ศุภณัฐ มีนชัยนันท์
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ (เกิด 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534) ชื่อเล่น แบงค์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาชน[1] ประวัติศุภณัฐ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เป็นบุตรนายวิสูตร์ มีนชัยนันท์ มีพี่น้อง 4 คน คือ ณัฐภัทร มีนชัยนันท์, ศุภณัฐ มีนชัยนันท์, บอส มีนชัยนันท์ และกษิดิ์เดช มีนชัยนันท์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 ด้านการบริหารโครงการเพื่อการก่อสร้าง (BSc Project Management for Construction) จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London: UCL) และปริญญาโท ปรัชญามหาบัณฑิต ด้านอสังหาริมทรัพย์การเงิน (MPhil in Real Estate Finance) จากควีนส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร ศุภณัฐ เป็นหลาน-ลุงกับนายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย และหลาน-อา นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์[2] อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร[3] โดยทั้งสองเป็นหลานสุธี มีนชัยนันท์ มหาเศรษฐีที่ดินหลายหมื่นล้านบาท ผู้นำชาวไทยเชื้อสายจีน และประธานกิตติมศักดิ์ถาวรหอการค้าไทย-จีน[4][5] ศุภณัฐ ถือเป็นหนึ่งในนักการเมืองหน้าใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในกรุงเทพฯ เนื่องจากการศึกษา และครอบครัวที่มีความสัมพันธ์แนบแน่บพรรคเพื่อไทย และการเมืองแบบบ้านใหญ่[6] เกิดกระแสไวรัลสร้างความประหลาดใจอย่างมากตั้งแต่ช่วงเลือกตั้งถึงการตัดสินใจลงสมัครเลือกตั้งกับพรรคก้าวไกล และลงในโซนกรุงเทพฯชั้นในอย่างเขตจตุจักรที่มีการต่อสู้กันดุเดือดหลายพรรค แทนที่จะลงโซนกรุงเทพฯตะวันออกที่ตระกูล “มีนชัยนันท์” ตระกูลดังแห่งกรุงเทพตะวันออก มีเครือข่ายอิทธิพลอย่างกว้างขวาง กว่า 40 ปี จนถูกขนานนามว่าเป็น "บ้านใหญ่นครบาล"[7][8][9][10][11] การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ศุภณัฐได้เดินทางกลับมาทำธุรกิจของตนเอง และของครอบครัว รวมกว่า 6 บริษัท ครอบคลุมทั้งด้าน ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ขนส่ง และการแพทย์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาธุรกิจในต่างประเทศ การศึกษา
งานการเมืองการเลือกตั้งปี 2566 กับพรรคก้าวไกล[13]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายศุภณัฐ ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.กทม.ด้วยคะแนนสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของกรุงเทพมหานคร โดยได้รับคะแนนเสียง 50,132 คะแนน [14]ศุภณัฐ ได้เข้าร่วมอุดมการณ์กับพรรคก้าวไกลหลังจากได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคเมื่อปี พ.ศ.2565 และได้รับเลือกเป็นผู้สมัครของพรรค เขตหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากมองกว่าเขตดังกล่าวอยู่ในโซนกรุงเทพฯตะวันออกที่ “ตระกูล มีนชัยนันท์” ตระกูลดังแห่งกรุงเทพตะวันออก มีเครือข่ายอิทธิพล จะทำให้เกิดข้อครหาต่อตนเองและพรรคก้าวไกลได้ จึงได้ขอปฏิเสธที่จะลงสมัครเลือกตั้งในเขตดังกล่าว จนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 หลังจากมีการลาออกของผู้สมัครในเขตพญาไท-จตุจักร เนื่องจากปัญหาภายในพรรคและข้อเรียกร้องเรื่องการจัดสรรลำดับสส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ลงตัว กรรมการบริหารพรรคจึงได้ติดต่อทาบทามศุภณัฐอีกครั้ง ขณะที่เจ้าตัวเดินทางไปทำธุระที่ประเทศอังกฤษ หลังเดินทางกลับไทย ศุภณัฐจึงได้ตอบตกลงที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งในเขตดังกล่าวกับพรรคก้าวไกล ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566[15] ณ ที่ทำการพรรคก้าวไกล กรรมการบริหารพรรค ได้แถลงข่าวเปิดตัว นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ เป็นผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนสุดท้ายในกรุงเทพฯ โดยลงเขต-จตุจักร ซึ่งนายศุภณัฐ ได้กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกลงสมัครกับพรรคก้าวไกล เพราะเป็นพรรคที่ตรงไปตรงมา จุดยืนชัดเจนที่สุด และมีผลงานเด่นชัดที่สุดในการต่อต้านระบอบเผด็จการ ต่อสู้ทุนผูกขาด แม้แต่เรื่องผังเมืองเพื่อต่อสู้กับผังเมืองนายทุน[16] หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีการตัดเขตใหม่นายศุภณัฐ ได้ลงเลือกตั้งในกทม.เขตเลือกตั้งที่ 9 ประกอบด้วย เขตบางเขน (แขวงอนุสาวรีย์) เขตจตุจักร (แขวงจันทรเกษม และแขวงเสนานิคม) และ เขตหลักสี่ (แขวงตลาดบางเขน) โดยจับฉลากได้หมายเลข 10 พร้อมใช้แคมเปญ "แบงค์10" ในการหาเสียง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ชนะการเลือกตั้งในกทม.เขต 9 ประกอบด้วย เขตบางเขน เขตจตุจักร เขตหลักสี่ ด้วยคะแนน 50,132 คะแนน สูงสุดในกรุงเทพมหานคร เป็น สส.กทม. สมัยแรก โดยทิ้งห่างจากอันดับ 2 นาย อนุสรณ์ ปั้นทอง อดีต สส.กทม. 5 สมัย แชมป์เก่าจากพรรคเพื่อไทย ด้วยคะแนนทิ้งห่างกว่า 30,000 คะแนน [17] นับเป็นปรากฎการณ์ “ล้มช้าง” ที่ใหญ่ที่สุดในกทม. เนื่องจากนาย อนุสรณ์ ปั้นทอง เป็น สส.กทม.ที่ชนะเลือกตั้งติดต่อกันมากที่สุดในกรุงเทพฯ แต่แพ้ให้กับนาย ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ผู้สมัครที่มีเวลาหาเสียงสั้นที่สุดในพรรคก้าวไกล เพียง 2 เดือนเท่านั้น ทั้งนี้นายศุภณัฐ เป็นสส.ที่มีสัดส่วนคะแนนเขตสูงกว่าคะแนนบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล ในอัตราส่วน 49.18% ต่อ 47.53% การทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผลักดันการแก้ไขปัญหาสถานีหมอชิต 2 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566 นายศุภณัฐ ได้โพสข้อความทางออนไลน์สะท้อนถึงปัญหาของ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ หมอชิต 2 รวม 14 ประเด็น ทั้งปัญหาความปลอดภัย วินแทกซี่เถื่อน พื้นที่รกร้าง ห้องน้ำสกปรก การโก่งราคาค่าตั๋วโดยสาร บันไดเลื่อนเสียเป็นเวลานาน ถังดับเพลิงไม่ครบ ห้องพยาบาลและห้องให้นมบุตรปิด [18] [19]กลายเป็นกระแสชั่วข้ามคืนมีผู้รับชมกว่าหลายล้านคน และมีประชาชนร่วมแสดงความเห็นและประสบการณ์ย่ำแย่ของสถานีหมอชิต 2 เป็นจำนวนมาก จนโพสต์ของ นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ติดอันดับเทรนของทวิตเตอร์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และก่อให้เกิดปฏิกิริยาตามมามากมายมหาศาลและมีการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสถานีโดยด่วน [20] จนนายกรัฐมนตรีสั่งการด่วนให้หน่วยงานรีบดำเนินการแก้ไขทันที และคณะรัฐมนตรีว่าการ และช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมทั้ง 3 คน พร้อมผู้บริหารหน่วยงานต่างๆรีบลงพื้นที่จัดการแก้ไข ทำให้ปัจจุบันสถานีหมอชิต 2 มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2567 นายศุภณัฐ ได้ลงพื้นที่ติดตามปัญหาร่วมกับพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และสส.พรรคก้าวไกล ซึ่งมีประชาชนชื่นชมถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและขอบคุณการเรียกร้องและติดตามปัญหาอย่างต่อเนื่องของนายศุภณัฐ [21][22] ผลักดันการแก้ไขปัญหาร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ได้เปิดประเด็นทางสังคมอีกครั้ง กับการออกมาเปิดประเด็น "ผังเมืองเอื้อนายทุน" ในช่วงที่มีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อจัดทำร่างผังเมืองของกรุงเทพมหานคร (ฉบับแก้ไข ครั้งที่ 4) ทำเกิดการถกเถียงและประชาชนหันมาสนใจปัญหาผังเมืองเป็นจำนวนมาก และเกิดการตรวจสอบทั้งกระบวนการรับฟังความเห็น กระบวนการจัดทำร่างผังเมือง การปรับผังสีแดงในบางพื้นที่ที่คาดว่าเป็นของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ โดยที่พื้นที่รอบข้างกลับไม่มีการเปลี่ยนสี และปัญหาผังสีเขียวและพื้นที่ฟลัดเวย์[23][24][25] รวมถึงการออกมาสัมภาษณ์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ขอให้หยุดใช้คำว่า"ผังเมืองเอื้อนายทุน"เพราะเป็นวาทะกรรมที่ทำให้เกิดความแตกแยก [26] จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อตัวนายชัชชาติเป็นอย่างหนักจนมีการออกโพสต์เฟซบุ๊กขอโทษในภายหลัง[27] อย่างไรก็ดีทางกรุงเทพมหานคร ได้มีการขยายการรับฟังความเห็นเพิ่ม 6 เดือน พร้อมทบทวนร่างผังเมืองใหม่ ผลักดันการแก้ไขปัญหารถขนส่งสาธารณะ (รถเมล์) นายศุภณัฐได้เรียกร้องการแก้ไขปัญหารถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) อย่างต่อเนื่อง และได้ตั้งกระทู้สดถามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ถึงปัญหาการแก้ไขเลขสายรถเมล์ที่สร้างความสับสนในวงกว้าง ปัญหาคุณภาพรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ปัญหาขาดแคลนรถทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ปัญหารถวิ่งน้อยคอยนาน และจำนวนรอบวิ่งที่น้อยกว่าที่กำหนดในสัญญา รวมทั้งเปิดประเด็น ปัญหาการที่รัฐบาลยังไม่มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บอร์ด ขสมก.) ยาวนานกว่า 14 เดือน ทำให้ขสมก.ไม่สามารถจัดซื้อรถโดยสารประจำทางใหม่เพื่อให้บริการประชาชนได้ ซึ่งหลังจากตั้งกระทู้เพียง 2อาทิตย์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งบอร์ดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และประกาศแผนการจัดหารถโดยสารไฟฟ้าใหม่ เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพรถโดยสารและปัญหาจำนวนรถที่ไม่เพียงพอ [28] [29] พร้อมทั้ง กรมการขนส่งทางบก ได้มีการศึกษาแนวทางในการอุดหนุดเพื่อทำให้เกิดรถโดยสารในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครอีกด้วย ประสบการณ์ด้านการเมือง
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
อ้างอิง
|