Share to:

 

ราชอาณาจักรฮาวาย

ราชอาณาจักรฮาวาย

Aupuni Mōʻī o Hawaiʻi
ค.ศ. 1795–ค.ศ. 1893
ตราแผ่นดินของฮาวาย
ตราแผ่นดิน
ราชอาณาจักรฮาวาย
ราชอาณาจักรฮาวาย
เมืองหลวงวาอิกิกิ (1795–1796)
ฮิโล (1796–1803)
โฮโนลูลู (1803–1812)
คาอิลูอา (1812–1820)
ลาฮาอินา (1820–1845)
โฮโนลูลู (1845–1893)
ภาษาทั่วไปภาษาฮาวาย ภาษาอังกฤษ
ศาสนา
ความเชื่อพื้นเมือง คริสต์
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(จนกระทั่ง ค.ศ. 1840)
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(ตั้งแต่ ค.ศ. 1840)
พระมหากษัตริย์ 
• 1795–1819
พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 (พระองค์แรก)
• 1891–1893
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี (พระองค์สุดท้าย)
คูฮินา นูอิ 
• ค.ศ. 1819–1832
คาอาฮูมานู (คนแรก)
• ค.ศ. 1863–1864
เคคูอานาโออา (คนสุดท้าย)
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ
สภาขุนนาง
สภาผู้แทนราษฎร
ประวัติศาสตร์ 
• เริ่มต้น
พฤษภาคม ค.ศ. 1795
• การรวมกัน
พฤษภาคม ค.ศ. 1810
8 ตุลาคม ค.ศ. 1840
25 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1843
17 มกราคม ค.ศ. 1893
• ล่มสลาย
24 มกราคม ค.ศ. 1895
ประชากร
• ค.ศ. 1800
250,000
• ค.ศ. 1832
130,313
• ค.ศ. 1890
89,990
สกุลเงินดอลลาร์ฮาวาย
ดอลลาร์สหรัฐ
ก่อนหน้า
ถัดไป
ฮาวายยุคโบราณ
การปกครองฮาวายชั่วคราวโดยสหราชอาณาจักร
การปกครองฮาวายชั่วคราวโดยสหราชอาณาจักร
รัฐบาลเฉพาะกาลของฮาวาย

ราชอาณาจักรฮาวาย (อังกฤษ: Kingdom of Hawaii) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะฮาวาย ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1795 และล่มสลายไปประมาณปี ค.ศ. 1893 - 1894

ประวัติ

ราชอาณาจักรฮาวายก่อตั้งขึ้นโดย พระเจ้าคาเมฮาเมฮามหาราช หลังจากที่พระองค์ทรงชนะสงครามที่ยาวนานถึง 15 ปี พระองค์ได้ปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ก่อตั้งอาณาจักรภายใต้การช่วยเหลือของและการสนับสนุนโดยจอห์น ยังและไอแซก เดวิส[1] แม้ว่าพระองค์จะทรงประสบความสำเร็จในการทำสงคราม แต่พระองค์ก็ไม่สามารถเอาชนะเกาะคาอูไอได้ เนื่องจากกองทัพของพระองค์ประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งพายุ และภัยพิบัติต่าง ๆ แต่ในที่สุดชาวเกาะคาอูไอได้ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อพระองค์ ทำให้ฮาวายถูกรวบรวมได้สำเร็จ หมู่เกาะฮาวายจึงเปลี่ยนผ่านจากยุคโบราณมาเป็นยุคที่เริ่มมีการจัดระบบระเบียบในสังคม

ราชวงศ์คาเมฮาเมฮา

ช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1810 ถึง ค.ศ. 1893 ราชอาณาจักรฮาวายปกครองโดยราชวงศ์ 2 ราชวงศ์ ราชวงศ์คาเมฮาเมฮา และ ราชวงศ์คาลาคาอัว หลังจากพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 สวรรคต พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชโอรสก็ทรงปกครองฮาวายต่อมาตามลำดับ ช่วงเวลานี้สมเด็จพระราชินีลิโฮลิโฮ พระอัครมเหสีในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ และมีคูฮินา นูอิทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลคล้ายกับนายกรัฐมนตรี

ราชวงศ์คาลาคาอัว

พระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวาย ทรงไม่มีรัชทายาท รัฐสภาจึงต้องเลือกระหว่างสมเด็จพระราชินีเอ็มมา นาเอ รูก พระราชินีในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 4 กับเดวิด คาลาคาอัว ในระหว่างการตัดสินนั้นเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นมากมาย จนในที่สุดเดวิด คาลาคาอัวก็ได้ครองราชย์บัลลังก์ฮาวาย ทรงพระนามว่า "พระเจ้าคาลาคาอัวที่ 1 แห่งฮาวาย"

เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์มั่นคงพระองค์จึงต้องประกาศรัชทายาท พระองค์จึงแต่งตั้งให้เจ้าหญิงลีลีโอกาลานีพระขนิษฐาของพระองค์ให้เป็นรัชทายาทสืบบัลลังก์

การล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย

หลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย นักธุรกิจชาวยุโรปและชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่พอใจการปกครองของพระองค์ เนื่องจากพวกเขาต้องการผนวกฮาวายเป็นส่วนหนึ่งกับสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะได้กอบโกยผลประโยชน์จากการค้าน้ำตาลในฮาวาย[2][3][4][5]

พวกเขาเริ่มกระบวนการการผนวกฮาวาย โดยเริ่มจากการจัดตั้ง "คณะกรรมาธิการความปลอดภัย" ขึ้น เพื่อสู้กับพระราชินี จนในที่สุดสหรัฐก็ส่งนาวิกโยธินและกองทัพเรือมาเพื่อยึดฮาวาย ทำให้พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ฮาวายไม่มีทางต่อต้าน[6]

การปฏิวัติฮาวาย

17 กรกฎาคม ค.ศ. 1893 แซนฟอร์ด บี ดอลและคนของเขาได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลฮาวายขึ้น เพื่อปกครองฮาวายจนกว่าจะถูกผนวกเข้ากับสหรัฐอเมริกา พวกเขาจับกุมพระราชินีและพระราชวงศ์ และสั่งจำคุก จากนั้นก็ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐฮาวาย

การผนวกฮาวายรวมเข้ากับสหรัฐอเมริกา

ในปี ค.ศ. 1898 ฮาวายก็ได้รับการอนุมัติว่าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการในสมัยประธานาธิบดีวิลเลียม แมกคินลีย์ นับเป็นการสิ้นสุดอย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรฮาวาย[7]

อ้างอิง

  1. Lawrence, Mary S. (1912). Old Time Hawiians and Their Works. Gin and Company. p. 127. ISBN 978-1-146-32462-5.
  2. Kinzer, Stephen. (2006). Overthrow: America's Century of Regime Change from Hawaii to Iraq.
  3. Stevens, Sylvester K. (1968) American Expansion in Hawaii, 1842–1898. New York: Russell & Russell. (p. 228)
  4. Dougherty, Michael. (1992). To Steal a Kingdom: Probing Hawaiian History. (p. 167-168)
  5. La Croix, Sumner and Christopher Grandy. (March 1997). "The Political Instability of Reciprocal Trade and the Overthrow of the Hawaiian Kingdom" in The Journal of Economic History 57:161–189.
  6. Russ, William Adam (1992) [1959]. The Hawaiian Revolution (1893–94). Susquehanna University Press. ISBN 978-0-945636-43-4.
  7. Overthrow: America's Century of Regime Change From Hawaii to Iraq by Stephen Kinzer, 2006
Kembali kehalaman sebelumnya