ลี เซียนลุง (จีนตัวย่อ : 李显龙 ; จีนตัวเต็ม : 李顯龍 ; พินอิน : Lǐ Xiǎnlóng , หลี เสี่ยนหลง ) เป็นนักการเมืองชาวสิงคโปร์ รัฐมนตรีอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 3 ของประเทศสิงคโปร์ เป็นบุตรชายคนโตของลี กวนยู อดีตนายกรัฐมนตรี และมีภรรยาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเทมาเส็กโฮลดิ้งส์
ลี เซียนลุง สามารถพูดภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษารัสเซีย ได้ในขณะที่มีอายุเพียง 10 ปี[ 2] เมื่อจบชั้นมัธยม ได้รับทุนจากรัฐบาลไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในสาขาคณิตศาสตร์ และจบปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 หลังจากนั้น จบปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์
เมื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2527 ลี เซียนลุง ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย และอยู่ในวงการเมืองมามากกว่า 20 ปี ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของสิงคโปร์ต่อจากโก๊ะ จ๊กตง ที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมา 14 ปี
ต่อมาในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ลี เซียนลุง ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และส่งมอบตำแหน่งให้ลอว์เรนซ์ หว่อง [ 3]
ชีวิตช่วงต้น
ลี เซียนลุงเป็นบุตรคนโตของลี กวนยูกับ Kwa Geok Choo และหลานชายฝั่งบิดา ของ Lee Chin Koon (2446–2538) กับ Chua Jim Neo (2448–2523) เขาเกิดที่โรงพยาบาลสตรีและเด็กเคเค ที่สิงคโปร์ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495[ 4] ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมอังกฤษ [ 5] แม่ของเขามีบรรพบุรุษจากอำเภอถงอาน กับหล่งหู ส่วนพ่อมีบรรพบุรุษจากเทศมณฑลต้าปู้ ในประเทศจีน[ 6] [ 7]
การศึกษา
ชีวิตส่วนตัว
ลีแต่งงานกับ Wong Ming Yang ภรรยาคนแรกที่เป็นแพทย์ชาวมาเลเซียโดยกำเนิด ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ทั้งคู่ให้กำเนิดลูกสาวชื่อ Li Xiuqi ใน พ.ศ. 2524 และลูกชายชื่อ Li Yipeng ใน ค.ศ. 2525 หลังให้กำเนิดลูกชาย 3 สัปดาห์ Wong เสียชีวิตจากอาการหัวใจวายในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ด้วยอายุ 31 ปี[ 8]
ลีแต่งงานใหม่กับโฮ ชิง ใน พ.ศ. 2528 ข้าราชการที่มีอนาคตสดใส ผู้ต่อมาได้เป็นกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทมาเส็กโฮลดิงส์ [ 9] ทั้งคู่ให้กำเนิดลูกชายสองคนชื่อ Li Hongyi และ Li Haoyi[ 10] โดย Li Hongyi ลูกชายคนโต เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรในกองทัพสิงคโปร์ [ 11] และเป็นรองอธิบดีหน่วยงานเทคโนโลยีภาครัฐ [ 12] [ 13] ส่วน Li Haoyi ลูกชายคนเล็ก เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับภาษาโปรแกรม Scala [ 14]
ในตอนแรก ลีได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเขาไปทำเคมีบำบัด [ 15] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[ 16] ต่อมาเขาได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก โดยใช้หุ่นยนต์รูปรูกุญแจช่วยสำเร็จในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 หลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก [ 17] [ 18] [ 19]
ลีให้ความสนใจในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเคยเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาซูโดกุ ด้วยภาษา C++ ในช่วงเวลาว่าง[ 20]
อ้างอิง
↑ "PMO |Mr LEE Hsien Loong" . 4 September 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2020. สืบค้นเมื่อ 18 July 2020 .
↑ "ทำไมสื่อสิงคโปร์ถึงยก "ลี เซียน ลุง" เป็น Prime Minister Google : มติชนออนไลน์" . web.archive.org . 2016-03-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04 .{{cite web }}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์ )
↑ " 'ลี เซียน ลุง' สละเก้าอี้ผู้นำสิงคโปร์ หลังรั้งตำแหน่ง 2 ทศวรรษ 'ลอว์เรนซ์ หว่อง' รับไม้ต่อวันนี้" . มติชน . 15 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2024 .{{cite news }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Yeo, Julia (12 August 2019). "15 ever-so-slightly interesting factoids about PM Lee Hsien Loong, since it's his 15th year as our PM" . Mothership.sg . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020 .
↑ "Mr Lee Hsien Loong" . Prime Minister's Office Singapore . 10 February 1952. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2020. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020 .
↑ "新加坡內閣資政李光耀" . Xinhua News (ภาษาจีนตัวเต็ม). Xinhua News Agency. 31 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 December 2008. สืบค้นเมื่อ 13 September 2020 .
↑ "李光耀劝扁勿藉奥运搞台独" . zaobao.com (ภาษาChinese (Singapore)). 19 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2008. สืบค้นเมื่อ 13 September 2020 .{{cite web }}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์ )
↑ Bertha Henson (9 May 1993). "It was a bolt from the blue" . The Sunday Times / Asiaone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 19 May 2007. สืบค้นเมื่อ 19 August 2008 .
↑ Lee, Philip (1 November 1982). "I remember – by Col Lee" . The Straits Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2017. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017 .
↑ Sudderuddin, Shuli (9 March 2009). "PM Lee attends OCC parade" . The Straits Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2009. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017 . {{cite web }}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์ )
↑ Burton, John (13 July 2007). "E-mail by Singapore PM's son backfires" . Financial Times . ISSN 0307-1766 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 3 June 2014. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017 .
↑ "Ministers make time for children's graduation" . The Straits Times . 21 November 1987. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2017. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017 .
↑ Yuen-C, Tham (15 June 2017). "PM Lee Hsien Loong's son Li Hongyi says he is not interested in politics" . The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2017. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017 .
↑ Li, Haoyi (2020). Hands-on Scala Programming: Learn Scala in a Practical, Project-Based Way . Li Haoyi. ISBN 978-9811456930 .
↑ Lee, Hsien Loong. "Motivational Message Contributed By Mr Lee Hsien Loong, Prime Minister of Singapore" . CancerStory . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015 .
↑ Henson, Bertha. " 'It was a bolt from the blue. But that's life.' " . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 19 May 2007. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015 .
↑ Tham, Yuen-C (15 February 2015). "PM Lee Hsien Loong diagnosed with prostate cancer, to undergo surgery on Monday" . The Straits Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2015. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015 .
↑ "PM Lee's operation 'successful', 'expected to recover fully' " . CNA . 16 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 16 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015 .
↑ "PM Lee Hsien Loong's prostate cancer operation a success" . AsiaOne . 16 February 2015. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 September 2015 .
↑ "Prime Minister of Singapore shares his C++ code for Sudoku solver" . Ars Technica UK . 4 May 2015. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2020. สืบค้นเมื่อ 12 September 2015 .
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น