Share to:

 

ราชวงศ์ห่งบ่าง

รัฐ Xích Quỷ
赤鬼
(ตำนาน 2879–2524 ปีก่อน ค.ศ.)

รัฐ Văn Lang
文郎
(ตำนาน 2524–258 ปีก่อน ค.ศ.)

กลองสัมฤทธิ์ Đông SơnของVăn Lang
กลองสัมฤทธิ์ Đông Sơn
ที่ตั้งของVăn Lang
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงNgàn Hống (2879 – 2524 ปีก่อน ค.ศ.)[1]
Nghĩa Lĩnh (ศตวรรษที่ 29 ก่อน ค.ศ.)[1]
ฟ็องเจิว (2524 – 258 ปีก่อน ค.ศ.)[2][3]
ศาสนา
วิญญาณนิยม, ศาสนาพื้นเมือง
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ 
• 2879–2794 ปีก่อน ค.ศ.
Hùng Vương ที่ 1 (แรก)
• 408–258 ปีก่อน ค.ศ.
Hùng Vương ที่ 18 (สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณ, ยุคสัมฤทธิ์, ยุคเหล็ก
ถัดไป
Âu Lạc
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม
จีน

สมัยห่งบ่าง (เวียดนาม: thời kỳ Hồng Bàng)[4] หรือ ราชวงศ์ห่งบ่าง[5] เป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์เวียดนาม ที่ปกครองในช่วง 2,879–258 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์เวียดนามซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพทางการเมืองในช่วง 2,879 ก่อนคริสต์ศักราชของชนเผ่าหลายแห่งในภาคเหนือของบริเวณหุบเขาแม่น้ำแดง และได้ถูกปกครองโดยอาน เซือง เวือง ในปี 258 ก่อนคริสต์ศักราช[6]

พงศาวดารเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 กล่าวคือ ดั่ยเหวียตสือกี๊ตว่านทือ (大越史記全書, Đại Việt sử ký toàn thư) อ้างว่าช่วงเวลาของยุคราชวงศ์ห่งบ่างเริ่มต้นด้วยกิญ เซือง เวือง ในฐานะ กษัตริย์หุ่ง (𤤰雄, Hùng Vương) องค์แรก ชื่อตำแหน่งได้ถูกใช้ในการอภิปรายสมัยใหม่หลายครั้งเกี่ยวกับผู้ปกครองชาวเวียดนามโบราณในยุคนี้[7] กษัตริย์หุ่งเป็นตำแหน่งผู้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศ (ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อซิกกวี๋และวันลางในเวลาต่อมา) และอย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี ในยุคสมัยนี้ได้มีการควบคุมการใช้ที่ดินและทรัพยากรอย่างเป็นระบบขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ดังกล่าวใน 3 พันปีก่อนคริสต์ศักราชก็ยังถือว่าขาดแคลนอยู่มาก

ประวัติของยุคห่งบ่างเกิดขึ้นในช่วงของราชวงศ์ที่แบ่งเป็น 18 ราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่ง ในยุคกษัตริย์หุ่งได้รับความเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับอารยธรรมการปลูกนาข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในช่วงยุคสำริด ในช่วงปลายของยุคห่งบ่างได้เกิดสงครามจำนวนมาก[8]

ที่มาของชื่อ

ชื่อ ห่งบ่าง เป็นรูปออกเสียงแบบภาษาจีน-เวียดนามของอักษร "" ที่มอบให้กับราชวงศ์นี้ในประวัติศาสตร์เวียดนามยุคแรกที่เขียนเป็นภาษาจีน คาดว่ามีความหมายเป็นนก () ยักษ์ () ในตำนาน[9]

อย่างไรก็ตาม การกล่าวถึงวันลางในประวัติศาสตร์ครั้งแรกสุดนั้นเพิ่งได้รับการบันทึกไว้ในเอกสารภาษาจีนเท่านั้น ซึ่งมีอายุถึงราชวงศ์ถัง (คริสต์ศตวรรษที่ 7 - 9) เกี่ยวกับพื้นที่ฟ็องเจิว (Phú Thọ)[10][11][12][13] แต่กระนั้น บันทึกของจีนยังระบุด้วยว่ากลุ่มชนอื่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณอื่นก็ถูกเรียกเป็นวันลางเช่นกัน[14][15]

ประวัติ

ช่วงก่อนราชวงศ์

เวียดนามเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประวัติอันยาวนานและมีความวุ่นวาย[16] ชาวเวียดนามเป็นตัวแทนของการผสมผสานระหว่างเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ยังคงถูกคัดแยกโดยนักชาติพันธุ์ นักภาษาศาสตร์ และนักโบราณคดี[17] มีการสันนิษฐานว่า ภาษาเวียดนามได้ให้เบาะแสบางอย่างที่ทำให้เห็นส่วนผสมทางวัฒนธรรมที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของชาวเวียดนาม[17]

บริเวณที่เป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ได้มีการเข้ามาอยู่อาศัยตั้งรกรากของผู้คนตั้งแต่ยุคหินเก่า โดยมีหลักฐานจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบางแห่งในจังหวัดทัญฮว้า บริเวณชายฝั่งตอนกลางเหนือ ทำให้นักประวัติศาสตร์คาดการณ์ช่วงเวลาย้อนหลังไปประมาณครึ่งล้านปีมาแล้ว[17] ผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์เวียดนามได้อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องในถ้ำท้องถิ่นตั้งแต่ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งวัฒนธรรมและวัสดุที่ก้าวหน้าขึ้นได้รับการพัฒนา[18] ถ้ำบางแห่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าในฐานะเป็นบ้านของผู้คนหลายชั่วอายุคน[19] เมื่อเวียดนามเหนือเป็นที่ที่มีภูเขาป่าไม้และแม่น้ำ มีจำนวนเผ่าได้เติบโตขึ้นระหว่าง 5,000 ถึง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[20]

ก่อนที่จะเริ่มต้นของช่วงยุคห่งบ่าง ที่ดินได้ถูกตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยโดยหมู่บ้านอิสระ สังคมบุคก่อนราชวงศ์เวียดนามมีลักษณะเป็นอนาธิปไตยและไม่ได้มีกลไกการจัดการใด ๆ ทีการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ชนเผ่า นักโบราณคดีได้ค้นพบภาพมากมายบนผนังถ้ำซึ่งแสดงให้เห็นถึงชีวิตประจำวันของคนโบราณ

กษัตริย์หุ่งองค์แรก (2,879 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ภาพสลักของหลัก ล็อง เกวิน บริเวณถนนเทศกาลดอกไม้เหงียนเว้ ปี ค.ศ. 2009
ศาลเจ้าของหลัก ล็อง เกวิน ที่ฟู้เถาะ

ในช่วงไม่กี่พันปีปลายยุคหิน ประชากรที่อาศัยอยู่ได้ขยายตัวและแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของเวียดนาม คนโบราณส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้กับแม่น้ำแดง แม่น้ำก๋า และแม่น้ำหมา ชนเผ่าเวียดนามร่วมรวมตัวกันอย่างมั่นคงในช่วงเวลานี้[20] ดินแดนของพวกเขารวมเขตแดนของประเทศจีนในปัจจุบันถึงฝั่งแม่น้ำโห่งในดินแดนภาคเหนือของเวียดนาม ศตวรรษของการพัฒนาอารยธรรมและเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการเพาะปลูกข้าวในเขตชลประทาน เป็นปัจจัยที่ได้สนับสนุนให้นำไปสู่การพัฒนาชนเผ่าและการตั้งถิ่นฐานของชุมชน

แผนที่อาณาจักรเวียดนามโบราณ   (ดินแดนสีเหลือง) คือ อาณาจักรวันลาง (Văn Lang) ปกครองโดยราชวงศ์ห่งบ่าง   (ดินแดนสีเขียว) คือ อาณาจักรนามเกือง (Nam Cương) ปกครองโดยอาน เซือง เวือง ซึ่งได้รวมอาณาจักรวันลางเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ต่อมาได้กลายมาเป็นอาณาจักรเอิวหลัก (Âu Lạc)

เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญขึ้นเมื่อ หลก ตุก ขึ้นสู่อำนาจ เขารวบรวมชนเผ่าอื่น ๆ และประสบความสำเร็จในการจัดกลุ่มรัฐทั้งหมดที่เข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้อำนาจของเขา ภายในอาณาเขตของเขาเป็นประเทศเอกภาพในประมาณ 2,879 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลก ตุก ได้สถาปนาตั้งตนเป็นกษัตริย์นามว่า กิญ เซือง เวือง (เวียดนาม: Kinh Dương Vương) และตั้งชื่ออาณาจักรใหม่ว่า ซิกกวี๋ หลก ตุ๊กได้ใช้ระบบการปกครองแบบราชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์เวียดนาม เขาถือว่าเป็นบรรพบุรุษของ กษัตริย์หุ่ง ในฐานะบิดาผู้ก่อตั้งชาติเวียดนาม และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในวีรบุรุษของชาติ ด้วยการสอนผู้คนในอาณาจักรของเขาให้รู้จักเพาะปลูกข้าว

ราชวงศ์ห่งบ่างตอนต้น (ตั้งแต่ 2,879–1,913 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

หลก ตุก ได้ส่งผ่านอำนาจการปกครองไปให้กับบุตรชายขึ้นเป็นกษัตริย์หุ่ง หลังกิญ เซือง เวือง สิ้นพระชนม์ ได้มีผู้สืบทอดคือ หลัก ล็อง เกวิน (Lạc Long Quân) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่งที่สองขึ้นใน 2,793 ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่งสมัยที่สามได้เริ่มต้นขึ้นใน 2,524 ปีก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรเปลี่ยนชื่อเป็น วันลาง และเมืองหลวงได้รับการจัดตั้งขึ้นที่เมืองฟ็องเจิว (ปัจจุบันคือฟู้เถาะ) ที่บริเวณจุดเชื่อมต่อของแม่น้ำสามสายที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง โดยเริ่มจากเชิงภูเขา

หลักฐานที่ชาวเวียดนามรู้วิธีการคำนวณปฏิทินจันทรคติ โดยการแกะสลักลงบนหิน ย้อนกลับไปประมาณ 2,200-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยได้มีการค้นพบเส้นคู่ขนานถูกแกะสลักบนเครื่องมือหินเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการนับที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินจันทรคติ[18]

กระบวนการทอไหมได้เป็นที่รู้จักโดยชาวเวียดนามตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[21]

ราชวงศ์ห่งบ่างตอนกลาง (ตั้งแต่ 1,912–1,055 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ในช่วง 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ประชากรที่ตั้งถื่นฐานอาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลได้พัฒนาสังคมเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมที่มีความซับซ้อน[22]

ราชวงศ์ห่งบ่างตอนปลาย (ตั้งแต่ 1,054–258 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

การชลประทานของนาข้าวผ่านระบบที่ซับซ้อนของคลองและเขื่อนโดยเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์หุ่งผู้ปกครองดินแดนในขณะนั้นได้แตกออกเป็นราชวงศ์ทั้ง 18 ราชวงศ์ ได้เกิดสงครามกลางเมืองแย่งชิงอำนาจกันระยะหนึ่ง จนกระทั่งกษัตริย์หุ่งทั้งหมดได้ร่วมมือกัน นำกองทัพเข้ายึดครองบริเวณเหงะอานและห่าติ๋ญในปัจจุบัน[23] ชาวจามดั้งเดิมซึ่งเป็นชนชาติที่เป็นคู่แข่งของชาวเวียดนามได้ตั้งถิ่นฐานและครอบครองบริเวณจังหวัดกว๋างบิ่ญในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นอาณาจักรจามปาที่นับถือศาสนาฮินดู กษัตริย์หุ่งของชาวเวียดนามเห็นว่าเป็นภัยต่ออาณาจักรของตน นำไปสู่การต่อต้านและปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้[23] การรบส่วนใหญ่กองทัพของกษัตริย์หุ่งได้เป็นฝ่ายมีชัยต่อฝ่ายชาวจามดั้งเดิม ทำให้ชาวเวียดนามได้ดินแดนเพิ่มมากขึ้น

ยุคห่งบ่างได้สิ้นสุดลงในช่วงกลางของศตวรรษที่สามก่อนคริสต์ศักราช โดยหลังการถือกำเนิดของผู้นำทางทหารคนใหม่คือ ถุก ฟ้าน (Thục Phán) ซึ่งได้นำกองทัพยึดครองวันลาง กษัตริย์หุ่งองค์สุดท้ายถูกขับออกจากราชบัลลังก์

ช่วงสุดท้าย (258 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ถุก ฟ้าน (อาน เซือง เวือง) ผู้ปกครองของอาณาจักรที่อยู่ใกล้กัน เผ่าเอิวเหวียตได้โค่นล้มกษัตริย์หุ่งองค์สุดท้ายลงใน 258 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากยึดครองวันลาง ถุก ฟ้านได้รวมเผ่าหลักเหวียตเข้ากับเผ่าเอิวเหวียต และก่อตั้งอาณาจักรใหม่ที่ชื่อว่าเอิวหลัก ถุก ฟ้านสร้างเมืองหลวงและป้อมปราการของเขาขึ้น หรือเป็นที่รู้จักกันในป้อมปราการโก๋ลวา ที่บริเวณเขตดงอาน เมืองฮานอย[24]

รัฐบาล

การปกครอง

กษัตริย์หุ่งองค์แรกได้สถาปนารัฐเวียดนามเป็นครั้งแรกขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของความร่วมมือในการสร้างระบบจัดการน้ำ เนื่องจากแม่น้ำแดงจะเกิดปัญหาน้ำท่วมเสมอ จึงต้องมีผู้นำที่มีอำนาจเด็ดขาดในลักษณะที่มีอำนาจเป็นรวมศูนย์เพื่อวางแผนจัดการระบบน้ำ และเพื่อจุดประสงค์ในการต่อสู้กับศัตรูต่างชนเผ่า การสร้างรัฐเวียดนามครั้งแรกนี้เป็นรูปแบบแรกเริ่มของรัฐเอกราช มีการแบ่งลำดับชนชั้นทางสังคมโดยกษัตริย์หุ่งอยู่บนสุดและอันดับรองลงมาเป็นราชสำนักประกอบด้วยที่ปรึกษาหรือขุนนาง หลักเหิ่ว (lạc hầu)[25] อาณาจักรประกอบไปด้วยเขตปกครอง 15 เขต หรือที่เรียกว่า โบะ (bộ) (ที่แปลว่าเขตหรือแคว้น) แต่ละ โบะ จะถูกปกครองโดยตำแหน่งที่เรียกว่า หลักเตื๊อง (lạc tướng)[25] ตำแหน่งหลักเตื๊องส่วนมากเป็นของสมาชิกราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่ง ประกอบด้วยชุมชนเกษตรและหมู่บ้านอยู่บนพื้นฐานของระบบการปกครองฉันแม่กับลูกหรือ "มาตาธิปไตย" (Matriarchy system) ด้วยความสัมพันธ์ของตระกูลและปกครองโดย โบะจิ๊ญ (bộ chính) ที่มักจะเป็นหัวหน้าเผ่าผู้ชายที่อาวุโส

เทคโนโลยี

เครื่องมือสำริด

ภาพสลักบนกลองสำริด วัฒนธรรมดงเซิน

ประมาณ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช การพัฒนาการปลูกข้าวและหล่อโลหะผสมทองแดง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำหมาและแม่น้ำแดง นำไปสู่การพัฒนาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมดงเซินขึ้น หลักฐานที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมที่รู้จักกันคือ อาวุธ เครื่องมือ และกลองที่ทำจากสำริดของดงเซิน แสดงถึงอิทธิพลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของเทคโนโลยีการหล่อด้วยทองแดง มีการค้นพบเหมืองแร่ทองแดงโบราณจำนวนมากในภาคเหนือของเวียดนาม

ช่วงเวลา

ประวัติความเป็นมาของช่วงยุคห่งบ่างแบ่งตามการพิจารณาตามราชวงศ์ที่ปกครองของกษัตริย์หุ่งแต่ละองค์[26] การแบ่งช่วงเวลาของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ยังคงอยู่ในการวิจัยค้นคว้าที่ยังไม่เป็นสรุป[27] วันที่ทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมในยุคนี้ตามตำนานคำบอกเล่าไม่ได้รับการสนับสนุนจากวันที่แน่นอนใด ๆ ที่น่าเชื่อถือสำหรับช่วงประมาณสองพันปี[27]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Not in official histories, but in the unofficial Ngọc phả Hùng Vương "Hùng kings' Jade Genealogies". Phan Duy Kha (2012) "'Decoding' the Hung Kings' Jade Genealogies". Publisher: Bảo Tàng Lịch Sử Quốc Gia (Vietnamese National Museum of History)
  2. Ngô Sĩ Liên, Đại Việt sử ký toàn thư, "Records about the Hồng Bàng clan - Hung Kings" quote: "貉龍君之子也〈缺諱〉。都峯州〈今白鶴縣是也〉。" translation: "Lạc Long Quân's son (taboo name unknown) established his capital in Phong Châu, (now in Bạch Hạc prefecture)"
  3. Anh Thư Hà, Hò̂ng Đức Trà̂n (2000). A brief chronology of Vietnam's history p. 4 quote: "while the remaining sons followed their father to the sea in the South, except for the eldest who was assigned to succeed his father as the next King Hùng. King Hùng named his country Văn Lang with Phong Châu (Bạch Hạc district, Phú Thọ ..."
  4. Dror, p. 33 & 254 "Hồng Bàng period"
  5. Pelley, p. 151
  6. Pelley, p. 151
  7. Tucker, Oxford Encyclopedia of the Vietnam War
  8. Tăng Dực Đào, p. 7
  9. Thích Nhất Hạnh, Master Tang Hoi: First Zen Teacher in Vietnam and China – 2001 Page 1 "At that time the civilization of northern Vietnam was known as Van Lang (van means beautiful, and lang means kind and healing, like a good doctor). The ruling house of Van Lang was called Hong Bang, which means a kind of huge bird."
  10. Kiernan 2019, p. 53.
  11. Du You, Tongdian, Vol. 184 "峰州(今理嘉寧縣。)古文朗國,有文朗水。亦陸梁地。" translation: "Feng province (now Jianing prefecture) [was] the ancient Wenlang nation; there was the Wenlang river; also a wanderers' land."
  12. Taiping Yulan "Provinces, Districts, and Divisions 18", Section: Lingnan Circuit" 《方輿志》曰:峰州,承化郡。古文郎國,有文郎水。亦陸梁地。" Translation: "'Geographical Almanacs' said: Feng province, Shenghua district. It was the ancient Wenlang nation; there was the Wenlang river; also a wanderers' land...
  13. Yuanhe Maps and Records of Prefectures and Counties vol .38 "峯州承化下... 古夜(!)郎國之地按今新昌縣界有夜(!)郎溪" translation: "Feng province, lower Shenghua... Territory of the ancient Ye(!)lang nation. Next to the border of the current Xinchang prefecture, there is the Ye(!)lang brook." Note: not to be confused with the Yelang Kingdom in today Guizhou, China
  14. Taiping Yulan "Provinces, Districts, and Divisions 18", Section: Lingnan Circuit"《林邑記》曰:蒼梧以南有文郎野人,居無室宅,依樹止宿,食生肉,采香為業,與人交易,若上皇之人。'Records of Linyi' said: From Cangwu Commandery to the south there are the wild people of Wenlang. They don't dwell in houses, use large trees as their resting places, eat raw meat; their profession is fragrance-gathering and they trade with other peoples, like people during the Sovereigns' time.'
  15. Li Daoyuan, Commentary on the Water Classic Chapter 36 quote: "《林邑記》曰:渡比景至朱吾。朱吾縣浦,今之封界,朱吾以南,有文狼人,野居無室宅,依樹止宿,食生魚肉,採香為業,與人交市,若上皇之民矣。縣南有文狼究,下流逕通。" translation: "'Records of Linyi' said: Crossing Bijing to Zhouwu. Zhouwu prefecture's shores are the present borders. From Zhouwu to the south there were the Wenlang people. They dwell in the wilderness, not houses, use large trees as their resting places, eat raw meat and fish, their profession is fragrance-gathering and they trade with other peoples at the markets. Like how people lived during the time of the Sovereigns. To the south of the prefecture there is the Wenlang rapid; its lower reach is a narrow flow."
  16. Vietnam - History and Culture
  17. 17.0 17.1 17.2 "Mission Atlas Project - VIETNAM - Basic Facts" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 2017-06-13.
  18. 18.0 18.1 Ancient calendar unearthed.
  19. 6,000-year-old tombs unearthed in northeast Vietnam.
  20. 20.0 20.1 Lamb, p. 52
  21. According to the Book of Han: "In a year, they have two rice crops and eight silk crops".
  22. "Vietnam - History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ 2017-06-13.
  23. 23.0 23.1 Tracing the origin of ethnic and ancestor land during the Hùng King Age.
  24. Ray, Nick; และคณะ (2010), "Co Loa Citadel", Vietnam, Lonely Planet, p. 123, ISBN 9781742203898.
  25. 25.0 25.1 Khâm định Việt sử thông giám cương mục, Vol. 1
  26. Tăng Dực Đào, p. 7
  27. 27.0 27.1 Vuong Quan Hoang and Tran Tri Dung, p. 64

ข้อมูล

  • Bayard, D. T. 1977. Phu Wiang pottery and the prehistory of Northeastern Thailand. MQRSEA 3:57–102.
  • Dror, Olga (2007). Cult, Culture, and Authority: Princess Liẽu Hạnh in Vietnamese.
  • Heekeren, H. R. van. 1972. The Stone Age of Indonesia. The Hague: Nijhoff.
  • Hoang Xuan Chinh and Bui Van Tien 1980. The Dongson Culture and Cultural Centers in the Metal Age in Vietnam
  • Kelley, Liam C. (2016), "Inventing Traditions in Fifteenth-century Vietnam", ใน Mair, Victor H.; Kelley, Liam C. (บ.ก.), Imperial China and its southern neighbours, Institute of Southeast Asian Studies, pp. 161–193, ISBN 978-9-81462-055-0
  • Lamb, David. Vietnam, Now: A Reporter Returns. PublicAffairs, 2008.
  • Lévy, P. 1943. Recherches préhistoriques dans la région de Mlu Prei. PEFEO 30.
  • Mourer, R. 1977. Laang Spean and the prehistory of Cambodia. MQRSEA 3:29–56.
  • Ngô Văn Thạo (2005). Sổ tay báo cáo viên năm 2005. Hà Nội: Ban tư tưởng – văn hóa trung ương, Trung tâm thông tin công tác tư tưởng, 2005. 495 p. : col. ill.; 21 cm.
  • Peacock, B. A. V. 1959. A short description of Malayan prehistoric pottery. AP 3 (2): 121–156.
  • Pelley, Patricia M. Postcolonial Vietnam: New Histories of the National Past 2002.
  • Phan Huy Lê, Trần Quốc Vượng, Hà Văn Tấn, Lương Ninh (1991), Lịch sử Việt Nam, volume 1.
  • Sieveking, G. de G. 1954. Excavations at Gua Cha, Kelantan, 1954 (Part 1). FMJ I and II:75–138.
  • Solheim II, W. G.
    • 1959. Further notes on the Kalanay pottery complex in the Philippines. AP 3 (2): 157–166.
    • 1964. The Archaeology of Central Philippines: A Study Chiefly of the Iron Age and its Relationships. Manila: Monograph of the National Institute of Science and Technology No. 10.
    • 1968. The Batungan Cave sites, Masbate, Philippines, in Anthropology at the Eight Pacific Science Congress: 21–62, ed. W. G. Solheim II. Honolulu: Asian and Pacific Archaeology Series No. 2, Social Science Research Institute, University of Hawaii.
    • 1970a. Prehistoric archaeology in eastern Mainland Southeast Asia and the Philippines. AP 13:47–58.
    • 1970b. Northern Thailand, Southeast Asia, and world prehistory. AP 13:145–162.
  • Tăng Dực Đào (1994). On the struggle for democracy in Vietnam.
  • Tucker, Spencer C. Oxford Encyclopedia of the Vietnam War (hardback edition).
  • Vuong Quan Hoang and Tran Tri Dung. The Cultural Dimensions of the Vietnamese Private Entrepreneurship, The IUP J. Entrepreneurship Development, Vol. VI, No. 3&4, 2009.
  • Zinoman, Peter (2001). The Colonial Bastille: A History of Imprisonment in Vietnam, 1862–1940. University of California Press. ISBN 9780520224124.

Kiernan, Ben (2019). Việt Nam: a history from earliest time to the present. Oxford University Press. ISBN 9780190053796.

แหล่งข้อมูลอื่น

21°16′54″N 105°26′31″E / 21.28167°N 105.44194°E / 21.28167; 105.44194

Kembali kehalaman sebelumnya