ละเอียด พิบูลสงคราม
พันโทหญิง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (25 ตุลาคม พ.ศ. 2446 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หรือ ล. พิบูลสงคราม สกุลเดิม พันธุ์กระวี เป็นภริยาจอมพล แปลก พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ครอบครัวละเอียดเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ที่ตำบลดอนพุทรา เมืองนครไชยศรี (จังหวัดนครปฐม)[1] ละเอียดเป็นบุตรคนหัวปีในบุตรทั้งสิ้น 9 คนของเจริญ พันธุ์กระวี และแช่ม พันธุ์กระวี[1] ปู่ของละเอียด คือ ขุนสุนทรลิขิต (กะวี) และย่าของละเอียดชื่อ กอง[1] ปู่ชวดของละเอียด คือ จ่าอัศวราช (ศรีจันทร์)[1] ครอบครัวของละเอียดมีฐานะปานกลาง[2] การศึกษาละเอียดเริ่มเรียนเขียนอ่านโดยบิดาสอนให้เองที่บ้าน ภายหลังจึงส่งเข้ากรุงเทพฯ มาเรียนประจำที่โรงเรียนสตรีวิทยา[3] แล้วบิดาพาไปอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนตัวอย่างพิทยาคม (ปัจจุบันคือโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม) ซึ่งเป็นโรงเรียนชาย เพราะในเวลานั้นยังไม่มีโรงเรียนหญิง ต่อมาเมื่อคณะมิชชันนารีอเมริกันตั้งโรงเรียนหญิงคือ โรงเรียนผดุงนารี (ปัจจุบันคือโรงเรียนผดุงราษฎร์) แล้ว บิดาจึงให้ไปศึกษาที่โรงเรียนผดุงนารี[4] การสมรสขณะอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก ละเอียดพบจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ซึ่งเวลานั้นคือร้อยตรี แปลก ขีตตะสังคะ กำลังฝึกทหารอยู่ เมื่อพบกันบ่อยเข้า จึงเขียนจดหมายหากัน จนรักกัน และหมั้นกันในที่สุด[5] ก่อนจะสมรสกันใน พ.ศ. 2459 ขณะนั้น ละเอียดอายุ 14 ปี[6] เมื่อสมรสแล้วได้ 3 เดือน ร้อยตรี แปลก ต้องย้ายเข้ากรุงเทพฯ ละเอียดก็ติดตามไปด้วย[6] ภายหลังเมื่อสามีย้ายไปที่อื่น ๆ ละเอียดก็ได้ติดตามไปทุกแห่ง จนกระทั่งสามีไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศสระหว่าง พ.ศ. 2467–2470 ละเอียดจึงไปประกอบอาชีพครูที่โรงเรียนผดุงนารี[7] ละเอียดและสามีมีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน คือ[8]
งานการเมืองละเอียดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนครนายก สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[12] ในระหว่างที่จอมพล แปลก สามีของเธอ เป็นนายกรัฐมนตรี ละเอียดได้ดำรงตำแหน่งประธานสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง[13] และมีบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีในประเทศไทย โดยใน พ.ศ. 2497 ละเอียดได้เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดให้สตรีรับราชการได้ นำมาสู่การออกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2497 ซึ่งเปิดให้สตรีเป็นข้าราชการตุลาการได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย แต่ในทางปฏิบัติ กระทรวงยุติธรรมเพิ่งยอมให้สตรีเป็นข้าราชการตุลาการได้ใน พ.ศ. 2502 และยอมให้เพียงบางตำแหน่งเท่านั้น[14] ละเอียดยังบุกเบิกงานด้านสังคมสงเคราะห์และงานพัฒนากิจการสตรีในประเทศไทย โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสภาสตรีแห่งชาติ[15] และริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลสงเคราะห์หญิงมีครรภ์และบุตร (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลราชวิถี) ละเอียดระบุว่า ในคราวที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารต่อรัฐบาลของจอมพล แปลก สามีของเธอ เมื่อ พ.ศ. 2500 นั้น เธอกำลังร่วมการประชุมของสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อประชุมเสร็จแล้ว ได้ข่าวว่า สามีถูกรัฐประหารและกำลังหลบหนีออกจากประเทศไทยไปประเทศกัมพูชา ต่อมาได้ข่าวอีกว่า พระมหากษัตริย์กัมพูชาทรงต้อนรับสามีของเธอเป็นอย่างดียิ่ง เธอจึงรีบเดินทางไปพบสามีที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และจากนั้นก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับสามีที่ตำหนักของเจ้าฟ้าสีหนุซึ่งพระมหากษัตริย์กัมพูชาพระราชทานให้[16] ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 เธอและสามีจึงย้ายไปพำนักในประเทศญี่ปุ่น[17] เมื่อจอมพล แปลก อุปสมบทที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 24 วันใน พ.ศ. 2503 ละเอียดก็ตามไปปรนนิบัติด้วย[18] ภายหลัง จอมพล แปลก เสียชีวิตด้วยหัวใจวายที่ประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2506 ละเอียดก็ได้อยู่ด้วยจนวินาทีสุดท้าย[19] และได้เชิญอัฐิของสามีกลับประเทศไทยใน พ.ศ. 2507 จากนั้นละเอียดก็พำนักอยู่ในประเทศไทยจนวาระสุดท้าย[19] การเสียชีวิตละเอียดเสียชีวิตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว อายุรวม 80 ปี[20] เสียชีวิตที่โรงพยาบาลพร้อมมิตร กรุงเทพมหานคร เวลา 13:31 นาฬิกา[21] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานโกศแปดเหลี่ยมและฉัตรเบญจาตั้งประกอบศพ[21] และเมื่อวันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานคร[22] เกียรติยศเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
ยศทหารอ้างอิงเชิงอรรถ
บรรณานุกรม
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ละเอียด พิบูลสงคราม
|