Share to:

 

ยุทธการที่ตังหิน

ยุทธการที่ตังหิน
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก
วันที่มกราคม – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 253
สถานที่
ตังหิน (東興 ตงซิง; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครเฉาหู มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน)
ผล ง่อก๊กชนะในทางยุทธวิธี
คู่สงคราม
วุยก๊ก ง่อก๊ก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สุมาเจียว
จูกัดเอี๋ยน
บู๊ขิวเขียม
อองซอง
จูกัดเก๊ก
เตงฮอง
กำลัง
70,000[1] 40,000[2]
ยุทธการที่ตังหิน
อักษรจีนตัวเต็ม東興之戰
อักษรจีนตัวย่อ东兴之战
ยุทธการที่ตงกวาน
อักษรจีนตัวเต็ม東關之役
อักษรจีนตัวย่อ东关之役

ยุทธการที่ตังหิน (จีน: 東興之戰) หรือ ยุทธการที่ตงกวาน (จีน: 東關之役) เป็นการรบตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 253 ระหว่างรัฐวุยก๊กและง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน ยุทธการสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะทางยุทธวิธีของง่อก๊ก

ภูมิหลัง

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 211 ซุนกวนขุนศึกซึ่งภายหลังเป็นจักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊ก ได้สั่งให้สร้างป้อมปราการป้องกันที่ยี่สู (濡須 หรูซฺวี; ทางเหนือของอำเภออู๋เหวย์ มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) เพื่อเตรียมการป้องกันการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นจากโจโฉที่เป็นขุนศึกอริ[3] ในปี ค.ศ. 230 จักรพรรดิซุนกวนทรงมีรับสั่งให้สร้างเขื่อนที่ตังหิน (東興 ตงซิง; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครเฉาหู มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) เพื่อกักเก็บน้ำจากทะเลสาบเจาอ๋อ (巢湖 เฉาหู) ที่อยู่ใกล้เคียง[4] ซุนกวนสวรรคตในปี ค.ศ. 252 ซุนเหลียงพระโอรสขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊ก ในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 252 จูกัดเก๊กผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งง่อก๊กเริ่มงานก่อสร้างที่เขื่อนตังหิน โดยเพิ่มความยาวของเขื่อนจนเชื่อมกับเนินเขาที่อยู่ด้านหนึ่งของเขื่อน และให้สร้างป้อมปราการ 2 แห่งขึ้นตรงกลาง จูกัดเก๊กวางกำลังทหารประการ 1,000 นายในแต่ละป้อมปราการ และมอบหมายให้จวนตวน (全端 เฉฺวียน ตฺวาน) และเล่าเลียก (留略 หลิว เลฺว่) รักษาป้อมปราการทั้งสองแห่ง ส่วนตัวจูกัดเก๊กเองนำทหารที่เหลือกลับไป[5][6]

โหมโรง

วุยก๊กรู้สึกว่าถูกง่อก๊กลูบคมเมื่อง่อก๊กเริ่มรุกล้ำอาณาเขตของวุยก๊กโดยการก่อสร้างเขื่อนที่ตังหิน จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเสนอแผนโต้ตอบง่อก๊กให้กับสุมาสูผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊ก สุมาสูยอมรับแผนของจูกัดเอี๋ยน[7] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 252 หรือมกราคม ค.ศ. 253 ราชสำนักวุยก๊กมอบหมายให้อองซอง, บู๊ขิวเขียม, จูกัดเอี๋ยน และอ้าวจุ๋นเข้าโจมตีง่อก๊กจาก 3 ทิศทาง โดยอองซองจะเข้าโจมตีกังเหลง (江陵 เจียงหลิง) บู๊ขิวเขียมจะเข้าโจมตีบู๊เฉียง (武昌 อู่ชาง; ปัจจุบันคือนครเอ้อโจว มณฑลหูเป่ย์)[8] จูกัดเอี๋ยนและอ้าวจุ๋นจะนำกองกำลัง 70,000 นายไปยังตังหินเพื่อโจมตีป้อมปราการ 2 แห่งและทำลายเขื่อน[1][9]

เมื่อข่าวการโจมตีของวุยก๊กมาถึงง่อก๊ก จูกัดเก๊กจึงนำกองกำลัง 40,000 นาย[2] ไปต้านข้าศึก[9] อ้าวจุ๋นสั่งให้ทหารสร้างสะพานลอยน้ำเพื่อไปยังเขื่อน แล้วแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 กลุ่มย้อยเพื่อโจมตีป้อมปราการ 2 แห่ง แต่ป้อมปราการทั้งสองตั้งอยู่บนที่สูงและเข้าถึงยาก[10]

เหล่าขุนพลง่อก๊กพูดว่า "เมื่อข้าศึกรู้ว่าท่านราชครู (จูกัดเก๊ก) มาที่นี่ด้วยตนเอง พวกเขาจะล่าถอยอย่างแน่นอนเมื่อเราไปถึงฝั่ง"[11] อย่างไรก็ตาม มีเพียงเตงฮองที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปโดยกล่าวว่า "ไม่ พวกเขาเคลื่อนไหวเอิกเกริกในอาณาเขตตน เตรียมการระดมพลใหญ่หลวงจากฮูโต๋และลกเอี๋ยง มีเหตุผลใดที่พวกเขาจะกลับไปมือเปล่าเล่า อย่าคิดว่าข้าศึกจะไม่ยกมา เราควรเตรียมพร้อมทำศึก"[12] เมื่อจูกัดเก๊กไปถึงตังหิน ได้มอบหมายให้เตงฮอง, เล่าเบา, ลิกี๋ และต๋องจูบัญชาการกองหน้า[13] และเคลื่อนกองกำลังไปทางตะวันตกตามภูมิประเทศที่เป็นภูเขา[14] เตงฮองเตือนว่า "เราเคลื่อนที่ช้าเกินไป หากข้าศึกยึดพื้นที่ที่เอื้ออำนวย ก็ยากจะจัดการพวกเขา" จากนั้นเตงฮองจึงนำทหาร 3,000 นายไปกับตน เดินผ่านเส้นทางที่แตกต่างจากกองกำลังหลักของทัพง่อก๊ก[15]

ยุทธการ

เวลานั้นมีลมเหนือพัดหนัก เตงฮองและทหาร 3,000 นายมาถึงแนวหน้าภายใน 2 วันและเข้ายึดคันดินสฺวี (徐塘 สฺวีถาง) ในช่วงนั้นเป็นฤดูหนาวและมีหิมะตก เหล่านายทหารฝ่ายวุยก๊กไม่ได้ระแวดระวังแล้วรวมกลุ่มกันดื่มสุรา ดังนั้นแม้กำลังทหารของเตงฮองจะด้อยกว่า แต่เตงฮองก็ปลุกใจเหล่าทหารว่า "วันนี้เป็นวันที่เราจะได้รับตำแหน่งและบำเหน็จความชอบ!" จากนั้นจึงสั่งให้ทหารถอดเสื้อเกราะและหมวกเกราะ ทิ้งจี่และหอก ให้ถือเพียงโล่และอาวุธสั้นอย่างดาบ[16][17] เหล่าทหารวุยก๊กต่างหัวเราะเยาะที่เห็นการกระทำของทหารฝ่ายง่อก๊กเช่นนี้ และไม่เตรียมตัวพร้อมรบ เตงฮองและทหารเข้าต่อสู้อย่างกล้าหาญและทำลายค่ายของข้าศึกด้านหน้า ทันใดนั้นกองกำลังอื่น ๆ ของง่อก๊กนำโดยลิกี๋และคนอื่น ๆ ก็มาถึงและเข้าร่วมกับเตงฮองในการโจมตีค่ายข้าศึก[18] ทัพวุยก๊กตกตะลึงต่อการโจมตีดุดันกะทันหันของฝ่ายง่อก๊กจึงตกอยู่ในความสับสนอลหม่าน ทหารวุยก๊กหลายคนแย่งกันข้ามสะพานลอยน้ำแต่ก็สะพานก็หักพังลงไป ทหารวุยก๊กตกลงไปในน้ำและเริ่มตะเกียกตะกายเหยียบกันเองเพื่อจะหาทางขึ้นฝั่ง[19] หวนแกเจ้าเมืองเล่ออาน (樂安) ถูกสังหารในที่รบ[20][21] ฮั่นจ๋งขุนพลง่อก๊กที่แปรพักตร์ไปเข้าด้วยวุยก๊กและนำกองหน้าวุยก๊กในยุทธการนี้ก็เสียชีวิตในยุทธการเช่นกัน จูกัดเก๊กตัดศีรษะของศพฮั่นจ๋งและส่งศีรษะไปถวายยังศาลของซุนกวน[22][23]

ผลสืบเนื่อง

เมื่ออองซองและบู๊ขิวเขียมได้ยินความพ่ายแพ้ของฝ่ายวุยก๊กที่ตังหิน ทั้งสองก็เผาค่ายของคนและถอนทัพกลับไปเช่นกัน ย้อนกลับมาที่ราชสำนักวุยก๊ก ขุนนางหลายแย้งว่าแม่ทัพของวุยก๊กควรถูกลดขั้นหรือถูกปลดจากราชการฐานล้มเหลวในการบุก แต่สุมาสูกล่าวว่า "ข้าไม่ฟังกงซิว (公休; ชื่อรองของจูกัดเอี๋ยน) ผลจึงเป็นเช่นนี้ เป็นความผิดของข้าเอง ขุนพลทั้งหลายทำอะไรผิดเล่า" สุมาเจียวน้องชายของสุมาสูซึ่งเป็นผู้บัญชาการในการรบครั้งนี้ถูกถอดบรรดาศักดิ์[24][25]

อีกด้านหนึ่ง ทัพง่อก๊กยึดยุทโธปกรณ์และปศุสัตว์จำนวนมากที่ทัพวุยก๊กทิ้งไว้และเดินทัพกลับอย่างมีชัย จูกัดเก๊กได้รับบรรดาศักดิ์หยางตูโหว (陽都侯) และได้รับการแต่งตั้งเป็นเป็นเจ้ามณฑล (牧 มู่) ของมณฑลเกงจิ๋วและยังจิ๋ว ได้ทอง 1,000 ชั่ง (斤 จิน), ม้าชั้นดี 200 ตัว และผ้าไหมและเสื้อผ้าอย่างละ 10,000 ม้วน[26] เตงฮองได้เลื่อนยศเป็นขุนพลกำจัดโจร (滅寇將軍 เมี่ยโค่วเจียงจฺวิน) และได้บรรดาศักดิ์ระดับดูถิงโหว (都亭侯)[27]

บุคคลในยุทธการ

ในวัฒนธรรมประชานิยม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 (魏以吳軍入其疆土,恥於受侮,命大將胡遵、諸葛誕等率眾七萬,欲攻圍兩塢,圖壞堤遏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  2. 2.0 2.1 (恪興軍四萬,晨夜赴救。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  3. (十六年,權徙治秣陵。明年,城石頭,改秣陵為建業。聞曹公將來侵,作濡須塢。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
  4. (初,權黃龍元年遷都建業。二年築東興堤遏湖水。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  5. (恪以建興元年十月會眾於東興,更作大堤,左右結山俠築兩城,各留千人,使全端、留略守之,引軍而還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  6. (漢晉春秋曰:初,孫權築東興堤以遏巢湖。後征淮南,壞不復修。是歲諸葛恪帥軍更於堤左右結山,挾築兩城,使全端、留略守之,引軍而還。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  7. (諸葛誕言於司馬景王曰:「致人而不致於人者,此之謂也。今因其內侵,使文舒逼江陵,仲恭向武昌,以羈吳之上流,然後簡精卒攻兩城,比救至,可大獲也。」景王從之。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  8. (冬十一月,詔征南大將軍王昶、征東將軍胡遵、鎮南將軍毌丘儉等征吳。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  9. 9.0 9.1 (魏遣諸葛誕、胡遵等攻東興,諸葛恪率軍拒之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
  10. (遵等敕其諸軍作浮橋度,陳於堤上,分兵攻兩城。城在高峻,不可卒拔。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  11. (諸將皆曰:"敵聞太傅自來,上岸必遁走。") 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
  12. (奉獨曰:"不然。彼動其境內,悉許、洛兵大舉而來,必有成規,豈虛還哉?無恃敵之不至,恃吾有以勝之。") 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
  13. (恪遣將軍留贊、呂據、唐咨、丁奉為前部。) 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  14. (及恪上岸,奉與將軍唐咨、呂據、留贊等,俱從山西上。) 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
  15. (奉曰:"今諸軍行遲,若敵據便地,則難與爭鋒矣。"乃辟諸軍使下道,帥麾下三千人徑進。) 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
  16. (時北風,奉舉帆二日至,遂據徐塘。天寒雪,敵諸將置酒高會,奉見其前部兵少,相謂曰:"取封侯爵賞,正在今日!"乃使兵解鎧著冑,持短兵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
  17. (時天寒雪,魏諸將會飲,見贊等兵少,而解置鎧甲,不持矛戟。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  18. (敵人從而笑焉,不為設備。奉縱兵斫之,大破敵前屯。會據等至,魏軍遂潰。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
  19. (但兜鍪刀楯,夥身緣遏,大笑之,不即嚴兵。兵得上,便鼓噪亂斫。魏軍驚擾散走,爭渡浮橋,橋壞絕,自投於水,更相蹈藉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  20. (嘉尚升遷亭公主,會嘉平中,以樂安太守與吳戰於東關,軍敗,沒,諡曰壯侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  21. (樂安太守桓嘉等同時並沒,死者數萬。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  22. (東興之役。綜為前鋒,軍敗身死,諸葛恪斬送其首,以白權廟。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
  23. (故叛將韓綜為魏前軍督,亦斬之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  24. (尋進號都督,統征東將軍胡遵、鎮東將軍諸葛誕伐吳,戰於東關。二軍敗績,坐失侯。) จิ้นชู เล่มที่ 2.
  25. (漢晉春秋曰:毌丘儉、王昶聞東軍敗,各燒屯走。朝議欲貶黜諸將,景王曰:「我不聽公休,以至於此。此我過也,諸將何罪?」悉原之。時司馬文王為監軍,統諸軍,唯削文王爵而已。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  26. (獲車乘牛馬驢騾各數千,資器山積,振旅而歸。進封恪陽都侯,加荊揚州牧,督中外諸軍事,賜金一百斤,馬二百匹,繒布各萬匹。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  27. (遷滅寇將軍,進封都亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.

บรรณานุกรม

Kembali kehalaman sebelumnya