ราชรัฐห่าเตียน
河僊鎮
ค.ศ. 1707–ค.ศ. 1832 ดินแดนที่ถูกปกครองโดยตระกูลม่อ (ค.ศ. 1829)
สถานะ รัฐในอารักขาของกัมพูชา (ค.ศ. 1707–1736)รัฐในอารักขาของเวียดนาม (ค.ศ. 1707–1832) รัฐในอารักขาของสยาม (ค.ศ. 1785–1809) เมืองหลวง ห่าเตียน ภาษาทั่วไป การปกครอง รัฐในอารักขา เจ้าผู้ครอง • 1707–1735
ม่อ จิ่ว (คนแรก)• 1735–1777
ม่อ ซื่อหลิน • 1830–1832
ม่อ กงไฉ (สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ • สวามิภักดิ์ขุนนางตระกูลเหงียน
ค.ศ. 1707 ค.ศ. 1832
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
ราชรัฐห่าเตียน [ 1] (เวียดนาม : Hà Tiên trấn , จีนตัวย่อ : 河仙镇 ; จีนตัวเต็ม : 河僊鎮 หรือ 河仙鎮 ; พินอิน : Héxiān zhèn ), รัฐกั๋งโข่ว (港口国 )[ 2] หรือ รัฐในอารักขาห่าเตียน [ 3] เอกสารตะวันตกเรียก คังเคา (Can Cao )[ 4] [ 5] [ 6] ส่วนเอกสารไทยเรียก เมืองบันทายมาศ [ 7] หรือ พุทไธมาศ [ 8] [ 9] เป็นรัฐเมืองท่าบริเวณปากแม่น้ำโขง ก่อตั้งโดยม่อ จิ่ว (鄚玖 ) หรือ หมัก กื๋ว (Mạc Cửu ) ชาวจีนอพยพ[ 1] มีลักษณะเป็นเมืองท่าปลอดภาษี เปิดบ่อนการพนัน ผลิตเหรียญกษาปณ์ และเปิดเหมืองแร่ดีบุกเป็นของตนเอง[ 10] โดยอาศัยพื้นที่ชายขอบของปริมณฑลแห่งอำนาจของรัฐขนาดใหญ่ พัฒนาเป็นเมืองท่าสำคัญของภูมิภาค[ 11] และขยายพื้นที่อำนาจของตนเองด้วยการตั้งเมืองใหม่อีกหกเมือง[ 12]
ห่าเตียนเป็นรัฐอิสระในอารักขาของทั้งกัมพูชา เวียดนาม หรือสยาม โอนอ่อนตามแต่สถานการณ์จะพาไป[ 10] เพราะศักยภาพทางการทหารต่ำ[ 13] รัฐต่าง ๆ พยายามเข้าควบคุมห่าเตียนตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา[ 11] ที่สุดห่าเตียนถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเวียดนาม ใน ค.ศ. 1832
ประวัติ
ยุคแรกเริ่ม
เดิมห่าเตียนเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมร กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 ม่อ จิ่ว (鄚玖 ) หรือ หมัก กื๋ว (Mạc Cửu ) ชาวจีนกวางตุ้ง เข้าไปก่อตั้งเมืองท่าชื่อ เฟืองถั่ญ (Phương Thành ) บ้างเรียก เมืองคำ (Máng-khảm , ม้างขาม ) เปี่ยม หรือ เปียม (ពាម "ปากน้ำ")[ 7] [ 12] เมื่อ ค.ศ. 1671 โดยได้รับพระราชานุญาตจากกษัตริย์เขมรให้ดูแลการค้าทางทะเลแถบนั้น พร้อมกับพระราชทานตำแหน่งเป็น ออกญา (ឧកញ៉ា )[ 14]
ยูมิโอะ ซากูไร (桜井由躬雄 ) นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเสนอว่า เฟืองถั่ญนี้เป็นเมืองที่ถูกสร้างใหม่ที่ประกอบไปด้วยหมู่บ้านชาวจีนโพ้นทะเลเจ็ดหมู่รวมกัน ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับบันทายมาศ (បន្ទាយមាស , บ็อนเตียย์เมียะฮ์ ) ซึ่งขณะนั้นมีเจ้าเมืองชาวเขมรปกครองอยู่แล้ว[ 15] แม้จะเป็นคนละเมือง แต่เอกสารไทยมักเรียกเมืองใหม่แห่งนี้ว่าบันทายมาศ (สำเนียงเขมร) หรือพุทไธมาศ (สำเนียงไทย) เพราะเป็นเมืองเก่าที่เคยมีความสัมพันธ์กับสยามมาก่อน[ 12] ที่ตั้งของเฟืองถั่ญอยู่บริเวณปากแม่น้ำใหญ่ เรือสินค้าสามารถจอดเรือหลบมรสุมได้ และสามารถเดินทางผ่านสาขาแม่น้ำเข้าไปค้าขายยังพื้นที่ตอนในแผ่นดินได้[ 14]
ในเวลาต่อมาม่อ จิ่ว เริ่มสวามิภักดิ์กับขุนนางตระกูลเหงียนเมื่อ ค.ศ. 1707 หลังถูกสยามรุกรานจนเมืองเสียหาย ม่อ จิ่วรับตำแหน่งขุนนาง เหิ่ว (hầu ) จากตระกูลเหงียน ตั้งแต่นั้นมาห่าเตียนก็มีสถานะเป็นรัฐกึ่งอิสระของเวียดนามมาตั้งแต่นั้น[ 16] พร้อมกับตั้งนามเมืองให้เสียใหม่ว่า ห่าเตียน (Hà Tiên ) แปลว่า "เทพแห่งสายน้ำ"[ 17] แต่เขายังคงส่งส่วยเข้าราชสำนักเขมรตามเดิม[ 18]
ยุคทอง
หลังม่อ จิ่วถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1736 ม่อ ซื่อหลิน (莫士麟 ) หรือ หมัก เทียน ตื๊อ (Mạc Thiên Tứ ) บุตรชาย ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองห่าเตียนสืบมา ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของห่าเตียน กองทัพเขมรของพระศรีธรรมราชาที่ 4 ยกทัพตีห่าเตียนใน ค.ศ. 1739 แต่ปรากฏว่าเขมรพ่ายห่าเตียน และไม่ยกทัพมาตีอีก ห่าเตียนจึงเป็นอิสระจากเขมรเต็มที่[ 3] ต่อมาพระนารายน์ราชารามาธิบดี หรือนักองตน เจ้านายเขมรขอเป็นบุตรบุญธรรมม่อ ซื่อหลิน หลังเกิดการชิงอำนาจกันในราชสำนักเขมร[ 7] ม่อ ซื่อหลินจึงประสานไปยังขุนนางตระกูลเหงียนให้สนับสนุนนักองตนเป็นกษัตริย์เขมรจนสำเร็จ[ 10] หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง มีชาวไทยลี้ภัยไปห่าเตียนมากกว่า 30,000 คน หนึ่งในนั้นคือเจ้าจุ้ย (Chiêu Thúy , เจียว ทวี้ ) ซึ่งเป็นเจ้านายชั้นสูงของกรุงศรีอยุธยา[ 19] พระโอรสในเจ้าฟ้าอภัย พระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ [ 20] ม่อ ซื่อหลินวางแผนตั้งเจ้านายพระองค์นี้เป็นกษัตริย์สยาม แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สถาปนากรุงธนบุรี สำเร็จเสียก่อน[ 21] โดยในช่วงที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรวบรวมสมัครพรรคพวกไปตีเมืองจันทบุรี ก่อนการสถาปนากรุงธนบุรี ม่อ ซื่อหลินได้ให้ความช่วยเหลือแก่เจ้าเมืองจันทบุรีสำหรับการต่อต้านสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างโจ่งแจ้ง[ 22]
ม่อ ซื่อหลินวางแผนกำจัดกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสยามหลายทาง ทั้งการทูตกับจีนไม่ให้จีนยอมรับกรุงธนบุรี[ 23] การแย่งตัวเจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวง และให้บุตรเขยตนลอบสังหารสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแต่แผนแตกเสียก่อน จึงถูกสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีกองทัพเรือของห่าเตียนจนพ่ายไป[ 19] ความตึงเครียดระหว่างธนบุรีกับห่าเตียนทวีความรุนแรงขึ้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งค่ายที่ปากน้ำพระประแดง ท่าจีน และแม่กลอง สำหรับรับศึกของทัพเรือห่าเตียน ครั้นเสด็จไปตีหัวเมืองภาคใต้ ม่อ ซื่อหลินก็ส่งทัพ 50,000 คน ตีเมืองทุ่งใหญ่ และจันทบูร กวาดครัวไทยไปจำนวนมาก[ 7] และส่งทัพเรือ 2,000 นายที่เกณฑ์จากบันทายมาศและกรังมาตีบางกอกแต่พ่ายไป ดังปรากฏใน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับนักองค์นพรัตน ความว่า[ 24]
"๏ ลุศักราช ๑๑๓๒ (พ.ศ. 2313) ปีขาล สมเด็จพระโสร์ทศ ผู้เปนใหญ่ในเมืองเปี่ยม ได้เกณฑ์ไพร่พลในเขตรแขวงเมืองบันทายมาศ เมืองตรัง ยกเปนกองทัพไปตีเมืองทุ่งใหญ่ เมืองจันทบุรี จึงพวกกองทัพไทยออกมาสู้รบมีไชยชนะแก่กองทัพสมเด็จพระโสร์ทศ ๆ พ่ายแพ้แก่กองทัพไทย แตกหนีทิ้งเครื่องสาตราวุธเรือรบเสียเปนอันมาก จึงพากันล่าถอยกลับคืนมายังเมืองเปี่ยม ๚"
ครั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสร็จศึกที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็ทรงยกทัพยึดเมืองจันทบูรคืนแล้วล้อมทัพของม่อ ซื่อหลินไว้สองเดือน ที่สุดม่อ ซื่อหลินก็ปราชัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทิ้งอาวุธและเรือรบไว้จำนวนมาก[ 24] [ 25] ด้วยเหตุนี้หลังเสร็จศึกปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตอบโต้ด้วยการโจมตีห่าเตียนเมื่อ ค.ศ. 1771 [ 16] [ 26] ม่อ ซื่อหลินหลบหนีออกจากเมือง ก่อนเสด็จกลับพระนครสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนำครอบครัวของม่อ ซื่อหลิน พร้อมด้วยเจ้าจุ้ยไปด้วย ภายหลังจึงประหารชีวิตเจ้าจุ้ย[ 27] ดังปรากฏใน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับนักองค์นพรัตน ความว่า[ 24]
"๏ ลุศักราช ๑๑๓๓ (พ.ศ. 2314) ปีเถาะ พระเจ้าตากได้ยกกองทัพมาตีเมืองเขมรอิก ในครั้งนั้นได้ยกมาเปนสองทาง คือพระเจ้าตากได้จัดให้เจ้าพระยายมราช [คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช] เปนแม่ทัพใหญ่ คุมไพร่พลยกมาทางบก เดินทางเมืองเสียมราฐ พระตะบอง แลมาเมืองโพธิสัตว์นั้นทางหนึ่ง ส่วนพระเจ้าตากเองได้ทรงเปนจอมทัพยกมาทางน้ำ พร้อมสรรพไปด้วยเรือรบแลเครื่องสาตราวุธ [...] ยกมาทางทเล ครั้นถึงเมืองเปี่ยม ก็ตีเมืองเปี่ยมแตก สมเด็จพระโสร์ทศสู้ไม่ได้ ก็หนีออกจากเมืองเปี่ยม ไปพักอยู่ที่เมืองตึกเขมา (น้ำดำ)..."
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งขุนพิพิธวาที เป็นพระยาราชาเศรษฐี ว่าราชการเมืองบันทายมาศ หลังจากนั้นม่อ ซื่อหลินก็กลับมาตีเมืองคืนได้ครั้งหนึ่ง ก่อนถูกขุนพิพิธวาทีตีคืน[ 8] [ 9] แต่สองปีต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเกรงว่าขุนพิพิธวาทีอาจเป็นอันตรายจึงเรียกตัวกลับบางกอก[ 7] พร้อมญวนเข้ารีตจำนวนหนึ่ง[ 10] ม่อ ซื่อหลินจึงกลับมาครองห่าเตียนอีกครั้ง[ 8] [ 9] [ 21]
ช่วงเกิดการกบฏเต็ยเซิน (Tây Sơn , เอกสารไทยเรียก ญวนไกเซิน)[ 28] ห่าเตียนแสดงท่าทีสนับสนุนขุนนางตระกูลเหงียน ทว่า ค.ศ. 1771 ตระกูลเหงียนพ่ายแพ้แก่ฝ่ายกบฏ และถูกกบฏยึดเมืองซาดิ่ญได้เมื่อ ค.ศ. 1776 ม่อ ซื่อหลิน และโตน เทิ้ต ซวน (Tôn Thất Xuân , เอกสารไทยเรียก องเชียงซุน)[ 29] ปฏิเสธที่จะยอมจำนนต่อกลุ่มกบฏจึงลี้ภัยไปสยาม แต่ถูกสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจับกุมและประหารเสียใน ค.ศ. 1780[ 30] และหลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ ค.ศ. 1782 พระองค์เริ่มมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับเหงียน ฟุก อั๊ญ (Nguyễn Phúc Ánh , เอกสารไทยเรียก องเชียงสือ)[ 31] เพื่อประโยชน์ด้านการขยายอำนาจไปแถบปากแม่น้ำโขง[ 32] พระองค์มีพระราชกระแสรับสั่งให้พระยาทัศดา (Thát Xỉ Đa , ท้าต สี ดา ) ไปยึดห่าเตียนหรือพุทไธมาศคืนจากการยึดครองของพวกเต็ยเซิน เหงียน ฟุก อั๊ญได้ยึดเมืองคืนได้ระยะหนึ่งแต่สุดท้ายต้องละทิ้งเมืองเพราะถูกกบฏโจมตี[ 33] กระทั่ง ค.ศ. 1785 เหงียน ฟุก อั๊ญ พร้อมด้วยกองทัพสยาม นำโดยสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ (Chiêu Tăng , เจียว ตัง ) เดินทางไปยังเมืองบันทายมาศเตรียมรบกับกบฏเต็ยเซิน ในช่วงเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชส่งม่อ ซือเชิง (鄚子泩 ) หรือ หมัก ตื๋อ ซิญ (Mạc Tử Sinh ) บุตรชายม่อ ซื่อหลินกลับไปครองห่าเตียนแล้ว และส่งทัพไปช่วยสยามในการรบที่สักเกิ่ม-สว่ายมู้ต (Trận Rạch Gầm – Xoài Mút ) ทว่าสยามพ่ายแก่กบฏอย่างสิ้นรูป[ 34] เหงียน ฟุก อั๊ญ และม่อ ซือเชิง จึงหนีกลับกรุงสยาม
รายนามเจ้าผู้ครอง
ชื่อตัว (จีน/ญวน)
ราชทินนามเวียดนาม
ราชทินนามสยาม
ราชทินนามเขมร
ช่วงปี (ค.ศ.)
หมายเหตุ
ม่อ จิ่ว /หมัก กื๋ว 鄚玖
ห่าเตียนเจิ๊นต๋งบิญกื๋วหง็อกเหิ่ว (Hà Tiên trấn tổng binh Cửu Ngọc hầu, 河僊鎮總兵玖玉侯 )
ออกญา (ឧកញ៉ា )
1707–1735
ม่อ ซื่อหลิน /หมัก เทียน ตื๊อ 鄚天賜
ห่าเตียนเจิ๊นเคิมซายโดด๊กตงดึ๊กเหิ่ว (Hà Tiên trấn khâm sai đô đốc Tông Đức hầu, 河僊鎮欽差都督琮德侯 )
พระยาราชาเศรษฐีญวน
นักพระโสทัต[ 7] [ 35] (ព្រះសុទត្ដ )
1736–1771
บุตรม่อ จิ่ว
เฉิน เหลียน /เจิ่น เลียน 陳聯
พระยาราชาเศรษฐีจีน
1771–1773
สยามแต่งตั้ง
ม่อ ซื่อหลิน /หมัก เทียน ตื๊อ 鄚天賜
ห่าเตียนเจิ๊นเคิมซายโดด๊กตงดึ๊กเหิ่ว (Hà Tiên trấn khâm sai đô đốc Tông Đức hầu, 河僊鎮欽差都督琮德侯 ) (ก่อน ค.ศ. 1775) ดักเตี๊ยนกว๊กหลาวห่าเตียนเจิ๊นโดด๊กตงเกวิ่นกง (Đặc tiến quốc lão Hà Tiên trấn đô đốc Tông quận công, 特進國老河僊鎮都督琮郡公 ) (ใน ค.ศ. 1775)
พระยาราชาเศรษฐีญวน
นักพระโสทัต
1773–1777
ครั้งที่สอง
ว่าง (ค.ศ. 1777–1785)
ม่อ ซือเชิง/หมัก ตื๋อ ซิญ 鄚子泩
ห่าเตียนลืวถูทามเตื๊องลี้จั๊ญเหิ่ว (Hà Tiên lưu thủ tham tướng Lý Chánh hầu, 河僊留守參將理政侯 )
พระยาราชาเศรษฐี
1785–1788
บุตรม่อ ซื่อหลิน
ว่าง โง มา (Ngô Ma ) ปฏิบัติหน้าที่แทน (1788–1789) [ 36]
ม่อ กงปิ่ง/หมัก กง บิ๊ญ 鄚公柄
ล็องเซวียนลืวถูบิ๊ญจั๊ญเหิ่ว (Long Xuyên lưu thủ Bính Chánh hầu, 龍川留守柄正侯 )
1789–1792
หลานม่อ ซื่อหลิน
ว่าง เจิ๊น ฮัญ (Trần Hanh ) และเจิ๊น โต (Trần Tô ) ปฏิบัติหน้าที่แทน (1792–1800)[ 36]
ม่อ จือเทียน/หมัก ตื๋อ เทียม 鄚子添
ห่าเตียนจั๊ญเคิมซายลืวถูกายเกอเทียมหลกเหิ่ว (Hà Tiên chánh khâm sai lưu thủ cai cơ Thiêm Lộc hầu, 河僊正欽差留守該奇添祿侯 ) (ก่อน ค.ศ. 1805) ห่าเตียนเจิ๊นเคิมซายเจื๋องเกอเทียมหลกเหิ่ว (Hà Tiên trấn khâm sai chưởng cơ Thiêm Lộc hầu, 河僊鎮欽差掌奇添祿侯 ) (หลัง ค.ศ. 1805)
เจ้าพระยา ?[ 37]
1800–1809
บุตรม่อ ซื่อหลิน
โง อี เหงียม (Ngô Y Nghiễm ) และเล เตี๊ยน สาง (Lê Tiến Giảng ) เป็นรัฐบาล (1809–1816) [ 36]
ม่อ กงหยู/หมัก กง ซู 鄚公榆
ห่าเตียนเจิ๊นเหียปเจิ๊นซูถั่ญเหิ่ว (Hà Tiên trấn hiệp trấn Du Thành hầu, 河僊鎮叶鎮榆成侯 ) (ก่อน ค.ศ. 1818) ห่าเตียนเจิ๊นถูซูถั่ญเหิ่ว (Hà Tiên trấn thủ Du Thành hầu, 河僊鎮守榆成侯 ) (หลัง ค.ศ. 1818)
1816–1829
หลานม่อ ซื่อหลิน
ม่อ กงไฉ/หมัก กง ต่าย 鄚公材
ห่าเตียนถูกว๋านถู (Hà Tiên thủ quản thủ, 河僊守管守 )
1830–1832
หลานม่อ ซื่อหลิน
อ้างอิง
เชิงอรรถ
↑ 1.0 1.1 Wade , p. 102 harvnb error: no target: CITEREFWade (help )
↑ 李庆新. "鄚氏河仙政权("港口国")与18世纪中南半岛局势" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17 .
↑ 3.0 3.1 Cooke & Li 2004 , p. 43–46
↑ Nicholas Sellers, The Princes of Hà-Tiên (1682-1867): the Last of the Philosopher-Princes and the Prelude to the French Conquest of Indochina: a Study of the Independent Rule of the Mac Dynasty in the Principality of Hà-Tiên, and the Establishment of the Empire of Vietnam, Brussels, Thanh-long, 1983, p. 164.
↑ Dai & Yang 1991 , p. 303–304
↑ พิทยะ ศรีวัฒนสาร (31 พฤษภาคม 2555). "เมือง Kamkam ในจารึก Asemto อยู่ไหน?" . สยาม-โปรตุเกสศึกษา . สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563 .
↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา . "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ" . วชิรญาณ . สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563 .
↑ 8.0 8.1 8.2 พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี , หน้า 65
↑ 9.0 9.1 9.2 จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ . "พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี" . วชิรญาณ . สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563 .
↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (3 มิถุนายน 2560). " "ฮ่าเตียน" เมืองท่าชายฝั่งของเมืองบันทายมาศ" . ประวัติศาสตร์ของคนกลุ่มเล็ก ๆ . สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563 .
↑ 11.0 11.1 รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 9
↑ 12.0 12.1 12.2 "ภูมิบ้านภูมิเมือง : ฮาเตียน ภูมิเมืองพุทไธมาศของพระราชาเศรษฐี' " . แนวหน้า . 30 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563 .
↑ รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 65
↑ 14.0 14.1 รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 61
↑ รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 120
↑ 16.0 16.1 Choi , p. 23-24 harvnb error: no target: CITEREFChoi (help )
↑ รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 68
↑ Dai & Yang 1991 , p. 311
↑ 19.0 19.1 การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี , หน้า 175-177
↑ ปรามินทร์ เครือทอง (1 พฤศจิกายน 2562). "ตามติดปฏิบัติการ พระเจ้าตาก "ตามล่า" รัชทายาทกรุงศรีอยุธยา" . ศิลปวัฒนธรรม . สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563 .
↑ 21.0 21.1 Dai & Yang 1991 , p. 313–319
↑ ธนกฤต ก้องเวหา (11 ธันวาคม 2567). "พระเจ้าตาก ยึดฮาเตียน (พุทไธมาศ) "แบ่ง" เขมรกับอ๋องตระกูลเหงวียน" . ศิลปวัฒนธรรม . สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2568 .
↑ "จีนอคติต่อพระเจ้าตากรุนแรงในระยะแรก ทำไมยอมรับสถานะกษัตริย์ในภายหลัง" . ศิลปวัฒนธรรม . 30 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563 .
↑ 24.0 24.1 24.2 ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา , หน้า 136-137
↑ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี , หน้า 179-180
↑ รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 83
↑ รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 103
↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา . "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี" . วชิรญาณ . สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563 .
↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา . "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 เรื่องพงศาวดารญวน" . วชิรญาณ . สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563 .
↑ รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 107, 135
↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา . "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร" . วชิรญาณ . สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563 .
↑ รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ , หน้า 118
↑ Dai & Yang 1991 , p. 322–323
↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา . "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน" . วชิรญาณ . สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563 .
↑ "ប្រវត្តិសាស្ត្រប្រទេសកម្ពុជា-ជំពូកទី៣" (ภาษาเขมร).
↑ 36.0 36.1 36.2 Dai & Yang 1991 , p. 326–329
↑ Dai & Yang 1991 , p. 256
บรรณานุกรม
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ . พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี . กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552. 576 หน้า. ISBN 978-611-7146-02-2
นิธิ เอียวศรีวงศ์ . การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี . กรุงเทพฯ : มติชน, 2559. 632 หน้า. ISBN 978-974-323-056-1
เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา . กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563. 336 หน้า. ISBN 978-616-514-668-5
สุเจน กรรพฤทธิ์. รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ . กรุงเทพฯ : มติชน, 2562. 296 หน้า. ISBN 978-974-02-1682-7
Cooke, Nola; Li, Tana (2004), Water frontier: commerce and the Chinese in the Lower Mekong Region, 1750-1880 , Rowman & Littlefield, ISBN 978-0-7425-3083-6
Choi Byung Wook (2004). Southern Vietnam Under the Reign of Minh Mang (1820–1841): Central Policies and Local Response . Cornell Southeast Asia Program. ISBN 0-87727-138-0 .
Geoff Wade. Maritime Routes Between Indochina and Nusantara to the 18th Century .
Dai, Kelai; Yang, Baoyun (1991), Ling nan zhi guai deng shi liao san zhong (ภาษาจีน), Zhengzhou: Zhongzhou gu ji chu ban she, ISBN 7534802032