Share to:

 

เล่าเลียก

เล่าเลียก (หลิว เลฺว่)
留略
เจ้าเมืองตองไฮ (東海太守 ตงไห่ไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 255 (255) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์ซุนเหลียง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครจินหฺวา มณฑลเจ้อเจียง
เสียชีวิตไม่ทราบ
บุพการี
อาชีพขุนพล

เล่าเลียก[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลิว เลฺว่ (จีน: 留略; พินอิน: Liú Lüè) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ประวัติ

เล่าเลียกเป็นชาวอำเภอฉางชาน (長山縣 ฉางชานเซี่ยน) เมืองห้อยเข (會稽郡 ไคว่จีจฺวิ้น) ซึ่งอยู่ในนครจินหฺวา มณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบัน เล่าเลียกเป็นบุตรชายของเล่าเบา (留贊 หลิว จ้าน) ขุนพลของง่อก๊ก น้องชายของเล่าเลียกชื่อหลิว ผิง (留平) รับราชการเป็นขุนพลของง่อก๊กเช่นกัน[2][3]

ในปี ค.ศ. 252 หลังการสวรรคตของซุนกวนจักรพรรดิแห่งง่อก๊กและซุนเหลียงรัชทายาทของซุนกวนผู้ขึ้นครองรายช์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 2 แห่งง่อก๊ก วุยก๊กที่เป็นรัฐอริของง่อก๊กเข้าโจมตีง่อก๊กจากสามทิศทาง โดยเข้าตีทางกังเหลง (江陵 เจียงหลิง), บู๊เฉียง (武昌 อู่ชาง; ปัจจุบันคือนครเอ้อโจว มณฑลหูเป่ย์) และตังหิน (東興 ตงซิง; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครเฉาหู มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) จูกัดเก๊กผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งง่อก๊กมอบหมายให้เล่าเลียกและจวนตวน (全端 เฉฺวียน ตฺวาน) แยกกันนำทหารคนละพันนายไปรักษาป้อมปราการ 2 แห่งที่ตังหิน โดยเล่าเลียกรักษาป้อมตะวันออก จวนตวนรักษาป้อมตะวันตก ทัพวุยก๊กนำโดยอ้าวจุ๋นและจูกัดเอี๋ยนยกเข้าล้อมป้อมปราการทั้งสองแห่งที่ตังหิน แต่ป้อมปราการทั้งสองตั้งอยู่บนที่สูงจึงยากจะเข้าตี[4][5][6] ในยุทธการที่ตังหิน จูกัดเก๊กพร้อมด้วยเล่าเบา (บิดาของเล่าเลียก), ลิกี๋, ต๋องจู และเตงฮองนำทัพเข้าโจมตีเอาชนะทัพวุยก๊กได้

ในปี ค.ศ. 255 เล่าเบาบิดาของเล่าเลียกเสียชีวิตในการรบที่ฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย) ปีนั้นรัฐง่อก๊กส่งเฝิง เฉา (馮朝) ไปสร้างป้อมปราการที่กังเหลง แต่งตั้งให้อู๋ หราง (吳穰) เป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองกังเหลง และแต่งตั้งให้เล่าเลียกเป็นเจ้าเมืองของเมืองตองไฮ (東海 ตงไห่)[7]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ("นายทหารรักษาป้อมขวาชื่อเล่าเลียก ป้อมซ้ายชื่อจวนเต๊ก ป้อมสองอันนี้สูงใหญ่มั่นคงนัก หวนแกกับฮั่นจ๋งจะหักเข้าไปก็มิได้ก็ถอยออกมาตั้งค่ายอยู่ เล่าเลียกจวนเต๊กเห็นทหารเข้ามามากนัก จะเปิดประตูป้อมออกไล่ตีมิได้ ก็ตั้งมั่นอยู่ในป้อม") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 18, 2024.
  2. (留贊字正明,會稽長山人。) อรรถาธิบายจากอู๋ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  3. (二子略、平,並為大將。) อรรถาธิบายจากอู๋ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  4. (恪以建興元年十月會眾於東興,更作大堤,左右結山俠築兩城,各留千人,使全端、留略守之,引軍而還。魏以吳軍入其疆土,恥於受侮,命大將胡遵、諸葛誕等率眾七萬,欲攻圍兩塢,圖壞堤遏。恪興軍四萬,晨夜赴救。遵等敕其諸軍作浮橋度,陳於堤上,分兵攻兩城。城在高峻,不可卒拔。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  5. (冬十月,太傅恪率軍遏巢湖,城東興,使將軍全端守西城,都尉留略守東城。十二月朔丙申,大風雷電,魏使將軍諸葛誕、胡遵等步騎七萬圍東興,將軍王昶攻南郡,毌丘儉向武昌。)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 48.
  6. (漢晉春秋曰:初,孫權築東興堤以遏巢湖。後征淮南,壞不復修。是歲諸葛恪帥軍更於堤左右結山,挾築兩城,使全端、留略守之,引軍而還。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  7. (使衞尉馮朝城廣陵,拜將軍吳穰爲廣陵太守,留略爲東海太守。)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 48.

บรรณานุกรม

Kembali kehalaman sebelumnya