Share to:

 

ยุทธการที่โบโรดีโน

ยุทธการที่โบโรดีโน
ส่วนหนึ่งของ การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส

ภาพวาดยุทธการที่มอสโก, วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1812, ค.ศ. 1822
โดย Louis-François Lejeune
วันที่7 กันยายน ค.ศ. 1812
สถานที่55°31′N 35°49′E / 55.517°N 35.817°E / 55.517; 35.817
ผล ฝรั่งเศสชนะทางกลยุทธ์[3]
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
นโปเลียนยึดครองมอสโก
คู่สงคราม

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซีย[2]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
130,000–190,000 men
587 guns[4]
120,000–160,000 men
624 guns
ความสูญเสีย
28,000–35,000 dead, wounded and captured[5]
[6](inc. 47 generals, 480 officers)
40,000–45,000 dead, wounded, and captured[6][7] (inc. 23 generals, 211 officers)

ยุทธการที่โบโรดีโน(รัสเซีย: Бopoди́нcкoe cpaже́ниe, อักษรโรมัน: Borodínskoye srazhéniye; ฝรั่งเศส: Bataille de la Moskova) เป็นการต่อสู้รบ เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1812[8] ในสงครามนโปเลียนในช่วงฝรั่งเศสบุกครองรัสเซีย

การสู้รบครั้งนี้ได้มีทหารร่วมรบประมาณ 250,000 นายและมีการบาดเจ็บและล้มตายอย่างน้อย 70,000 นาย ทำให้โบโรดีโนเป็นวันที่ร้ายแรงที่สุดในสงครามนโปเลียน กองทัพใหญ่(Grande Armée)ของนโปเลียนได้เปิดฉากการโจมตีต่อกองทัพจัรวรรดิรัสเซีย ได้ผลักดันกลับไปยังจุดเริ่มต้นแต่ล้มเหลวในการเอาชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองกองทัพต่างหมดกำลังลงภายหลังจากการสู้รบและรัสเซียได้ถอนกำลังออกจากสนามรบในวันต่อมา โบโรดีโนได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามครั้งสุดท้ายของรัสเซียในการหยุดยั้งฝรั่งเศสบุกเข้าสู่กรุงมอสโก ซึ่งหนึ่งสัปดาห์ต่อมา อย่างไรก็ตาม, ฝรั่งเศสไม่มีหนทางที่ชัดเจนในการบีบบังคับให้พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ยอมจำนนเพราะกองทัพบกจักรวรรดิรัสเซียไม่ยอมแพ้อย่างเด็ดขาด ส่งผลทำให้ความพ่ายแพ้สูงสุดของการรุกรานของฝรั่งเศส ภายหลังจากการหลบหนีออกจากกรุงมอสโกในเดือนตุลาคม

หลังจากการล่าถอยหลายครั้งของรัสเซียในช่วงแรกของการทัพ บรรดาขุนนางเริ่มตื่นตระหนกเกี่ยวกับการรุกของกองทหารฝรั่งเศสที่กำลังจะมาถึงและบังคับให้พระเจ้าซาร์สั่งปลดผู้บัญชาการแห่งกองทัพบก Michael Andreas Barclay de Tolly มีฮาอิล คูตูซอฟได้รับการแต่งตั้งมาแทนที่เขา ในความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อปกป้องกรุงมอสโก รัสเซียได้ตั้งที่มั่นใกล้กับหมู่บ้านโบโรดีโน ทางตะวันตกของเมือง Mozhaysk พวกเขาสร้างป้อมปราการที่ตำแหน่งที่พวกเขาอยู่และรอให้ฝรั่งเศสเข้าโจมตี ปีกขวาของรัสเซียได้ครอบครองภูมิประเทศการป้องกันในอุดมคติ และดังนั้นฝรั่งเศสพยายามที่จะกดดันรัสเซียให้ออกไปจากสนามรบ

เหตุการณ์ที่สำคัญของการสู้รบครั้งนี้ได้กลายเป็นการต่อสู้นองเลือดสำหรับที่มั่นป้อมแหลม(redoubt) Raevsky ขนาดใหญ่ ใกล้หมู่บ้านโบโรดีโน ฝรั่งเศสได้จัดการเข้ายึดที่มั่นป้อมแหลมจนถึงตะวันบ่ายเสียแล้ว จึงค่อยๆบังคับให้กองทัพรัสเซียที่เหลือล่าถอยกลับเช่นกัน รัสเซียได้พบกับการบาดเจ็บและล้มตายที่ร้ายแรงในช่วงการสู้รบ สูญเสียไปหนึ่งในสามของกองทัพของพวกเขา การสูญเสียของฝรั่งเศสนั้นค่อยข้างหนัก ทำให้เกิดทวีความรุนแรงขึ้นของปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่นโปเลียนเผชิญในการทัพ ความเหนื่อยล้าของกองทัพฝรั่งเศส และขาดข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของกองทัพรัสเซีย ได้โนมน้าวให้นโปเลียนยังคงอยู่ในสนามรบกับกองทัพของเขา แทนที่จะสั่งให้มีการติดตามไล่ล่าที่ชวนให้นึกถึงการทัพครั้งก่อนหน้านี้

ทหารรักษาพระองค์ของนโปเลียน เพียงหน่วยเดียวบนสนามรบที่ไม่เห็นได้เข้าต่อสู้รบ สามารถสลับเปลี่ยนเข้าปฏิบัติการรบในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะที่ได้ปฏิเสธที่จะมอบหมายให้กับทหารรักษาพระองค์ นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า พระองค์สูญเสียโอกาสเดียวที่จะทำลายล้างกองทัพรัสเซียและเอาชนะการทัพครั้งนี้

การเข้ายึดครองกรุงมอสโกได้รับชัยชนะอย่างมาก นับตั้งแต่รัสเซียไม่มีความตั้งใจที่จะเจรจากับนโปเลียนเพื่อสันติภาพ ฝรั่งเศสได้เคลื่อนย้ายเมืองหลวงทางจิตวิญญาณของรัสเซียในเดือนตุลาคมและดำเนินการล่าถอยที่ยากลำบากจนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งจุดที่เหลือของกองทัพใหญ่ได้ถูกปลดปล่อยเป็นส่วนใหญ่ รายงานทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบครั้งนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาเป็นพวกสนับสนุนฝ่ายฝรั่งเศสหรือฝ่ายรัสเซีย การต่อสู้แบบแตกแยกในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสในแต่ละกองทัพก็ได้นำไปสู่ข้อขัดแย้งทางบัญชีและข้อขัดแย้งในบทบาทของเจ้าหน้าที่นายทหารโดยเฉพาะ

อ้างอิง

  1. Several states belonging to the Confederation of the Rhine provided military contingents during this battle: the kingdoms of Bavaria, Westphalia, Württemberg, Saxony and the Grand Duchy of Hesse.
  2. Note that although no official flag existed during this period, the tricolour represents the officer sash colours and the Double Eagle represents the Tsar's official state symbol.
  3. See the aftermath section
  4. Richard K. Riehn, Napoleon's Russian Campaign, John Wiley & Sons, 2005, p. 479.
  5. Herman Lindqvist. Napoleon, p. 368, chapter 20, 'The battle of Borodino, the bloodiest of them all'
  6. 6.0 6.1 Riehn, p. 255.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Smith 392
  8. 26 August in the Julian calendar then used in Russia.
Kembali kehalaman sebelumnya