Share to:

 

ฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก

เดนมาร์ก
Shirt badge/Association crest
ฉายาDe Rød-Hvide
(แดงและขาว)
Danish Dynamite
โคนม (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลเดนมาร์ก (DBU)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนไบรอัน รีเมอร์
กัปตันพีแยร์-เอมิล ฮอยปีแยร์
ติดทีมชาติสูงสุดเครสแจน อีเรกเซิน (140)
ทำประตูสูงสุดPoul "Tist" Nielsen
Jon Dahl Tomasson
(52)
สนามเหย้าสนามกีฬาพาร์เกิน
รหัสฟีฟ่าDEN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 21 Steady (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด3 (พฤษภาคม ค.ศ. 1997, สิงหาคม ค.ศ. 1997)
อันดับต่ำสุด51 (เมษายน ค.ศ. 2017)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 9–0 ฝรั่งเศส เบ
(ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 19 ตุลาคม ค.ศ. 1908)
ชนะสูงสุด
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 17–1 ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส
(ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 22 ตุลาคม ค.ศ. 1908)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 8–0 เดนมาร์ก ธงชาติเดนมาร์ก
(เบร็สเลา ประเทศเยอรมนี; 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1937)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1986)
ผลงานดีที่สุดรอบก่อนรองชนะเลิศ (1998)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม9 (ครั้งแรกใน 1964)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1992)
คอนเมบอล–ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียน
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1993)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (1993)
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1995)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1995)

ฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Danmarks fodboldlandshold) เป็นตัวแทนของประเทศเดนมาร์กและกรีนแลนด์ ในการแข่งขันฟุตบอลชายระดับนานาชาติ ถูกควบคุมโดยสหภาพฟุตบอลเดนมาร์ก (DBU) ปัจจุบันใช้สนามกีฬาพาร์เคิน ในโคเปนเฮเกนเป็นสนามเหย้า โดยมีไบรอัน รีเมอร์เป็นผู้จัดการทีม

เดนมาร์กชนะเลิศกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกซ้อน 1906 ซึ่งความสำเร็จในครั้งนั้นไม่ถูกรับรองอย่างเป็นทางการ และได้รับเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 และ 1912 อย่างไรก็ตาม ในฐานะมือสมัครเล่นที่ห้ามไม่ให้นักเตะทีมชาติของตนไปแล่นเป็นนักเตะอาชีพในสโมสรต่างประเทศ เดนมาร์กไม่ผ่านเข้ารอบสำหรับฟุตบอลโลกจนถึง ค.ศ. 1986 ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับเหรียญเงินเงินโอลิมปิกอีกใน ค.ศ. 1960

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เดนมาร์กได้สร้างผลงานที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง พวกเขาชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 ที่ประเทศสวีเดน โดยเอาชนะทีมแชมป์เก่าอย่างเนเธอร์แลนด์ ในรอบรองชนะเลิศ และแชมป์โลกอย่างเยอรมนีในรอบชิงชนะเลิศ ทีมยังชนะเลิศ คิงส์ฟาฮัดคัพ 1995 โดยเอาชนะอาร์เจนตินาในรอบชิงชนะเลิศ ผลงานฟุตบอลโลกที่ดีที่สุดของพวกเขาคือความสำเร็จในปี 1998 ซึ่งพวกเขาแพ้บราซิลอย่างหวุดหวิด 3–2 ในรอบก่อนรองชนะเลิศ เดนมาร์กยังสามารถเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลกได้ในปี 1986, 2002 และ 2018 ผลงานที่โดดเด่นล่าสุดของพวกเขาคือการเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 โดยแพ้อังกฤษในช่วงต่อเวลา

ประวัติ

นอกเหนือจากทีมชุดใหญ่ของทีมชายแล้ว เดนมาร์กยังมีทีมฟุตบอลหญิง และมีทีมที่เป็นตัวแทนทีมชาติในหลายรุ่นอายุ ที่โดดเด่นที่สุดคือทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี ในหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทีมชายชุดใหญ่ (ทีม A) ทำหน้าที่แข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเป็นหลักซึ่งพวกเขาลงแข่งเรื่อยมาจนถึงปี 1988 หลังจากนั้นการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกจะนับเป็นเกมระดับชาติในรุ่นอายุต่ำกว่า 21 ปี นอกจากทีมระดับ A และทีมเยาวชนแล้ว เดนมาร์กยังมีทีมจากลีกพิเศษในชื่อ Ligalandsholdet เริ่มต้นใน ค.ศ. 1983 โดยรวบรวมนักฟุตบอลชาวเดนมาร์กที่เก่งที่สุดจากลีกในประเทศนอร์ดิก และทีมชุดนี้จะลงแข่งในเกมที่ไม่เป็นทางการในช่วงปิดฤดูกาลของฟุตบอลลีกนอร์ดิกเป็นประจำทุกปี

ในบางครั้ง สื่อมวลชนจะเรียกทีม Ligalandsholdet ว่าเป็นทีมชาติเดนมาร์กชุด B เนื่องจากนักฟุตบอลอาชีพในทีม A หลายรายล้วนมากจากการเล่นในลีกต่าง ๆ ในประเทศนอร์ดิก ด้วยเหตุนี้ ผู้ฝึกสอนทีมชาติเดนมาร์กจึงระบุวัตถุประสงค์ในการลงแข่งขันของทีม Ligalandsholdet ว่าเป็นเหมือนการลองทีมเพื่อค้นหานักฟุตบอลที่มีศักยภาพ หรือผลงานโดดเด่นเพื่อเลื่อนขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่

ยุคแรกและการเป็นทีมสมัครเล่น (1896–1979)

ผู้เล่นเดนมาร์กชุดที่คว้าเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908
ผู้เล่นเดนมาร์กชุดที่คว้าเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1912

เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1896 ผู้เล่นทีมชาติเดนมาร์กลงแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกเอาชนะทีม Podilatikos Syllogos Athinon ซึ่งเป็นตัวแทนของทีมชาติกรีซสนามกีฬานีโอฟาลิรอนเวลอดรอม ในกรุงเอเธนส์ ผลการแข่งขันไม่เป็นที่แน่ชัดระหว่าง 9–0 หรือ 15–0 ในเกมสาธิตระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1896[2] ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1897 ทีมชาติเดนมาร์กซึ่งถูกคัดเลือกผู้เล่นโดยสหภาพฟุตบอลเดนมาร์ก ลงแข่งขันที่ฮัมบวร์ค เอาชนะทีมจากสมาคมฟุตบอลฮัมบวร์คอัลโทนา 5–0 โดยมีผู้ชมในสนาม 5,000 คน[3][4][5]

การแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิก 3 ครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1900 ถึง 1906 ยังไม่ได้รับรองสถานะทางการ เนื่องจากยังไม่เปิดโอกาสให้ทีมฟุตบอลตัวแทนระดับชาติของประเทศต่าง ๆ ลงแข่งขัน โดยมีการจำกัดจำนวนทีมเพียงสามถึงสี่สโมสรจากบางประเทศที่ได้รับเชิญเท่านั้น ซึ่งเดนมาร์กไม่มีตัวแทนสโมสรที่ได้รับคัดเลือกเลยในโอลิมปืก 1900 และ 1904 ก่อนจะได้รับเชิญครั้งแรกในกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกซ้อน 1906 ในครั้งนั้นมีตัวแทนจากสามประเทศ อีกสองประเทศคือกรีซและตุรกี เดนมาร์กลงแข่งขันกับทีมตัวแทนจากเอเธนส์ และอีกสองสโมสรซึ่งเป็นตัวแทนจักรวรรดิออตโตมัน (อิซมีร์ และ เทสซาโลนีกี) ทีมที่เป็นตัวแทนของเดนมาร์กประกอบด้วยผู้เล่นจากสมาคมฟุตบอลโคเปนเฮเกน (KBU) และพวกเขาชนะการแข่งขันและได้รับเหรียญทองอย่างไม่เป็นทางการ

สองปีต่อมา ในการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 กรุงลอนดอน เดนมาร์กได้เหรียญเงิน ผลงานสำคัญคือการชนะฝรั่งเศส 9–0 ในรอบก่อนรองชนะเลิศ และคว้าเหรียญเงินได้อีกครั้งในการแข่งขันครั้งถัดมา ตามมาด้วยยุคทองของทีมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1912 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1920 ในช่วงนั้นเดนมาร์กเป็นหนึ่งในทีมที่แข็งแกร่งที่สุดของยุโรป โดยครองอันดับหนึ่งของโลกตามการจัดอันดับโลกอีโล

แม้ว่าเดนมาร์กจะมีผลงานโดดในยุคก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก แต่พวกเขาต้องรอคอยความสำเร็จไปอีกหลายปีตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1930 แม้เดนมาร์กจะเต็มไปด้วยผู้เล่นที่มีศักยภาพสูงหลายราย ทว่าสหพันธ์ฟุตบอลเดนมาร์กในขณะนั้นกลับไม่ให้การสนับสนุนในการแข่งขันระดับนานาชาติเท่าที่ควร หากแต่มุ่งเน้นไปที่การแข่งกระชับมิตรและรายการระดับภูมิภาคอย่างการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์นอร์ดิกระหว่างปี 1920 ถึง 1948 มากกว่า ต่อมา เมื่อสหพันธ์หันกลับมาตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้น จึงอนุญาตให้เดนมาร์กร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอีกครั้ง มีผลงานคือเหรียญทองแดงในโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 เอาชนะอียิปต์ในรอบแรก ตามด้วยการชนะอิตาลีในรอบก่อนรองชนะเลิศ แต่แพ้แชมป์ในครั้งนั้นอย่างสวีเดนในรอบรองชนะเลิศ และเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศในปี 1952 และสหพันธ์ฟุตบอลไม่ส่งทีมลงแข่งขันในปี 1956 เนื่องจากกีฬายังถูกเล่นเป็นงานอดิเรกของนักกีฬาสมัครเล่นเป็นส่วนใหญ่ และฟุตบอลของเดนมาร์กยังไม่มีสถานะอาชีพ ด้วยเหตุนี้ นักฟุตบอลในประเทศจำนวนมากจึงย้ายไปเล่นที่ต่างประเทศ และสหพันธ์ฟุตบอลเดนมาร์กยังไม่อนุญาตให้นักฟุตบอลอาชีพลงแข่งขันในนามทีมชาติ การรวบรวมนักฟุตบอลอาชีพเพื่อลงแข่งในระดับสูงจึงยังเป็นเรื่องยาก

เดนมาร์กคว้าเหรียญเงินครั้งที่ 3 ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 ตามด้วยอันดับ 4 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1964 อย่างไรก็ตามความสำเร็จครั้งนี้ไม่ได้รับการยกย่องนัก เนื่องจากรายการนี้มีทีมที่ร่วมแข่งขันรอบสุดท้ายเพียง 4 ทีม และการจับฉลากในรอบก่อนหน้านั้นก็ดูเหมือนจะเข้าข้่างพวกเขา โดยเอาชนะทีมเล็กอย่างมอลตา, แอลเบเนีย และลักเซมเบิร์ก และแพ้สองนัดต่อสหภาพโซเวียตและฮังการี

ต่อมา สหพันธ์ฟุตบอลได้ยกเลิกกฏที่เข้มงวดในการห้ามผู้เล่นอาชีพลงแข่งขัน เนื่องด้วยพวกเขาตระหนักดีว่าการจะสร้างทีมเพื่อแข่งขันในระดับสูงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้เล่น และอนุญาตให้นักฟุตบอลอาชีพลงแข่งฟุตบอลลีกในประเทศได้เป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1978 ในขณะเดียวกันก็เริ่มพัฒนาทีมด้วยการร่วมมือกับผู้สนับสนุนชื่อดังอย่างคาร์ลสเบิร์ก รวมถึงการแต่งตั้งผู้ฝึกสอนฟุตบอลอาชีพคนแรกอย่างเซ็ปป์ ปิอองเท็ก ชาวเยอรมัน และถือเป็นการเปลี่ยนผ่านจากสถานะทีมสมัครเล่นไปเป็นทีมฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มรูปแบบ และสิ่งนี้นำมาซึ่งการพัฒนาผลงานของทีมในอนาคต

เดนิช ไดนาไมต์ (1980–1990)

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 รอบคัดเลือก เดนมาร์กมีผลงานชนะ 4 นัด และแพ้ 4 นัด ผลงานโดดเด่นคือการชนะแชมป์ในฟุตบอลโลกครั้งนั้นอย่างอิตาลี 3–1 แต่เดนมาร์กไม่ได้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย แต่พวกเขาผ่านเข้าสู่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 จากการเอาชนะอังกฤษ 1–0 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ (1923) จากจุดโทษโดยอัลลัน ซิโมนเซิน ถือเป็นการลงแข่งขันระดับทางการครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1964 และพวกเขาได้รับการขนานนามว่า "Danish Dynamite" มีที่มาจากเพลงเชียร๋ประจำทีม เดนมาร์กมีผลงานชนะ 2 นัดและแพ้ 1 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม รวมทั้งเอาชนะยูโกสลาสเวีย 5–0 แต่พวกเขาต้องจบเส้นทางในรอบรองชนะเลิศโดยแพ้ทีมีรองแชมป์ครั้งนั้นอย่างสเปนจาการดวลจุดโทษ ภายหลังเสมอกัน 1–1 รายการนี้ยังมีผู้เล่นอย่างมีเคล เลาโตรปเป็นกำลังหลัก หลังจบการแข่งขันสมญานามของทีม "Danish Dynamite" กลายเป็นเอกลักษณ์ในทศวรรษถัดมาของทีมชาติเดนมาร์ก[6]

เดนมาร์กลงแข่งขันครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1986 มีผลงานยอดเยี่ยมในรอบแบ่งกลุ่มโดยเอาชนะได้ทั้ง 3 นัดที่พบสกอตแลนด์, อุรุกวัย และเยอรมนีตะวันตก โดยเฉพาะการเอาชนะอุรุกวัยไปถึง 6–1 เป็นที่จดจำอย่างมาก ในรายการนี้เดนมาร์กมีการเล่นฟุตบอลเกมรุกอย่างเร้าใจจากการประสานงานในแนวรุกระหว่างเลาโตรป และพรีเบน เอลเกียร์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาแพ้สเปนขาดลอย 5–1 ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายแม้จะได้ประตูปลอบใจจากเจสเปอร์ โอลเซิน แต่พวกเขาก็เสียประตูแรกจากความผิดพลาดโอลเซินที่ส่งบอลคืนหลังพลาดอย่างโชคร้าย หลังจบการแข่งขันความผิดพลาดครั้งนี้ถูกนำไปล้อเลียนด้วยวลีในภาษาเดนมาร์กที่ว่า ("en rigtig Jesper Olsen") และถูกกล่าวถึงไปอีก 13 ปี รวมถึงถูกกล่าวซ้ำโดยรายการโทรทัศน์ของเดนมาร์กในปี 1999 เมื่อผู้เล่นแนวรุกของเดนมาร์กอย่างเยสเปอร์ กอนคเยร์ ก่อความผิดพลาดลักษณะเดียวกันในการลงสนามนัดเปิดตัวด้วยการส่งบอลพลาดทำให้ฟีลิปโป อินซากี ผู้เล่นอิตาลีทำประตู[7]

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 เดนมาร์กจบเพียงอันดับสุดท้ายในกลุ่ม ด้วยการอยู่ในกลุ่มที่หนักร่วมกับทีมใหญ่ พวกเขาแพ้สเปน 3–2, แพ้เยอรมนีตะวันตก 2–0 และแพ้อิตาลี 2–0 เก็บคะแนนในครั้งนี้ไม่ได้เลย และพวกเขาไม่ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 1990 ทำให้ปิอ็องเทกประกาศลาออก

ความสำเร็จในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992

Peter Schmeichel
พีเตอร์ สไมเกิล (ภาพถ่ายในปี 1991) ผู้รักษาประตูคนสำคัญในช่วงทศวรรษ 1990 ผู้มีส่วนพาทีมชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992

เดนมาร์กมีผลงานในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 รอบคัดเลือกด้วยการชนะหมู่เกาะแฟโร ตามด้วยการบุกไปเสมอนอร์เทิร์นไอร์แลนด์ และกลับมาเปิดบ้านแพ้ต่อยูโกสลาเวีย 2–0 ผู้เล่นสำคัญอย่างสองพี่น้อง มีเคล และไบรอัน เลาโตรป ประกาศเลิกเล่นทีมชาติในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1990 และผู้ฝึกสอนในขณะนั้นอย่างริชาร์ด นีลเซิน ได้รับแรงกดดันอย่างหนักเนื่องจากเขาไม่เรียกผู้เล่นศักยภาพสูงอย่างยัน โมลบี และ ยัน ไฮนท์เซอติดทีมเนื่องจากปัญหาทางวินัย อย่างไรก็ตาม เดนมาร์กยังเอาชนะคู่แข่งได้ในอีก 5 นัดที่เหลือ รวมถึงการบุกเอาชนะยูโกสลาเวีย 2–1 แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเข้ารอบต่อไปโดยทันที

อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องจากบทลงโทษที่มีต่อยูโกสลาเวียจากสงครามยูโกสลาเวีย และการคว่ำบาตรจากนานาชาติ ส่งผลให้สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปประกาศตัดสิทธิ์ยูโกสลาเวียจากการแข่งขัน และมอบสิทธิ์ให้แก่เดนมาร์กในฐานะทีมอันดับสองที่มีผลงานดีที่สุดแทน การประกาศดังกล่าวมีขึ้นเพียง 10 วันก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น[8][9][10][11]

แม้จะได้รับการคาดหมายว่าจะลงแข่งขันโดยขาดการเตรียมความพร้อมที่ดี แต่ทีมชาติเดนมาร์กกลับทำในสิ่งที่ตรงข้าม ด้วยการเรียกตัวผู้เล่นตัวหลักหลายรายที่อยู่ระหว่างการพักร้อนมาลงแข่งกระชับมิตร เพื่อเตรียมความพร้อมกับทีมฟุตบอลชาติเครือรัฐเอกราช (ในฐานะทีมตัวแทนของสหภาพโซเวียต) ด้วยผู้เล่นคนสำคัญอย่างพีเตอร์ สไมเกิล นอกจากนี้ มีเคล เลาโตรป ยังเปลี่ยนใจกลับมาติดทีมชาติอีกครั้งในเดือนเมษายน ทีมชาติเดนมาร์กสร้างความสำเร็จที่เหนือความคาดหมายที่สุดครั้งหนึ่ง ในการแข่งขันรอบสุดท้ายครั้งนี้มีสวีเดนเป็นเจ้าภาพ พวกเขาเข้ารอบในฐานะทีมอันดับ 2 ของกลุ่ม เริ่มต้นด้วยการเสมออังกฤษ 0–0 และแม้จะแพ้เจ้าภาพอย่างสวีเดน 1–0 แต่ชัยชนะต่อฝรั่งเศส 2–1 จากประตูของเฮนริก ลาร์เซินก็ช่วยให้ทีมเข้ารอบตามสวีเดน การแข่งขันในรอบรองชนะเลิศกับเนเธอร์แลนด์ดำเนินไปอย่างสูสี เนเธอร์แลนด์ออกนำไปก่อนจากประตูของแด็นนิส แบร์คกัมป์ แต่เดนมาร์กก็ได้คืนสองประตูจากลาเซิน และถูกตีเสมออีกครั้งในท้ายเกมจากฟรังก์ ไรการ์ด จบลงด้วยการเสมอ 2–2 เดนมาร์กเอาชนะการยิงจุดโทษ 5–4 ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศที่กอเทนเบิร์ก ก่อนการแข่งขันจะเริ่มความคาดหวังดูจะเทไปทางฝั่งเยอรมีตะวันตกมากกว่า แต่เดนมาร์กสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเอาชนะ 2–0 คว้าแชมป์สมัยแรก และเป็นแชมป์จากการแข่งขันทางการครั้งแรก

1993–2000

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993 มีเคล เลาโตรป ประกาศยุติความขัดแย้งกับผู้ฝึกสอนอย่างนีลเซนในด้านแผนการเล่น และเขาตัดสินใจกลับมาติดทีมชาติอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ผลงานของเดนมาร์กในช่วงเวลานี้ก็แย่ลง พวกเขาไม่มีส่วนร่วมในฟุตบอลโลก 1994 ความสำเร็จในทศวรรษนี้คือการชนะการแข่งขันคิงส์ฟาฮัดคัพ 1995 (ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพในปัจจุบัน) เดนมาร์กเอาชนะเจ้าภาพซึ่งก็คือซาอุดีอาระเบีย 2–0 และเอาชนะจุดโทษเม็กซิโกหลังจากเสมอกัน 1–1 และเอาชนะอาร์เจนตินาในฐานะแชมป์ฟุตบอลโกปาอเมริกา 2–0 ในรอบชิงชนะเลิศ และพวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 จากการมี 4 คะแนนโดยชนะนัดเดียวที่พบกับตุรกี ผู้ฝึกสอนคนใหม่ที่เข้ามาแทนนีลเซนก็คือโบ โยฮานส์เซิน เข้ามาช่วยให้ทีมเล่นฟุตบอลเกมรุกมากขึ้น โดยในฟุตบอลโลก 1998 เป็นรายการสุดท้ายของสองพี่น้องเลาโตรปในการเล่นทีมชาติ เดนมาร์กเข้ารอบในฐานะทีมอันดับ 2 ของกลุ่ม C เอาชนะซาอุดีอาระเบียในนัดแรก 1–0 และเสมอแอฟริกาใต้ 1–1 และแพ้เจ้าภาพฝรั่งเศส 2–1 พวกเขายังมีผลงานดีด้วยการเอาชนะไนจีเรียในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 4–1 และในรอบก่อนรองชนะเลิศนั้น พวกเขาสู้กับทีมเต็งอย่างบราซิลได้สนุกตลอดทั้งเกม และแพ้ไป 3–2 จากประตูของเลาโตรป และมาร์ติน ยอร์เกนเซิน ต่อมา พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 ด้วยการแพ้รวด 3 นัด

2000–2015 (มอร์เทน โอลเซิน)

มอร์เทน โอลเซิน ผู้ฝึกสอนทีมชาติเดนมาร์กระหว่าง ค.ศ. 2000–2015 ถือเป็นผู้ฝึกสอนที่คุมทีมยาวนานที่สุดของเดนมาร์ก

มอร์เทน โอลเซิน ผู้ฝึกสอนอาเอฟเซ อายักซ์ และอดีตผู้เล่นของเดนมาร์กได้รับการแต่งตั้งในปี 2000 และทีมของเขาได้รับฉายาว่าเป็น "Olsen Gang" ซึ่งวลีนี้มีที่มาจากภาพยนตร์ชุดของเดนมาร์กซึ่งตัวเอกอย่างอีกอน โอลเซินทำการวางแผนด้านอาชญากรรมอย่างชาญฉลาด และถูกใช้เป็นชื่อทางเลือกร่วมกับ "เดนิช ไดนาไมต์" ในยุคที่โอลเซินเป็นกัปตันทีมชาตินั้น ในการคุมทีมครั้งนี้ รูปแบบการเล่นแบบ 4–4–2 ที่ผู้ฝึกสอนอย่างโบ โยฮานส์เซินได้วางระบบไว้ ถูกปรับใช้เพื่อเน้นการโจมตีมากขึ้นด้วยตัวริมเส้นที่โดดเด่นอย่างเยสเปอร์ กอนคเยร์ และเดนนิส รอมเมดาห์ล โดยโอลเซินนิยมวางแผนการเล่นแบบ 4–3–3 หรือ a 4–2–3–1[12][13] โอลเซินยังมีการต่อต้านระบบ 4–4–2 อย่างเปิดเผย ถึงขั้นว่าเขาขู่จะออกจากตำแหน่งในกรณีที่เขาถูกบังคับให้เดนมาร์กใช้แผนการเล่นนั้น[14] และเพื่อรองรับรูปแบบการเล่น 4–3–3 ในทีมชาติ ทีมระดับเยาวชนของเดนมาร์กในรุ่นอายุที่รองลงมาจึงตอบสนองด้วยการปรับระบบการเล่นให้สอดคล้องเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งที่โอลเซินนำมาสู่ทีมชาติคือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้เฉพาะผู้เล่นที่ผ่านการทดสอบความพร้อมทางร่างกายเท่านั้น และต้องเป็นผู้เล่นที่ได้ลงสนามเป็นตัวจริงให้กับสโมสรอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งเขาถูกร้องขอให้ประนีประนอมจากหลักการนี้ เนื่องจากจำนวนผู้เล่นที่มีอยู่ในประเทศเดนมาร์กมีค่อนข้างจำกัด และอาจมีตัวเลือกไม่มากนัก

แม้เดนมาร์กจะผ่านรอบคัดเลือกการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 และมีผลงานที่น่าประทับใจในบางนัด เช่น การชนะทีมแชมป์เก่าอย่างฝรั่งเศส 2–0 ในฟุตบอลโลก แต่พวกเขาก็ไปได้ไม่ไกลกว่ารอบ 16 ทีมสุดท้ายทั้งสองรายการ โดยแพ้อังกฤษ 3–0 และแพ้เช็กเกียด้วยสกอร์เดียวกันตามลำดับ พวกเขาไม่ผ่านรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 จากผลงานชนะ 6 นัด, เสมอ 4 นัด และแพ้ 2 นัดจบในอันดับ 3 ของกลุ่ม 2 ทำให้โอลเซินพิจาณาถึงการลาออกจากตำแหน่ง แต่เขาก็ตัดสินใจขยายสัญญาออกไปจนถึงฟุตบอลโลก 2010

เดนมาร์กไม่ผ่านรอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 แต่ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 2010 และตกรอบแบ่งกลุ่มจากการแพ้เนเธอร์แลนด์ 2–0, ชนะแคเมอรูน 2–1 และแพ้ญี่ปุ่นอย่างเหนือความคาดหมาย 3–1 แต่พวกเขาก็มีช่วงเวลาที่ดีในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 รอบคัดเลือก ด้วยการเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มแม้จะอยู่ร่วมกับทีมใหญ่อย่างโปรตุเกส มีผลงานชนะ 6 นัดจาก 8 นัด ทำให้โอลเซินขยายสัญญาไปถึงฟุตบอลโลก 2014 แต่ในการแข่งขันรอบสุดท้าย ดูเหมือนโชคจะไม่เข้าข้างเดนมาร์กเท่าไรนัก เมื่อต้องอยู่ใน "กลุ่มแห่งความตาย" หรือ group of death ร่วมกับเนเธอร์แลนด์, เยอรมนี และโปรตุเกส แม้จะตกรอบแต่พวกเขาได้รับการยกย่องจากผลงานโดดเด่นในทุกนัด โดยเดนมาร์กเอาชนะเนเธอร์แลนด์ในนัดแรก 1–0 ในนัดต่อมาพวกเขาแพ้โปรตุเกสไปอย่างสูสี 3–2 จากสองประตูของนีแกลส เปนต์เนอร์ และในนัดสุดท้ายที่พบกับเยอรมนีพวกเขาแพ้ 2–1 โดยที่ยันเสมอได้ถึงนาทีที่ 80

เดนมาร์กไม่ประสบความสำเร็จในการผ่านเข้าสู่รายการใหญ่อีกสองรายการต่อมา ภายใต้การคุมทีมของโอลเซิน โดยในฟุตบอลโลก 2014 พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มในรอบคัดเลือก แม้จะได้อันดับ 2 ในกลุ่มทว่าพวกเขาก็คือทีมอันดับ 2 ที่มีผลงานแย่ที่สุด[15][16] และจบอันดับ 3 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก ตามหลังโปรตุเกส และแอลเบเนีย แม้จะได้ไปต่อในรอบเพลย์ออฟ แต่พวกเขาแพ้คู่ปรับอย่างสวีเดน โอลเซินอำลาทีมหลังจบรอบคัดเลือกดังกล่าว โดยเขาถือเป็นผู้ฝึกสอนที่มีเปอร์เซ็นต์การคว้าชัยชนะมากที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เดนมาร์กมีการแต่งตั้งผู้ฝึกสอนอาชีพในปี 1979 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 เขามีเปอร์เซ็นต์ชนะ 52.8% และคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.84 ต่อ 1 นัดเป็นรองเพียงอดีตผู้ฝึกสอนอย่างนีลเซินที่ 54.8% และ 1.89 คะแนน ต่อ 1 นัด

2016–2020

ออเก ฮาไรเด ผู้ฝึกสอนชาวนอร์เวย์พาทีมลงแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป – กลุ่ม อี และพาเดนมาร์กจบในอันดับ 2 เป็นรองโปแลนด์ ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 2 และเอาชนะไอร์แลนด์จากการเสมอกันในนัดแรก 0–0 ที่โคเปนเฮเกน และบุกไปชนะ 5–1 ที่ดับลินด้วยการทำแฮตทริกของเครสแจน อีเรกเซิน และประตูของแอนเตรแอส เครสเตินเซิน และนีแกลส เปนต์เนอร์[17] ในฟุตบอลโลกครั้งนี้เดนมาร์กมีผู้เล่นตัวหลักหลายราย เช่น อีเรกเซิน, เครสเตินเซิน, ทอมัส ดิเลนีย์, ซีโมน แคร์, แคสเปอร์ ตอลแปร์ และแคสเปอร์ สไมเกิล ในการแข่งขันรอบสุดท้ายพวกเขาอยู่กลุ่มซี ในนัดแรกเดนมาร์กเอาชนะเปรู 1–0 ตามด้วยการเสมอออสเตรเลีย 1–1 และเสมอฝรั่งเศส 0–0 แต่ก็เป็นอีกครั้งที่พวกเขาไปได้ไม่ไกลกว่ารอบ 16 ทีมสุดท้าย ในครั้งนี้เดนมาร์กแพ้จุดโทษทีมรองแชมป์อย่างโครเอเชียหลังจากเสมอกัน 1–1 พวกเขาได้ประตูออกนำตั้งแต่นาทีที่ 1 จากมาธิอัส ยอร์เกินเซิน แต่โครเอเชียตามตีเสมอได้ในอีก 3 นาทีต่อมาโดยมาริออ มันจูกิช นี่ถือเป็นผลงานที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2002 ทีพวกเขาผ่านรอบแบ่งกลุ่ม[18]

เดนมาร์กลงแข่งขันรายการยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2018–19 จัดแข่งขันเป็นฤดูกาลแรกสุด[19] ลงเล่นในลีกบี พวกเขาประเดิมด้วยการชนะเวลส์ 2–0 และเสมอไอร์แลนด์ 0–0 และเอาชนะเวลส์ในนัดต่อมา 2–1 ปิดท้ายด้วยการเสมอไอร์แลนด์อีกครั้ง 0–0 คว้าอันดับ 1 ของกลุ่มและเลื่อนชั้นสู่ลีกเอในครั้งต่อไป[20] ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบคัดเลือก กลุ่มดี เดนมาร์กเข้ารอบเป็นอันดับ 2 โดยมีสวิตเซอร์แลนด์เป็นอันดับ 1 พวกเขามีผลงานชนะ 4 นัด และเสมอ 4 นัด ไม่แพ้ทีมใดและเป็นทีมที่ทำประตูได้มากที่สุดในกลุ่ม (23) และเสียเพียง 6 ประตู

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[21]

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ ธงชาติตูนิเซีย ตูนิเซีย

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK แคสเปอร์ สไมเกิล (รองกัปตันทีม) (1986-11-05) 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 (38 ปี) 87 0 ฝรั่งเศส นิส
16 1GK ออลิเวอร์ เครสเตินเซิน (1999-03-22) 22 มีนาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 1 0 เยอรมนี แฮร์ทา เบเอ็สเซ
22 1GK เฟรดเรก เรอนอว์ (1992-08-04) 4 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 8 0 เยอรมนี อูนีโอนแบร์ลีน

2 2DF โยแอคิม อาเนอร์เซิน (1996-05-31) 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 20 0 อังกฤษ คริสตัลพาเลซ
3 2DF วิคเตอร์ เนลส์สัน (1998-10-14) 14 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 7 0 ตุรกี กาลาทาซาไร
4 2DF ซีโมน แคร์ (กัปตันทีม) (1989-03-26) 26 มีนาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 122 5 อิตาลี เอซี มิลาน
5 2DF โยแอคิม เมเลอ (1997-05-20) 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 32 9 อิตาลี อาตาลันตา
6 2DF แอนเตรแอส เครสเตินเซิน (1996-04-10) 10 เมษายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 59 2 สเปน บาร์เซโลนา
13 2DF ราสมุส คริสเตนเซ่น (1997-07-11) 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 11 0 อังกฤษ ลีดส์ยูไนเต็ด
17 2DF เยนส์ สตรือเออร์ ลาร์เซิน (1991-02-21) 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 (33 ปี) 49 3 ตุรกี ทรับซอนสปอร์
18 2DF เตเนียล แวส (1989-05-31) 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 44 1 เดนมาร์ก บรอนด์บี้
26 2DF แอเลกแซนเตอร์ แป (1997-12-09) 9 ธันวาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 4 1 โปรตุเกส ไบฟีกา

7 3MF แมทีแอส เยนเซิน (1996-01-01) 1 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 21 1 อังกฤษ เบรนต์ฟอร์ด
8 3MF ทอมัส ดิเลนีย์ (1991-09-03) 3 กันยายน ค.ศ. 1991 (33 ปี) 72 7 สเปน เซบิยา
10 3MF เครสแจน อีเรกเซิน (1992-02-14) 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (32 ปี) 118 39 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
15 3MF เครสแจน เนอร์กอร์ (1994-04-10) 10 เมษายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) 17 1 อังกฤษ เบรนต์ฟอร์ด
23 3MF พีแยร์-เอมิล ฮอยปีแยร์ (1995-08-05) 5 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 61 5 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์
24 3MF โรปอร์ต สกอว์ (1996-05-20) 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 11 5 เยอรมนี 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์
25 3MF เยสเปอร์ ลินสเตริม (2000-02-29) 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 (24 ปี) 7 1 เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท

9 4FW มาร์ติน แบรทเวต (1991-06-05) 5 มิถุนายน ค.ศ. 1991 (33 ปี) 62 10 สเปน อัสปัญญ็อล
11 4FW แอนเตรแอส สกอว์ โอลเซิน (1999-12-29) 29 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (24 ปี) 24 8 เบลเยียม กลึบบรึคเคอ
12 4FW แคสเปอร์ ตอลแปร์ (1997-10-06) 6 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 38 11 สเปน เซบิยา
14 4FW มีเกิล ตัมส์กอร์ (2000-07-03) 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 19 4 อังกฤษ เบรนต์ฟอร์ด
19 4FW โยนัส วิน (1999-02-07) 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 (25 ปี) 15 5 เยอรมนี ว็อลฟส์บวร์ค
20 4FW ยูซุฟ พออุลเซิน (1994-06-15) 15 มิถุนายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) 68 11 เยอรมนี แอร์เบ ไลพ์ซิช
21 4FW แอนเตรแอส คอร์เนลียุส (1993-03-16) 16 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 42 9 เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน

อ้างอิง

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. "Games of the I. Olympiad - Football Tournament". www.rsssf.org.
  3. DBU. "1889-1920". DBU (ภาษาเดนมาร์ก).
  4. "Dänische Fußball-Nationalmannschaft: Rekorde, Erfolge, Trainer – alle Infos". www.tz.de (ภาษาเยอรมัน). 2024-05-08.
  5. Redaktionen (2008-12-26). "Fodboldens indtog i Danmark - 1889 til 1908". TotalBold.dk (ภาษาเดนมาร์ก).
  6. Smyth, Rob; Eriksen, Lars (2009-10-13). "The forgotten story of ... Danish Dynamite, the Denmark side of the mid-80s". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-08.
  7. "Den aften, da Jesper Olsen blev glemt". Politiken.dk (in Danish). 28 March 1999.
  8. "Yugoslavia barred from European Championships - UPI Archives". UPI (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Sports ban hits Yugoslavia - UPI Archives". UPI (ภาษาอังกฤษ).
  10. "Yugoslavia banned for 1994 World - UPI Archives". UPI (ภาษาอังกฤษ).
  11. Lowe, Sid (2020-05-29). "Slavisa Jokanovic: 'Euro 92 was taken away from us. We were better than Denmark'". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-08.
  12. "Danmark er forvandlet mod Island". Politiken - Den levende avis (ภาษาเดนมาร์ก).
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2024-12-08.
  14. FINK, LARS (2007-11-19). "Olsen: 4-4-2? Ikke med mig". www.bt.dk (ภาษาเดนมาร์ก).
  15. "Eurosport is not available in your region". www.eurosport.com.
  16. "Denmark beat Malta 6-0 but fail to qualify for World Cup". www.daijiworld.com (ภาษาอังกฤษ).
  17. Leahy, Ed (2017-11-14). "Five-star Denmark demolish Irish World Cup dreams" (ภาษาอังกฤษ). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  18. "Group C: Christian Eriksen can carry Denmark into last-16". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ).
  19. Leahy, Ed (2018-09-04). "UEFA Nations League - how it all works" (ภาษาอังกฤษ). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  20. "England ready to play in new Nations League as revolutionary Uefa plan earns unanimous backing". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2014-03-25.
  21. "De første spillere til VM-truppen er fundet" [The first players for the World Cup squad have been found] (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Football Association. 7 November 2022. สืบค้นเมื่อ 7 November 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya