Share to:

 

วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป

คำขอที่ลี้ภัยในรัฐสหภาพยุโรปและสมาคมการค้าเสรียุโรประหว่าวันที่ 1 มกราคมถึง 30 มิถุนายน 2558 ตามข้อมูลของยูโรสแตต

วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป หรือ วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยยุโรป คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2558 จากการที่ผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจ[1]เพิ่มขึ้นจากพื้นที่อย่างตะวันออกกลาง เอเชียใต้[2][3] ทวีปแอฟริกา และคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก[4]หลั่งไหลสู่สหภาพยุโรปข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ และสมัครขอที่ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มาจากประเทศซีเรีย อัฟกานิสถานและเอริเตรีย มีการใช้คำนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558[5] เมื่อเรืออย่างน้อยห้าลำที่บรรทุกผู้ย้ายถิ่นมุ่งทวีปยุโรปเกือบสองพันคนล่มในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมียอดผู้เสียชีวิตรวมประเมินไว้กว่า 1,200 คน

วิกฤตการณ์นี้เกิดในบริบทความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ในประเทศแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางหลายประเทศ ตลอดจนรัฐบาลสหภาพยุโรปหลายแห่งที่ปฏิเสธสมทบตัวเลือกช่วยเหลือปฏิบัติการมาเรนอสตรัม (Operation Mare Nostrum) ที่ประเทศอิตาลีดำเนินการ ซึ่งปฏิบัติการไทรทันของฟรอนเท็กซ์ (Frontex) รับช่วงต่อในเดือนพฤศจิกายน 2557 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558 รัฐบาลสหภาพยุโรปตกลงอุดหนุนปฏิบัติการตระเวนชายแดนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นสามเท่าเพื่อให้เท่ากับขีดความสามารถของปฏิบัติการมาเรนอสตรัมก่อนหน้า แต่องค์การนิรโทษกรรมสากลพลันวิจารณ์การสั่งการของสหภาพยุโรปที่ไม่ "ขยายพื้นที่ปฏิบัติการของไทรทัน" ไปพื้นที่ซึ่งเดิมครอบคลุมในมาเรนอสตรัม หลายสัปดาห์ต่อมา สหภาพยุโรปตัดสินใจเริ่มปฏิบัติการใหม่ซึ่งมีฐานที่กรุงโรม ชื่อว่า อียูเนฟฟอร์เมด (EU Navfor Med) ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกชาวอิตาเลียน เอนรีโก กรีเดนดีโน

ตามข้อมูลของยูโรสแตด รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปได้รับคำขอที่ลี้ภัย 626,000 ครั้งในปี 2557 เป็นจำนวนสูงสุดนับแต่คำขอ 672,000 ครั้งที่ได้ในปี 2535[6] ในปี 2557 การตัดสินใจเรื่องคำขอที่ลี้ภัยในสหภาพยุโรปในชั้นต้นส่งผลให้ผู้ขอที่ลี้ภัยกว่า 160,000 คนได้รับสถานภาพคุ้มครอง ขณะที่อีก 23,000 คนได้รับสถานภาพคุ้มครองระหว่างอุทธรณ์ (on appeal) อัตราการรับรองผู้ขอที่ลี้ภัยอยู่ที่ 45% ในชั้นต้นและ 18% ในชั้นอุทธรณ์ สี่รัฐ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี สวีเดน อิตาลีและฝรั่งเศสได้รับคำขอที่ลี้ภัยราวสองในสามของสหภาพยุโรปและให้สถานภาพคุ้มครองเกือบสองในสามในปี 2557 ขณะที่สวีเดน ฮังการีและออสเตรียติดประเทศที่รับคำขอที่ลี้ภัยของสหภาพยุโรปต่อหัวมากที่สุด เมื่อปรับกับประชากรของตนแล้ว[7][8]

สถิติด้านประชากรศาสตร์

ก่อนปี 2557 จำนวนการยื่นขอที่ลี้ภัยในสหภาพยุโรปในปี 2535 ยอด (672,000), 2544 (424,000) และ 2556 (431,000) และในปี 2557 มีมากถึง 626,000 ตามรายงานของ UNHCR, ประเทศในสหภาพยุโรปที่มีตัวเลขที่ใหญ่ที่สุดของผู้ลี้ภัยที่ได้รับการยอมรับในปลายปี 2557 เป็นฝรั่งเศส (252,264), เยอรมนี (216,973), สวีเดน (142,207) และสหราชอาณาจักร (117,161)

อ้างอิง

  1. "UNHCR viewpoint: 'Refugee' or 'migrant' – Which is right?". UNHCR."The majority of people arriving this year in Italy and Greece especially have been from countries mired in war or which otherwise are considered to be 'refugee-producing' and for whom international protection is needed. However, a smaller proportion is from elsewhere, and for many of these individuals, the term 'migrant' would be correct."
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ origins
  3. "Europe's Migration Crisis". Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-12-20.
  4. "Migrant crisis: Explaining the exodus from the Balkans". BBC News. สืบค้นเมื่อ 19 September 2015.
  5. "Europe migrant crisis". BBC News.
  6. "Asylum statistics". EUROSTAT. สืบค้นเมื่อ 4 September 2015.
  7. "euronews – Data raises questions over EU's attitude towards asylum seekers". euronews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  8. "Which Countries Are Under the Most Strain in the European Migration Crisis?". The New York Times. 28 August 2015. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
Kembali kehalaman sebelumnya