ระบบขนส่งทางรางในเขตเมืองระบบขนส่งทางรางในเขตเมือง (อังกฤษ: urban rail transit) เป็นการขนส่งที่พัฒนามาจากระบบรางนับตั้งแต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การค้นพบเครื่องจักรไอน้ำได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาควบคู่กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป เป็นการขนส่งที่รวดเร็วและมีบทบาทสูง สามารถเคลื่อนย้ายคน สิ่งของ ได้อย่างรวดเร็ว ปริมาณมาก และมีค่าใช้จ่ายต่ำ ประเภทระบบขนส่งมวลชนเร็วระบบขนส่งมวลชนเร็ว (อังกฤษ: rapid transit) หรือที่มักเรียกว่า รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เมโทร มักจะมีในเมืองใหญ่ที่สำคัญทั่วโลก รถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่กรุงลอนดอน เปิดใช้เมื่อ พ.ศ. 2406 [1] ปัจจุบันมีเมืองทั้งหมด 162 เมืองที่มีรถไฟใต้ดิน รถไฟรางเบารถไฟรางเบา รถไฟฟ้ารางเบา หรือ ไลท์เรล (อังกฤษ: light rail) เป็นระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงที่ให้บริการแถบชานเมือง ขับเคลื่อนโดยใช้ล้อเหล็ก ซึ่งจะวิ่งในรางฝั่งขวา และตู้โดยสารที่ใช้จะเท่ากับหรือมากกว่า 1 ตู้ก็ได้[2][3][4][5][6] รถไฟรางเบา มักถูกจัดให้คล้ายกับรถราง รถรางรถราง (อังกฤษ: tram) ยังมีบางส่วนใช้ดีเซลอยู่ ในปัจจุบันนิยมนับรถรางเป็นประเภทหนึ่งของรถไฟรางเบาด้วย ในอดีตประเทศไทยก็เคยมีการใช้รถรางครั้งแรกเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2431[7] เมื่อเริ่มแรกใช้กำลังม้าลากรถไปตามราง ภายหลังเปลี่ยนมาใช้กำลังไฟฟ้าเมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2437[7] และจนถึงปี พ.ศ. 2511 ได้ยกเลิกการเดินรถทุกเส้นทางอย่างถาวร[8] คำว่า "รถราง" ในภาษาไทยปัจจุบัน ถูกใช้ในความหมายของ รถชมเมืองที่วิ่งโดยไม่ใช้ราง แต่ด้วยล้ออีกด้วย รถไฟรางเดี่ยวรถไฟรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล (อังกฤษ: monorail) เป็นระบบขนส่งทางรางชนิดหนึ่ง ต่างจากระบบเดิมแทนที่จะมีราวเหล็กสองราวประกอบเป็นราง กลับมีลักษณะเป็นราวเหล็กเส้นเดียวให้รถวิ่งผ่าน คำว่าโมโนเรลมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2440[9] โดยออยเกน ลังเกน (Eugen Langen) วิศวกรชาวเยอรมัน โดยสมาสคำว่า mono-เดี่ยว และ rail-ราวเหล็กสำหรับประกอบรางรถไฟ เข้าด้วยกัน รถที่ใช้กับโมโนเรล จะวิ่งบนทางที่มีขนาดแคบกว่าตัวรถ[10]โดยอาจมีครีบสำหรับกอดรัดให้ตัวรถติดกับทางไว้ก็ได้ นิยมใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดกลาง จำนวนคนไม่มาก ต่างจากระบบรถไฟฟ้ารางหนัก (heavy rail) ซึ่งขนส่งคนได้ในปริมาณที่มากกว่า ระบบขนส่งผู้โดยสารระบบขนส่งผู้โดยสาร (อังกฤษ: people mover) หรือ ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (อังกฤษ: automated people mover, APM) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติที่มีขนาดเล็ก มักใช้เพื่อขนส่งผู้โดยสารในพื้นที่จำกัด เช่น สนามบิน สวนสนุก หรือย่านใจกลางเมือง รถไฟชานเมืองรถไฟชานเมือง หรือ รถไฟฟ้าชานเมือง (อังกฤษ: commuter rail) เป็นรถไฟโดยสารที่ให้บริการระหว่างใจกลางเมือง ไปจนถึงชานเมืองที่มีระยะไม่เกิน 15 กิโลเมตร หรือ 10 ไมล์ หรือเป็นเมืองที่มีผู้คนเข้ามาทำงานในใจกลางเมืองมาก โดยรถไฟจะวิ่งตามกำหนดเวลา มีความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 50 ไปจนถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของรถไฟชานเมือง ว่า เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัศมีไม่เกิน 160 กม. เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย หยุดทุก ๆ สถานี ป้ายหยุดรถ ที่หยุดรถ อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |