ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย เป็นการจัดเรียงรายพระนามและนามของบุคคลในสายลำดับการสืบราชสมบัติแห่งราชอาณาจักรไทย การสืบราชสมบัติบัญญัติโดยกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 และภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองทุกฉบับ
ก่อนหน้านั้น ในสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น ใช้ระบบการสืบราชสันตติวงศ์ที่เรียกว่าอเนกชนนิกรสโมสรสมมติ คือการใช้เสียงของที่ประชุมขุนนางและเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นเอกฉันท์ในการคัดเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ที่มีความเหมาะสมทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ ก่อนจะถูกยกเลิกไปในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2429 และเปลี่ยนมาให้พระมหากษัตริย์ทรงสมมติพระรัชทายาทขึ้น เป็นตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[1] และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 ตำแหน่งพระรัชทายาทได้รับการรับรองโดยกฎมณเฑียรบาลข้างต้นที่ทรงตราขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การมีสิทธิ
สิทธิสืบราชสันตติวงศ์นั้นเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ซึ่งจัดลำดับราชสันตติวงศ์ไว้ตามสิทธิของพระราชโอรสหัวปี สถานะของพระราชชนนี และเน้นความเป็นบุรุษเพศเท่านั้น
บุคคลจะอยู่ในลำดับราชสันตติวงศ์นี้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ทุกประการ
- ได้รับการยอมรับจากประชาชนชาวไทย และพระบรมวงศานุวงศ์ (มาตรา 10)
- ไม่มีลักษณะต้องห้ามต่อไปนี้ (มาตรา 11) ทั้งนี้ เจ้านายที่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแม้เพียง 1 ประการ พระราชโอรสสายตรงของเจ้านายพระองค์ดังกล่าวก็จะถูกถอดออกจากลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ทั้งหมดด้วย (มาตรา 12)
- มิใช่ราชนารี (มาตรา 13; อย่างไรก็ตาม บทบัญญัตินี้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งระบุไว้ว่า ในกรณีไม่มีพระราชโอรส รัฐสภาสามารถให้ความเห็นชอบให้พระราชธิดาสืบราชสันตติวงศ์ได้)[3]
ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์
ในกฎมนเทียรบาล ระบุถึงผู้ที่มีสิทธิในพระราชบัลลังก์ โดยมาตรา 5 ระบุว่า พระมหากษัตริย์มีสิทธิขาดในการสถาปนาพระรัชทายาท (ในประเทศไทยหมายถึงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในกรณีนี้หมายถึงฉบับปัจจุบัน คือฉบับพุทธศักราช 2560) มีระบุไว้ในมาตรา 21 ทั้ง 2 กรณี ดังนี้
- วรรคหนึ่ง หากพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาพระรัชทายาทไว้แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งประธานรัฐสภา เพื่อเรียกประชุมรัฐสภาให้รับทราบการสถาปนาพระรัชทายาทข้างต้น ก่อนกราบบังคับทูลเชิญพระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์ เมื่อพระรัชทายาททรงตอบรับแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
- วรรค 2 หากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงสถาปนาพระรัชทายาทไว้ ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ที่อยู่ในลำดับที่ 1 แห่งลำดับการสืบสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล (ยกเว้นผู้ที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11) ซึ่งเรียกว่า "ผู้สืบราชสันตติวงศ์" ผ่านคณะรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ หากได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภากราบบังคมทูลเชิญพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ดังกล่าวขึ้นทรงราชย์ เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ดังกล่าวทรงตอบรับแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ[4]
โดยเกณฑ์ในการจัดลำดับการสืบราชสันตติวงศ์มีระบุไว้ในมาตรา 9 ของกฎมณเฑียรบาล แบ่งออกเป็น 13 ข้อ[5] โดยสรุปดังนี้
- สมเด็จหน่อพุทธเจ้า คือ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระอัครมเหสี
- พระราชโอรสของสมเด็จหน่อพุทธเจ้า เริ่มจากพระองค์ใหญ่ เรียงตามลำดับพระชนมายุจากมากไปน้อย
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระอัครมเหสี
- พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในข้อ 3 ตามเกณฑ์ในข้อ 2
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ถัดไปตามลำดับพระชนมายุจากมากไปน้อย หรือพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3 และ 4
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองถัดลงไปตามลำดับชั้นพระอิสริยยศของพระมารดาจากมากไปน้อย หรือพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3 และ 4
- พระเจ้าลูกยาเธอตามลำดับพระชนมายุ หรือพระโอรสของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3 และ 4
- สมเด็จพระอนุชาร่วมพระราชชนนีพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมาจากพระมหากษัตริย์
- พระโอรสของสมเด็จพระอนุชาในข้อ 8 ตามเกณฑ์ในข้อ 2
- สมเด็จพระอนุชาร่วมพระชนนีพระองค์ถัดมา หรือพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3 และ 4
- สมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้น ๆ ตามเกณฑ์ในข้อ 2, 3, 4 และ 6
- พระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระโอรสของพระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ ตามเกณฑ์ในข้อ 7
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ หรือพระโอรสและเชื้อสายของพระองค์ ตามลำดับความสนิทจากมากไปน้อย ตามเกณฑ์ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 12
เชื้อสายที่ยังมีชีวิตอยู่และไม่ได้อยู่ในสายลำดับการสืบราชสมบัติหรือสิ้นพระชนม์ไปแล้วจะเขียนไว้เป็นตัวเอียงเพราะถือได้ว่าถูกข้ามลำดับไปแล้ว
หมายเหตุและแหล่งที่มา
เครื่องหมาย |
แหล่งที่มาของรายการหรือหมายเหตุเกี่ยวกับข้อยกเว้นการสืบราชสันตติวงศ์
|
ม |
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
|
ก |
1. ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว หากมิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ ตาม"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 21
2. การเสนอพระนามพระราชธิดาต่อราชบัลลังก์ได้มีการระบุไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 แล้ว ดังนั้นจึงนับพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นต้นมา ในการสืบราชสันตติวงศ์ ตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวด้วย
|
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น