Share to:

 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
เจ้าฟ้าชั้นเอก
ประสูติ8 มกราคม พ.ศ. 2530 (37 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลมหิดล
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสุจาริณี วิวัชรวงศ์
ศาสนาพุทธเถรวาท

พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (ประสูติ 8 มกราคม พ.ศ. 2530) เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (นามเดิม: หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา)

พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาขี่ม้า นักออกแบบเสื้อ อาจารย์หัวหน้าแผนกโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า และอดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ อดีตนักแสดง[1] เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล อัฐศก จ.ศ. 1348 ตรงกับวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 เมื่อแรกประสูติมีพระยศที่ “หม่อมเจ้า” พระนามว่า หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร มหิดล มีพระโสทรเชษฐาสี่องค์ ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์, วัชเรศร วิวัชรวงศ์, จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ และวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ และพระองค์มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาต่างพระมารดาสองพระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

ในปี พ.ศ. 2539 หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) ทรงหย่ากับหม่อมสุจาริณี หม่อมสุจาริณีพร้อมพระโอรสทั้งสี่องค์ ได้ย้ายไปพำนักยังต่างประเทศ ส่วนหม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดา อยู่ในการดูแลของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[2] ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า หม่อมเจ้าจักรกฤษณ์ยาภา มหิดล[3] ขณะมีพระชันษา 10 ปี ประทับอยู่กับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ราวสองปี[4] ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระนามใหม่ว่า หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548[5]

พระองค์สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนจิตรลดา[6] ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.93[7][8] และทรงได้รับรางวัลนิสิตดีเด่นประจำปีการศึกษา 2551 ด้วยมีผลการการเรียนอันน่าพึงใจ[9] หลังจากนี้พระองค์ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ วิทยาลัยสมาคมการออกแบบเสื้อผ้าปารีส (École de la chambre syndicale de la couture parisienne)[10] ประเทศฝรั่งเศส[11][12]

เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

ชีวิตส่วนพระองค์

พระองค์เรียกแทนพระองค์เองว่า "ท่านหญิง" ด้วยมีพระยศเดิมเป็นหม่อมเจ้ามาก่อน พระองค์มีพระสหายน้อยคน ทรงประทานสัมภาษณ์ว่า "...ท่านหญิงมีเพื่อนน้อย แต่ทุกคนดีมีคุณภาพ"[13] ระหว่างที่ทรงศึกษา ณ โรงเรียนจิตรลดา พระสหายจะเรียกพระองค์ว่า "ตึก" เพราะทรงสวมรองเท้าส้นตึกซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น[14]

พระองค์ได้รับการจัดอยู่ในลำดับที่ 16 โดยนิตยสารฟอบส์ในเยาวราชนิกุลที่ทรงได้รับความนิยมมากสุดในโลก 20 อันดับ[15] ในปี พ.ศ. 2556 เว็บไซต์ askmen ได้จัดอันดับพระองค์ว่าเป็นเจ้าหญิงที่โดดเด่นที่สุด อันดับที่ 7[16] และพระองค์ได้รับรางวัล "แฟชั่นไอคอน" จากนิตยสาร นูเมโร ไทยแลนด์ ในปีเดียวกัน[17] และเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นิตยสาร Garzia ของอังกฤษได้จัดอันดับให้พระองค์เป็นสมาชิกราชวงศ์ที่มีสไตล์ที่สุดจากทั่วโลก [18][19]

วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระองค์หญิงได้ทรงโพสต์ข้อความผ่านบัญชีเฟซบุ๊กส่วนพระองค์ว่าทรงคบหากับชายชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว ด้วยทรงต้องการสยบข่าวลือที่ว่าพระองค์เสกสมรสแล้ว[20][21]

ความสนพระทัย

ด้านกีฬา

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
เหรียญรางวัล
แบดมินตันหญิง
ตัวแทนของ  ไทย
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ มะนิลา 2005 ทีมหญิง
ขี่ม้า
ตัวแทนของ  ไทย
ซีเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2017 ทีม

พระองค์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันในการแข่งขันกีฬาแบดมินตันซีเกมส์ 2005 ประเภททีมหญิง ที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้รับรางวัลเหรียญทอง[22] และอีกหลายรายการ[23][24]

นอกจากกีฬาแบดมินตัน พระองค์ยังสนพระทัยกีฬาขี่ม้าตั้งแต่พระชันษา 9 ปี ด้วยทรงขี่ม้าตามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ต่อมาพระองค์ได้กลับมาสนพระทัยจนเป็นนักกีฬาขี่ม้าดังกล่าว ซึ่งชนะเลิศในรายการไทยแลนด์แชมเปียนชิพคิงส์คัพ 2012 และทรงตั้งพระทัยที่จะคัดเลือกเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยในซีเกมส์ 2013 ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทรงลงแข่งขันขี่ม้าประเภทศิลปะบังคับม้าประเภททีม[25] วันที่ 14 ธันวาคม พระองค์ลงแข่งรอบชิงชนะเลิศทรงทำคะแนนรวม 53.810 คะแนน จบอันดับที่ 10 ในการแข่งขัน ต่อมาทรงลงแข่งขันในซีเกมส์ 2017 ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ทรงลงแข่งขันขี่ม้าประเภทศิลปะบังคับม้าประเภททีม[26] วันที่ 23 สิงหาคม พระองค์ลงแข่งขันศิลปะบังคับม้าประเภทบุคคล[27]

ทรงเข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014[28][29] โดยเข้าแข่งขันกีฬาศิลปะการบังคับม้าประเภททีม ลงแข่งขันเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557 ร่วมกับ เฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์, รวิสรา เวชากร และภคินี พันธาภา ส่วนพระองค์ได้คะแนน ร้อยละ 58.079 รวมคะแนนเฉลี่ยทีมไทยอยู่อันดับที่ 7 ด้วยคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 62.711 และในอีกเก้าปีต่อมาในเอเชียนเกมส์ 2022 ทรงลงแข่งขันในชนิดกีฬาและประเภทเดิม[30]

ด้านศิลปกรรม

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้รับเชิญจากห้องเสื้อปีแยร์ บาลแม็ง ให้จัดแสดงผลงานการออกแบบเสื้อผ้าจำนวน 39 ชุด ในงานสัปดาห์แฟชั่นปารีส (Paris Fashion Week: Spring/Summer 2008) ที่โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย กรุงปารีส เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550[31] โดยเสื้อผ้าที่จัดแสดงทรงผสมผสานระหว่างเครื่องแต่งกายแบบชาวตะวันตก กับรูปแบบผ้านุ่งไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ตัดเย็บโดยช่างจากวิทยาลัยในวังหญิง[32]

ผ้ามัดหมี่ลายของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เมื่อ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่บ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีความตั้งใจที่จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงได้ทรงนำประสบการณ์การทำงาน การศึกษา เดินทางไปชมผ้าไทย และงานหัตถกรรมพื้นบ้านตามภาคต่าง ๆ ซึ่งทำให้ทรงทอดพระเนตรเห็นผลงานที่สามารถนำมาพัฒนาให้ร่วมสมัย และเป็นสากลได้ จึงได้ทรงออกแบบลายผ้ามัดหมี่ โดยออกแบบลายให้มีความหมายถึงการส่งมอบความรัก ความสุข ให้ชาวไทยทุกคน โดยแบ่งออกเป็น ลาย S ที่ท้องผ้า ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า ลายต้นสนที่เชิงผ้า และลายหางนกยูงที่เชิงผ้า

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 67 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม รอบตัดสิน ระดับประเทศ ประจาปี 2567 โดยได้พระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดประกวดแข่งขันผ้าลายสิริวชิราภรณ์ และงานหัตถกรรม อันเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสืบสานผ้าไทย ทั้งนี้ ผ้าลายสิริวชิราภรณ์ เป็นผ้าลายที่ พระราชทานให้แก่กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บ้านคาปุน ตำบลคำน้าแซบ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเชิญไปมอบแก่ศิลปินช่างทอผ้าและหัตถกรรมไทยทั่วประเทศ โดยเป็นลายผ้าที่ทรงสร้างสรรค์ออกแบบเนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 มีจำนวน 4 ลาย ได้แก่ ลายวชิรภักดิ์ ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ 2567 ลายหัวใจ และลายดอกรักราษฎร์ภักดี

มูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ เป็นมูลนิธิที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระราชประสงค์ให้ก่อตั้งขึ้น และทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์อุปถัมภ์มูลนิธิ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มแรกให้แก่มูลนิธิ เป้าหมายสำคัญของมูลนิธิ คือ การช่วยเหลือผู้ที่มีความสามารถทางด้านศิลปะ โดยให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก หรือประกาศนียบัตรทางด้านศิลปะเฉพาะทาง สำหรับผู้เรียนศิลปะในแขนงสาขาต่าง ๆ เพื่อนำองค์ความรู้มาต่อยอดเชิงบูรณาการให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติในเชิงศิลปกรรม

ทั้งนี้ทรงมียี่ห้อเสื้อผ้าส่วนพระองค์คือ "สิริวัณณวรี" (Sirivannavari)[33] และมียี่ห้อของแต่งบ้านส่วนพระองค์ชื่อ "สิริวัณณวรีเมซอง" (Sirivannavari Maison)[34] ทั้งนี้สินค้าบางส่วนของพระองค์ได้รับการจดลิขสิทธิ์โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศเพื่อมิให้เกิดการละเมิดหรือลอกเลียน

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
ลำดับโปเจียม9

พระอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร มหิดล (8 มกราคม พ.ศ. 2530 – ราว พ.ศ. 2540)
  • หม่อมเจ้าจักรกฤษณ์ยาภา มหิดล (ราว พ.ศ. 2540)
  • หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล (ราว พ.ศ. 2540 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548)
  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ (15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)[35]
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา[36] (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  ฮังการี :
    • พ.ศ. 2567 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐฮังการี ชั้นนายทัพ (ฝ่ายพลเรือน)[43]

พระยศทางทหาร

พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
รับใช้กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
ชั้นยศ พลเอกหญิง
  • ร้อยโทหญิง และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้า ที่ 29 รักษาพระองค์ฯ[44]และราชองครักษ์พิเศษ[45] (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555)[46]

และนายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)[47]

  • ร้อยเอกหญิง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555)[48]
  • พันตรีหญิง (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555)[49][50]
  • พันโทหญิง (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)[51]
  • พันเอกหญิง (21 มิถุนายน พ.ศ. 2561)[52] พระอาจารย์หัวหน้าแผนก โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
  • พลตรีหญิง (10 มีนาคม พ.ศ. 2566)[53] ผู้ชำนาญการกองทัพบก
  • พลโทหญิง (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
  • พลเอกหญิง (31 ตุลาคม พ.ศ. 2567)[54] ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

สถาบันการศึกษา

มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์

รถยนต์ที่นั่ง

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีรถยนต์ที่นั่งดังนี้

  1. Mercedes-Maybach S560 (X222) (2018 Facelift) เลขทะเบียน ร.ย.ล. 15
  2. Mercedes-Maybach S580 (Z223) เลขทะเบียน 1ด-2530 กรุงเทพมหานคร

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. Yahoo! Movies - Yuwathida Pornprasert
  2. "Principessa Sirivannavari Nariratana di Thailandia". L'Uomo Vogue Italia. 20 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อิตาลี)
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  4. "เพจพระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ เผยภาพความทรงจำ "ทูลกระหม่อมปู่ทรงลูบหัว"". มติชนออนไลน์. 16 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (10ข): 1. 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์". โรงเรียนจิตรลดา. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ สำเร็จการศึกษา วิชาแฟชั่นจุฬาฯ". มติชน. 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "ชมภาพ ′เจ้าหญิงแฟชั่น′ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ รับพระราชทานปริญญาบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 จากจุฬาฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 10 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "จุฬาฯทูลเชิญ "องค์สิริวัณฯ" เป็นอาจารย์พิเศษหลังรับปริญญาบุตรสาว "มาร์ค" ร่วมถวาย "บูม"". มติชน. 9 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระราชนัดดา อุทิศองค์เพื่อแผ่นดินไทย". ไทยรัฐออนไลน์. 9 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "องค์สิริวัณณวรีทรงต่อโทฝรั่งเศส คณบดียกย่อง "ศิลปินบัณฑิต"". มติชน. 28 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "พระองค์หญิงสิริวัณณวรี เปิดพระทัย เรียนดีไซน์ปารีส เหนื่อยสุด กดดันแต่คุ้ม". ไทยรัฐ. 6 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "Exclusive Interview : พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์". Thai Cat Walk. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "องค์หญิงสิริวัณณวรีฯ กับ 3 พระสหายสนิท ร่วมถ่ายทอดความรัก ผูกพัน ที่มีให้แก่กัน". Global Fashion Report. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. In Pictures: The 20 Hottest Young Royals: 16. Princess Sirivannavari
  16. "พระองค์เจ้าหญิงสิริวัณณวรี ติดอันดับ 7 เจ้าหญิงโดดเด่นที่สุดในโลก". ประชาไท. 28 กันยายน 2556. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "'พระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ' ทรงรับรางวัลแฟชั่นไอคอน". เดลินิวส์. 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. "สื่อนอกยกย่องพระองค์หญิงฯ เปี่ยมสไตล์ที่สุด ล่าสุด Grazia อังกฤษ ยกเป็นอันดับ 1 ของโลก". Vogue. 29 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "A Definitive Ranking Of The Most Stylish Princesses In The World" (ภาษาอังกฤษ). Grazia. 17 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงโพสต์ FB สยบข่าวลือแต่งงาน". กระปุกดอตคอม. 9 ตุลาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-11. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงโพสต์ FB สยบข่าวลือแต่งงาน". tlcthai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-18. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. ไทยรัฐ. ปีที่ 64 ฉบับที่ 20352. วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556. ISSN 1686-4921. หน้า 26
  23. "'พระองค์หญิง' ทรงยอมรับความพ่ายแพ้". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 1 ธันวาคม 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "ย้อนรอยพระองค์หญิงทรงกีฬาในซีเกมส์".
  25. ""องค์หญิงฯ" ทรงรับสั่งม้า "มึงต้องชนะ"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 13 ธันวาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-16. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. พระองค์หญิง ทรงนำทีมไทยคว้าเหรียญเงินขี่ม้าซีเกมส์ สำนักข่าวไทย
  27. 'พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์' ทรงขี่ม้าประเภทบุคคลกีฬาซีเกมส์ มติชนออนไลน์
  28. "พระองค์หญิงทรงนำทัพนักกีฬาขี่ม้าไทยสู้ศึกเอเชียนเกมส์". สยามกีฬา. 18 สิงหาคม 2523.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "พระองค์หญิงทรงนำทัพนักกีฬาขี่ม้าไทยสู้ศึกเอเชียนเกมส์". สยามกีฬา.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. "เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ลงฝึกซ้อม เตรียมแข่งขันขี่ม้า เอเชียนเกมส์". Thai PBS.
  31. "Sirivannavari Spring 2008: Forbidden Dreams Paris (Paris Fashion Week) Spring 2008". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-30. สืบค้นเมื่อ 2007-12-20.
  32. ณัฐจรัส เองมหัสสกุล, ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ, Present of the Past, นิตยสารอะเดย์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 88 ธันวาคม 2550
  33. "'พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ'รับสั่งถึงแฟชั่น". คมชัดลึก. 13 ธันวาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-18. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "Introducing 'Maison des Fleurs'".Collection from SIRIVANNAVARI MAISON
  35. "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (10ข): 1. 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  36. "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 9. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-05. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  37. 37.0 37.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาและเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙, ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  38. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓
  39. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
  40. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๘
  41. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๓ เมษายน ๒๕๔๙
  42. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๒
  43. news.ch7, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานพระวโรกาสให้คณะบุคคล เฝ้า
  44. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (17ข): 2. 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  45. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์(ร้อยโทหญิง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (พิเศษ77ง): 1. 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  46. "ร้อยโทหญิง "พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ" ราชองครักษ์พิเศษ". มติชน. 4 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (110ง): 2. 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  48. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารเป็นกรณีพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (27ข): 2. 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  49. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารเป็นกรณีพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (32ข): 2. 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  50. "โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระยศพันตรีหญิง พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์". มติชน. 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  51. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (30ข): 1. 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  52. "พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 135 (25ข): 1. 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  53. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-03-10. สืบค้นเมื่อ 2023-03-10.
  54. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร [พลโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา]
  55. ทร. ถวายเครื่องหมายนักทำลายใต้น้ำจู่โจม แด่ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
  56. กองทัพเรือ ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องหมายนักทำลายใต้น้ำจู่โจม แด่ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี
  57. Royal Bangkok Symphony Orchestra ในรัชกาลที่ 10 แสดงคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ “Romantic Variations”

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya