ราชาธิราช
ราชาธิราช หรือชื่อในภาษาพม่า ยาซาดะริต อเยดอว์บอง (พม่า: ရာဇာဓိရာဇ် အရေးတော်ပုံ) เป็นชื่อของบันทึกเหตุการณ์พม่า ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญตั้งแต่ พ.ศ. 1830 — พ.ศ. 1964 รายละเอียดภายในบันทึกประกอบด้วยเรื่องราวของความขัดแย้งภายในราชสำนัก การกบฏ เรื่องราวทางการทูต การสงคราม เป็นต้น เนื้อหาประมาณกึ่งหนึ่งของเรื่องอุทิศพื้นที่ให้กับรัชกาลของพระเจ้าราชาธิราช โดยลงลึกในรายละเอียดของสงครามสี่สิบปีระหว่างกรุงหงสาวดีของมอญกับกรุงอังวะของพม่า ภายใต้การนำของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องและพระมหาอุปราชมังรายกะยอชวา[1] ต้นฉบับของเรื่องราชาธิราชฉบับภาษาพม่ามาจากพงศาวดารภาษามอญเรื่อง "พงศาวดารกรุงหงสาวดี" ("Hanthawaddy Chronicle") และได้รับการแปลเป็นภาษาพม่าโดยพญาทะละ เสนาบดีและกวีชาวมอญซึ่งรับราชการในอาณาจักรพม่าสมัยราชวงศ์ตองอู นับได้ว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับชาวมอญในดินแดนพม่าตอนล่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หลงเหลืออยู่[2] และอาจเป็นพงศาวดารมอญเพียงฉบับเดียวที่เหลือรอดจากการเผาทำลายเมืองพะโค (หงสาวดี) โดยกบฏชาวมอญภายใต้การนำของอดีตขุนนางในอาณาจักรหงสาวดีในปี พ.ศ. 2107[3] สำเนาใบลานของเรื่องราชาธิราชฉบับพญาทะละปัจจุบันเหลือรอดมาเพียง 4 ชุด สันนิษฐานว่าทำขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) นอกจากนี้ยังมีฉบับแปลฉบับอื่นๆ อยู่อีก รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ตามการวิเคราะห์โดยนายปันหละเมื่อปี พ.ศ. 2511[2] นายปันหละได้แปลราชาธิราชฉบับหนึ่งกลับเป็นภาษามอญเมื่อปี พ.ศ. 2501 และเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับเป็นภาษาพม่า (นับเป็นราชาธิราชฉบับที่ 10) โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากราชาธิราชฉบับพญาทละ ฉบับ "ปากลัด"[4] และจากมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว รวมทั้งอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยสมัยใหม่[5] ราชาธิราชฉบับภาษาไทยพงศาวดารเรื่องราชาธิราชได้มีการแปลจากฉบับภาษามอญเป็นภาษาไทยครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งฉบับแปลครั้งแรกนั้นได้สูญหายไปเมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในปี พ.ศ. 2310 ต่อมาในปี พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระราชดำริว่า หนังสือเรื่องราชาธิราชเป็นหนังสือดี เคยได้รับการยกย่องมาแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแปลและเรียบเรียงใหม่ โดยมีเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองกำกับการแปล ร่วมกับพระยาอินทรอัครราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. 2423 เนื้อหาของราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีความแตกต่างจากราชาธิราชฉบับภาษาพม่าของพญาทะละอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ คือ
ราชาธิราชภาคภาษาไทยฉบับอื่นๆ
อ้างอิง
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ ราชาธิราช
|