงพยายามป้องกันไม่ให้ซาวอยเข้าร่วมกับศัตรู[8]แม้จะไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ทรงพบได้ส่งเสริมให้เกิดการปรับโครงสร้างมรดกของคณะรัฐประหารสำเร็จ และยังได้รับเงินบริจาคจำนวนมากจากขุนนางและเมืองต่างๆ มากมายเพื่อใช้ในการทำสงคราม[7] ในที่สุดปี 1715 พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 ก็ทรงได้รับการยอมรับเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสเปน และยังคงรักษาอาณานิคมส่วนใหญ่เอาไว้ แต่ต้องทรงยอมยกดินแดนในอิตาลีและสละสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระองค์และทายาท อุบายในพระราชสำนักข้าราชสำนักชาวฝรั่งเศสนามว่า มารี อาน เด ลา เทรมวล เจ้าหญิงแห่งอูร์ซัง เป็นสมาชิกในราชสำนักของพระราชินีสเปน นางต้องการรักษาอิทธิพลอันยิ่งใหญ่เหนือพระนางมารีอา ลุยซา กาบรีเอลลา ในฐานะคุณท้าวห้องบรรทม ซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้านางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินี เทรมวลรักษาอำนาจเหนือสเปนอย่างแข็งแกร่งโดยใช้สิทธิในการใกล้ชิดกับสมเด็จพระราชินีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จากตำแหน่งของเธอได้รับ นางจะเข้าเฝ้าอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระนางมารีอา ลุยซา กาบรีเอลลาเกือบตลอดเวลา คอยติดตามพระนางไปทุกที่ทันทีที่เสด็จพระราชดำเนินออกจากห้องส่วนพระองค์ ติดตามพระนางไปที่การประชุมสภาซึ่งเธอนั่งเย็บผ้าและฟังอยู่ข้าง ๆ ติดตามพระนางกลับไปที่ห้องส่วนพระองค์ แต่งและถอดฉลองพระองค์ถวาย และควบคุมใครก็ตามที่ต้องการเข้าเฝ้าพระนาง ในขณะที่พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 บรรทมร่มกับพระนางมารีอา ลุยซา กาบรีเอลลา เจ้าหญิงแห่งอูร์ซังจึงเข้ามามีอิทธิพลเหนือกษัตริย์อย่างมาก[9] ในปี ค.ศ. 1704 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระบรมราชโองการให้เนรเทศเทรมวลออกจากพระราชสำนัก ทำให้ทั้งสองพระองค์เสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1705 เทรมวล เจ้าหญิงแห่งอูร์ชังได้กลับมายังมาดริด ซึ่งทำให้พระราชินีทรงมีความสุขอย่างยิ่ง สวรรคตในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ มารีอา ลุยซา กาบรีเอลลาเริ่มประชวรด้วยพระโรควัณโรค ในที่สุดพระองค์ก็เสด็จสวรรคตที่พระราชวังอัลคาซาร์แห่งมาดริด เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1714 ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระบรมศพถูกฝังที่ซาน โลเรนโซ เด เอล เอสโกเรียล เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1714 เพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่พระนางสวรรคต พระราชสวามีม่ายของพระนางก็ได้เสกสมรสโดยฉันทะใหม่กับเอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ ทายาทของดยุกแห่งปาร์มา[10] อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|