สถานีรถไฟ
สถานีรถไฟ คืออาคารหรือกลุ่มอาคารที่ใช้บริการขนส่งระบบราง เป็นจุดจอด แวะพัก เปลี่ยนขบวน สำหรับการเดินรถไฟ มีการรับส่งผู้โดยสาร หรือรับส่งสินค้า หรือทั้งสองอย่าง โดยทั่วไปประกอบด้วยอย่างน้อยหนึ่งทางวิ่ง ทางเดินข้างทางวิ่ง(ชานชาลา) และอาคารสถานี มีบริการเสริมเช่น การขายตั๋ว ห้องรอรับฝากสัมภาระ และบริการขนส่งสินค้า หากสถานีอยู่บนเส้นทางรถไฟระบบรางเดี่ยวสถานีจะมีรางขนานช่วงสั้นๆเพื่อสับรางให้รถไฟที่ผ่านจากทิศทางตรงข้ามวิ่งผ่านได้เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรทางราง สถานีที่เล็กที่สุดมักเรียกว่า "ป้ายหยุดรถไฟ" หรือ ในบางส่วนเรียกว่า "ที่หยุดรถไฟ" สถานีอาจอยู่ในระดับพื้นดิน ใต้ดิน หรือยกระดับ อาจเชื่อมต่อกับทางแยกรถไฟหรือโหมดการขนส่งอื่น ๆ เช่น รถเมล์ รถราง หรือ ระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ประเภทของสถานีประเภทของสถานีรถไฟได้แก่ สถานีทั่วไปเป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเปิดรับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ เช่น สถานีรถไฟคลองมะพลับ สถานีรถไฟแม่ตานน้อย ในเส้นทางสายเหนือ สถานีรถไฟแผ่นดินทอง สถานีบ้านแสลงพัน ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟบ้านดงบัง สถานีรถไฟองครักษ์ ในเส้นทางสายตะวันออก และสถานีรถไฟบูกิ๊ต สถานีรถไฟแสงแดด ในเส้นทางสายใต้ สถานีชุมทาง เป็นสถานีที่ทางรถไฟสายหลัก และสายแยก แยกออกจากกัน ทั้งนี้ สถานีชุมทางก็มีคุณสมบัติเหมือนกันกับสถานีทั่วไปเช่นกัน กล่าวคือ เป็นสถานที่รับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย มีสถานีชุมทางทั้งหมด 27 สถานี (สถานีชุมทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 18 สถานี สถานีชุมทางในอนาคต 8 สถานี และยกเลิกใช้แล้ว 1 สถานี) คือ
สถานีทั่วไปและสถานีชุมทางที่สำคัญในต่างประเทศ
ป้ายหยุดรถไฟเป็นสถานที่ที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร แต่ไม่มีการขนส่งสินค้าขึ้นลง รวมไปถึงป้ายหยุดรถไฟจะไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายบอกชื่อทำด้วยเหล็ก เป็นตั้งแต่ก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์ ป้ายหยุดรถไฟพญาไท ในเส้นทางสายตะวันออก ป้ายหยุดรถไฟนิคมรถไฟ กม.11 ในเส้นทางสายเหนือ ป้ายหยุดรถไฟบ้านหนองกันงาในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ และป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ป้ายหยุดรถไฟบางระมาด ที่หยุดรถไฟฉิมพลี ที่หยุดรถไฟ พุทธมณฑล สาย 2หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์ ที่หยุดรถไฟสะพานจุฬาลงกรณ์ ที่หยุดรถไฟบ้านป่าไก่ ที่หยุดรถไฟบ้านทรัพย์สมบูรณ์ในเส้นทางสายใต้ ที่หยุดรถไฟเป็นสถานีที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าขึ้นลง แต่ไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายทำด้วยปูน อาจเป็นที่หยุดรถตั้งแต่ก่อสร้างหรือสถานีที่ ถูกลดระดับ เช่น ที่หยุดรถไฟบ้านแต้ ที่หยุดรถไฟบ้านไร่ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ที่หยุดรถไฟห้วยโรง ที่หยุดรถไฟปากแพรก ที่หยุดรถไฟเขาหลุง ในเส้นทางสายใต้ ที่หยุดรถไฟผาคอ ที่หยุดรถไฟแม่พวก ที่หยุดรถไฟนวนคร ในทางรถไฟสายเหนือ และ ที่หยุดรถไฟไทย ชายแดนไทย-กัมพูชา ในทางรถไฟสายตะวันออก เป็นต้น สถานีรถไฟเฉพาะกิจสถานีรถไฟเฉพาะกิจ คือสถานีที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เป็นสถานีขนส่งสินค้าอย่างเดียวไม่รับผู้โดยสาร (บางแห่งรับผู้โดยสารร่วมด้วย) นอกจากนี้ อาจจะเป็นสถานีสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา รายชื่อสถานีรถไฟในประเทศไทยรายชื่อสถานีรถไฟ ที่ทำการเดินรถระหว่างสถานีโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย
รายชื่อสถานีรถไฟฟ้าในประเทศไทยแหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สถานีรถไฟ
อ้างอิง
|