พรรคประชาชน (พ.ศ. 2567)
พรรคประชาชน (อังกฤษ: People's Party; ชื่อย่อ: ปชน.[1]) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งพรรคเมื่อปี พ.ศ. 2555 ในชื่อ พรรคถิ่นกาขาว และเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล เมื่อปี พ.ศ. 2561 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เพื่อรองรับอดีตสมาชิกจากพรรคก้าวไกลที่ถูกยุบจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2567 ในทางพฤตินัยแล้ว พรรคประชาชนจึงเป็นพรรคการเมืองที่มีวิวัฒนาการมาจากพรรคอนาคตใหม่มาเป็นลำดับที่ 3 ปัจจุบันมีณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ เป็นหัวหน้าพรรค และศรายุทธิ์ ใจหลัก เป็นเลขาธิการพรรค ประวัติพรรคถิ่นกาขาวพรรคนี้ก่อตั้งขึ้นในชื่อ พรรคถิ่นกาขาว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นลำดับที่ 9/2555 โดยมี วิบูลย์ แสงกาญจนวนิช และ อำไพ กาฬพันธ์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรกตามลำดับ โดยนโยบายสำคัญของพรรคถิ่นกาขาวคือ การบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมโดยการแปรสภาพจากกระทรวงวัฒนธรรม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 พรรคถิ่นกาขาวส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 4 คน แต่การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกระบุให้เป็นโมฆะ[2] ต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559 วิบูลย์ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคเสียชีวิตลง ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ พรรคถิ่นกาขาวชาววิไลต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 พรรคถิ่นกาขาวได้จัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2561 เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคด้วยการร่างข้อบังคับขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล และเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของพรรค รวมถึงมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ จำนวนทั้งหมด 25 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก ชุมชฎาธาร หาญณรงค์ อดีตรองหัวหน้าพรรคถิ่นกาขาว เป็นหัวหน้าพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล และ จุฑามาศ ปลอดดี เป็นเลขาธิการพรรค[3] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคถิ่นกาขาวชาววิไลส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งเฉพาะแบบบัญชีรายชื่อ จำนวนทั้งหมด 13 คน โดยในครั้งนี้ พรรคได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนพอสมควร เนื่องจาก ลลิตา สิริพัชรนันท์ หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า พรรคถิ่นกาขาวชาววิไลต้องการ สส. ทั้งหมดจากพุทธศาสนิกชน ซึ่งมีจำนวน 95% ของชาวไทยทั้งหมด[4] อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคถิ่นกาขาวชาววิไลได้รับคะแนนเสียงรวมเพียง 5,561 คะแนนเท่านั้น ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้คะแนนไม่เพียงพอที่จะได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 หลังจากมีกระแสข่าวว่าพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลจะเป็นพรรคสำรองของพรรคก้าวไกลหากถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรค นายตุลย์ ตินตะโมระ หัวหน้าพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ได้ทำหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม และคณะกรรมการบริหารพรรคได้รับทราบหนังสือลาออกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดเดิมพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะในวันดังกล่าว[5] พรรคประชาชนภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคก้าวไกลจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ในวันรุ่งขึ้น (8 สิงหาคม) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากอดีตพรรคก้าวไกลที่ยังเหลืออยู่ในขณะนั้นทั้ง 143 คน ได้ย้ายมาสมัครสมาชิกพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลตามการคาดการณ์ของสื่อมวลชน[6] อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งหัวหน้าพรรคนั้นสื่อมวลชนคาดการณ์ไว้เบื้องต้นว่าเป็นศิริกัญญา ตันสกุล อดีตรองหัวหน้าพรรคก้าวไกลฝ่ายนโยบาย[7][8] แต่ต่อมามีผู้เสนอชื่อ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ อดีตรองเลขาธิการพรรคก้าวไกลฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและดิจิทัล ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคแทน ทีมแกนนำยุทธศาสตร์จึงประชุมกันเป็นการเร่งด่วน ก่อนมีมติให้เสนอชื่อณัฐพงษ์ จากนั้นมีการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการลงมติเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ระหว่างศิริกัญญากับณัฐพงษ์ และที่ประชุมมีมติให้เลือกณัฐพงษ์เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[9] พร้อมกันนั้น ยังได้มีการหารือเปลี่ยนชื่อพรรคไปในคราวเดียวกัน[10] ต่อมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2567 ของพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลที่อาคารไทยซัมมิท ซึ่งเป็นที่ทำการของพรรคอนาคตใหม่ในอดีต เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคด้วยการร่างข้อบังคับขึ้นใหม่ทั้งฉบับ โดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคประชาชน ซึ่งถือเป็นการใช้ชื่อพรรคนี้เป็นครั้งที่ 5 ต่อจาก พ.ศ. 2490, พ.ศ. 2499, พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2541[11] นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ รวมทั้งที่ทำการพรรค โดยเปลี่ยนมาใช้อาคารอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นอดีตที่ทำการพรรคก้าวไกล เป็นที่ทำการของพรรคประชาชน และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยปรับลงเหลือจำนวน 5 คน ซึ่งเป็นจำนวนขั้นต่ำสุดที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 กำหนด โดยนอกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 4 ตำแหน่ง คือ ศรายุทธิ์ ใจหลัก ผู้อำนวยการพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกลในอดีต และเพื่อนสนิทของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และชัยธวัช ตุลาธน เป็นเลขาธิการพรรค[12], ชุติมา คชพันธ์ เป็นเหรัญญิกพรรค, ณัฐวุฒิ บัวประทุม อดีตรองหัวหน้าพรรคก้าวไกลฝ่ายกฎหมาย เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค และ พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคก้าวไกลฝ่ายกิจการสภา เป็นกรรมการบริหารพรรค[13] ขณะที่ตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกรรมการบริหารพรรค เป็นตำแหน่งเดิมจากที่เคยดำรงตำแหน่งในพรรคก้าวไกลทั้งหมด ประกอบด้วย ศิริกัญญา ตันสกุล เป็นรองหัวหน้าพรรค[14] และ พริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นโฆษกพรรค หลังการประชุมดังกล่าว ณัฐพงษ์กล่าวว่าพรรคจะสานต่อนโยบายของพรรคอนาคตใหม่และก้าวไกล ซึ่งรวมถึงการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในลักษณะที่รัดกุมมากขึ้น อีกทั้งยังตั้งเป้าหมายชนะการเลือกตั้งทั่วไปและเป็นรัฐบาลพรรคเดียวภายในปี พ.ศ. 2570[15] เขายังกล่าวว่าจะหารือภายในพรรคเกี่ยวกับการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งถัดไป ที่อาจเสนอมากกว่า 1 คนด้วย[16] อนึ่ง ในคืนวันเปิดตัวพรรค มียอดผู้สมัครสมาชิกมากกว่า 20,000 คน และเงินบริจาคมากกว่า 10 ล้านบาท[17][18] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พรรคประชาชนได้จัดกิจกรรมรับสมัครสมาชิกพรรคแบบออฟไลน์เป็นครั้งแรกทั่วประเทศ โดยมีจุดหลักที่ลานหน้าอาคารสเตเดียม วัน โดยในวันดังกล่าวพรรคประชาชนได้รับยอดเงินบริจาครวมมากกว่า 20 ล้านบาท[19] วันเดียวกัน ณัฐพงษ์ได้ประกาศผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขต 1 แทนตำแหน่งที่ว่างของปดิพัทธ์ สันติภาดา[20] ที่ถูกตัดสิทธิเป็นเวลา 10 ปี[21][22] ในวันที่ 15 กันยายน คือ ณฐชนน ชนะบูรณาศักดิ์[23][24] และประกาศผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ในวันที่ 1 กันยายน[25] คือ ชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์[26] ต่อมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ประกาศรับรองการเปลี่ยนชื่อพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลเป็นพรรคประชาชน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ข้อบังคับ และกรรมการบริหารพรรคดังกล่าวตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันประชุมใหญ่คือวันที่ 9 สิงหาคม นอกจากนี้ยังชี้แจงถึงคำร้องเรียนเรื่องโลโก้พรรคไว้ว่า รายละเอียดและความหมายที่พรรคต้องการสื่อแตกต่างกับโลโก้ของพรรคที่ถูกยุบไป (พรรคอนาคตใหม่ และ พรรคก้าวไกล) แม้จะมีภาพรวมเป็นสามเหลี่ยมคว่ำสีส้มเหมือนกับสองพรรคดังกล่าวก็ตาม[27] และประกาศนายทะเบียนพรรคได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 กันยายน[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 21 และ 22 กันยายน พรรคประชาชนได้จัดสัมมนาพรรคและประชุมลับเป็นการภายใน โดยมีวาระสำคัญเป็นการจัดกระบวนทัพในการต่อสู้ทางการเมืองใหม่ของพรรค โดยปรับโครงสร้างพรรคจากเดิมที่กรรมการบริหารพรรคทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ตามภาค เนื่องจากมีการลดทอนตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคจาก 10 คน เหลือ 5 คน ซึ่งเป็นจำนวนขั้นต่ำสุดที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนด เพื่อลดช่องว่างหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง[28] โดยเมื่อวันที่ 22 กันยายน พรรคประชาชนได้แต่งตั้งรองหัวหน้าพรรคจำนวน 7 คน และเลือกตั้งรองเลขาธิการพรรคอีกจำนวน 12 คน[29]
บทบาททางการเมืองวันที่ 14 สิงหาคม พรรคประชาชนออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยข้อหาขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง[30] สองวันถัดมา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวาระพิเศษ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแทนเศรษฐา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาชนลงมติไม่เห็นชอบให้แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นเสียงเดียวกันทั้ง 143 คน[31] ต่อมาวันที่ 30 ตุลาคม ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการลงมติเห็นชอบร่าง "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 25) พ.ศ. ...." หรือร่างกฎหมายไม่ตีเด็ก ซึ่งพรรคประชาชนเป็นผู้เสนอในวาระที่ 2 และ 3 ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ร่างกฎหมายของพรรคประชาชนผ่านมติของสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่มีร่างกฎหมายของพรรคอื่นมาประกบ[32] ต่อมาวันที่ 4 พฤศจิกายน พริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคประชาชน ได้แถลงข่าวความคืบหน้าการทำงานในสภาและการผลักดันกฎหมายโดยพรรคประชาชน โดยเขาได้ระบุว่าในสมัยแรกไม่มีการพิจารณากฎหมายสักฉบับ สมัยที่สองมีการพิจารณา 14 ฉบับโดยมี 3 ฉบับผ่านมาได้ เช่น กฎหมายสมรสเท่าเทียม ส่วนปีที่สองของสมัยที่หนึ่ง มีกฎหมายที่สภาเห็นชอบผ่านทั้ง 3 วาระ 11 ฉบับ เช่น ชุดกฎหมายเกี่ยวกับอุดมศึกษา กฎหมายไม่ตีเด็ก และกฎหมายยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เกี่ยวกับชายแดนใต้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่พรรคประชาชนในสภาได้พยายามทำที่ผ่านมาคือการวางบทบาทใหม่ของฝ่ายค้าน ในส่วนของบทบาทเชิงรับที่ประชาชนคาดหวังให้ฝ่ายค้านทำอยู่แล้วในการตรวจสอบรัฐบาล จากพรรคก้าวไกลสู่พรรคประชาชน ยังคงทำงานอย่างเต็มที่เหมือนในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ไม่มีการอ่อนข้อ มีความเข้มข้นเท่าเดิม ทั้งการอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 การอภิปราย พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี กระทู้สดทุกสัปดาห์ กลไกกรรมาธิการสามัญทั้ง 35 คณะ ในส่วนบทบาทฝ่ายค้านเชิงรุก พรรคพยายามวางบทบาทในการนำทางและเสนอแนะรัฐบาลในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำแต่เห็นว่าควรจะทำ กลไกที่สำคัญและทำให้ข้อเสนอมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นคือการยื่นร่างแก้ไขกฎหมาย เป็นการฉายภาพพิมพ์เขียวประเทศไทยในแบบของพรรคประชาชน โดยคนจำนวนมากตั้งคำถามว่าพรรคประชาชนเป็นฝ่ายค้าน เสนอกฎหมายไปจะได้อะไร ซึ่งทางพรรคเห็นว่าการเสนอกฎหมายของพรรคมี 3 วัตถุประสงค์ คือ
เมื่อย้อนในสถิตใน 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา จะเห็นว่าพรรคประชาชนได้เสนอร่างกฎหมายรวม 84 ฉบับ โดยมี 25 ฉบับที่ถึงห้องประชุมสภาและมีการลงมติ (อย่างน้อยในวาระที่ 1) แล้ว และ 59 ฉบับที่สภาฯ ยังไม่เคยมีการลงมติทางใดทางหนึ่ง โดยทั้งหมดยังแบ่งออกได้เป็น
พริษฐ์ยังกล่าวอีกว่าข้อสังเกตสำคัญคือแม้หลายคนมักเชื่อว่าพรรคประชาชนเสนอกฎหมายอะไรไปก็ตกอยู่ดี แต่จากสถิติแล้วร่างกฎหมายของพรรคประชาชนที่สภาลงมติเห็นชอบมีถึง 16 ร่าง ขณะที่มี 9 ร่างที่สภาไม่เห็นชอบ ซึ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ากฎหมายที่พรรคประชาชนเสนอเข้าไปไม่แน่เสมอไปว่าจะถูกปัดตก และการเสนอกฎหมายของพรรคประชาชนยังมีความสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงแม้วันนี้พรรคจะเป็นแค่ฝ่ายค้าน[33] ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน พรรคประชาชนนำโดย ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน และศรายุทธิ์ ใจหลัก เลขาธิการพรรคประชาชน แถลงข่าวเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในนามพรรคประชาชนจำนวน 12 คน ประกอบด้วย เชียงใหม่, ลำพูน, มุกดาหาร, หนองคาย, ตราด, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี, พังงา, สงขลา, สมุทรสงคราม, สมุทรปราการ และนนทบุรี พร้อมนำเสนอชุดนโยบาย 5 ด้าน ดังนี้
ณัฐพงษ์กล่าวว่า ตนเองมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และภาคภูมิใจ โดยว่าที่ผู้สมัครนั้นมีประสบการณ์การทำงานท้องถิ่น มีความรู้ ความสามารถ และความพร้อมที่จะเข้าไปทำงานให้กับประชาชนได้ทันที สิ่งหนึ่งที่พรรคประชาชนสื่อสารมาโดยตลอดคือมีเจตนารมณ์ในการอาสาลงรับสมัครเลือกตั้งเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง การเมืองในระดับประเทศพรรคประชาชนผลักดันเรื่องกระจายอำนาจ ครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่ใช่เฉพาะโครงสร้าง แต่เป็นในระดับฐานราก โดยชุดนโยบาย 5 ด้านนั้นเป็นนโยบายที่ว่าผู้สมัครศึกษามาเป็นแรมเดือนแรมปี ซึ่งตนเองมั่นใจว่าจะเป็นนโยบายที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ในฐานะพรรคประชาชนที่อาสามาสร้างความเปลี่ยนแปลงขอพูดให้ชัดว่า ภารกิจของรัฐบาลส่วนกลาง ภารกิจของพรรคการเมืองระดับประเทศ คือ การกำหนดเป้าหมาย กำหนดภารกิจให้ชัดเจนว่าเข้าสู่อำนาจรัฐเพื่ออะไร ซึ่งพรรคประชาชนมีภารกิจที่ชัดเจนคือสร้างความเป็นอยู่ให้กับประชาชนผ่านนโยบาย 5 ด้านพร้อมยืนยันว่า ทำได้จริงไม่มีขายฝัน ด้านศรายุทธิ์ได้กล่าวว่า กระบวนการคัดสรรผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของพรรคประชาชนดำเนินการอย่างเข้มข้น ทั้งได้รับการสัมภาษณ์คัดกรองและได้รับการอบรมด้านกฎหมาย การบริหารงานสาธารณะ รวมถึงการบริหารงานท้องถิ่น รวมถึงการลงพื้นที่สำรวจความต้องการของประชาชนเพื่อจัดทำร่างนโยบาย ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขจนสามารถมั่นใจว่า นโยบายของพรรคจะสามารถปฏิบัติได้จริงไม่ใช่แค่เทคนิคการหาเสียง[34] บุคลากรหัวหน้าพรรค
เลขาธิการพรรค
กรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน
บุคลากรพรรคในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค
การเลือกตั้งการเลือกตั้งทั่วไปพรรคประชาชนมีบทบาทในการเลือกตั้งระดับประเทศครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขต 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2567 โดยทางพรรคมีผู้สมัครที่ประสงค์จะลงสมัคร คือ ณฐชนน ชนะบูรณาศักดิ์ เดิมเป็นอดีตผู้ช่วย สส. ของปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเจ้าของพื้นที่เดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากถูกตัดสิทธิ์ โดยก่อนหน้านี้ณฐชนนได้สังกัดพรรคถิ่นกาขาวชาววิไล (ชื่อเดิมของพรรคประชาชน) ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว เพื่อรองรับการเลือกตั้งซ่อมในครั้งนี้ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด[35] ผลการเลือกตั้งทั่วไป
เลือกตั้งซ่อม
การเลือกตั้งท้องถิ่นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นอกจากนี้ พรรคประชาชนยังประกาศผู้สมัคร ส.อบจ. ในนามพรรคอีกด้วย มีจังหวัดลำพูน, อุดรธานี, ภูเก็ต, ฉะเชิงเทรา, ระยอง[36], ชลบุรี, ตราด, ตาก เป็นต้น โดยเฉพาะจังหวัดลำพูนนั้น มีการเปิดตัวทั้งผู้สมัครนายก อบจ. และผู้สมัคร ส.อบจ. ตั้งแต่ยุคพรรคก้าวไกล[37] กิจกรรมอื่น ๆ ของพรรคนักสืบทุนเทาธุรกิจสีเทาหรือธุรกิจต่างชาติที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย เป็นปัญหาที่รุนแรงมากในปัจจุบัน สินค้าต่างชาติที่ราคาถูกมากแต่ไม่มีคุณภาพ ไม่เพียงกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่ยังส่งผลต่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการรายย่อยและเศรษฐกิจไทยโดยรวม จึงเป็นที่มาของแคมเปญ “นักสืบทุนเทา” ที่เปิดตัวในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดย สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ร่วมกับ รักชนก ศรีนอก สส.กรุงเทพ เขต 28 พรรคประชาชน และ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ที่ปรึกษาและนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) ลงพื้นที่ร้านค้าบริเวณถนนบรรทัดทอง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สาธิตการเป็นนักสืบทุนเทา ร้องเรียนธุรกิจผิดกฎหมายของชาวต่างชาติ[38] แคมเปญนักสืบทุนเทานี้ เป็นความร่วมมือระหว่างคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กับภาคเอกชนอย่างสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เชื่อว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งให้ประชาชนแจ้งปัญหาสินค้าต่างชาติผิดกฎหมายที่พบเห็นได้โดยสะดวก และข้อมูลทั้งหมดจะรวบรวมส่งไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ไข โดยพรรคประชาชนหวังให้แคมเปญนี้เป็นอีกหมุดหมายของการแก้ไขปัญหาธุรกิจสีเทาหรือธุรกิจที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยอย่างจริงจัง และเชิญชวนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแจ้งข้อมูลและติดตามการแก้ไขปัญหา นอกจากจะช่วยให้กรรมาธิการเห็นประเภทของปัญหาและระดับความเสียหาย ประชาชนทุกคนยังสามารถเสนอแนะมาตรการเพื่อเป็นประโยชน์กับภาครัฐในบทบาทฝ่ายค้าน หรือในอนาคต หากพรรคประชาชนได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้เป็นรัฐบาล จะสามารถออกแบบนโยบายที่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาระยะยาวได้ ซึ่งโดยช่องทางร้องเรียนจะใช้ไลน์แอด Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์) ที่ประชาชนคุ้นเคยอยู่แล้ว กดเมนู “นักสืบทุนเทา” ซึ่งแบ่งประเภทธุรกิจต่างชาติที่ผิดกฎหมายออกเป็น 6 หมวดหมู่ให้ประชาชนแจ้งปัญหา ได้แก่
เท้งทั่วไทยเท้งทั่วไทย เป็นแผนกิจกรรมของพรรคประชาชน ซึ่งนำโดย ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค ในการเดินทางทั่วประเทศไทยเพื่อเยี่ยมเยียนพื้นที่และสอบถามปัญหาของประชาชน โดยเริ่มจากเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ณัฐพงษ์ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.เขตจากพรรคอนาคตใหม่ ในปี พ.ศ. 2562 และคนบางแคก็ได้เลือกพรรคก้าวไกลให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอีกด้วย โดยณัฐพงษ์ระบุต่อไปว่า แม้ในฐานะพรรคการเมือง พรรคประชาชนต้องพูดนโยบายในระดับประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับตนคือการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ที่มักติดเงื่อนไขกฎระเบียบหรืองบประมาณ ซึ่งการแก้ปัญหาของเราจะเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ประชาชนเห็นว่าการเมืองที่ดีสามารถทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้นได้จริงๆ นี่คือบทบาทของเราในฐานะฝ่ายค้านเชิงรุก เพื่อส่งมอบนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชนในการเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อเป็นรัฐบาลที่ดีที่สุดให้กับประชาชน[39] Fact Checkพรรคประชาชนได้ตั้งบัญชีผู้ใช้เอกซ์ "Fact Check - พรรคประชาชน" เพื่อเอาไว้ชี้แจงและตอบโต้ จากกรณีที่ถูกใส่ความจากนักการเมือง, ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง, รวมไปถึงผู้ไม่ประสงค์ดีในการส่งต่อข้อความเท็จสู่บริการเครือข่ายสังคม โดยเริ่มเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 ข้อวิจารณ์"พรรคประชาชนพม่า"เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 ในระหว่างการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 นำโดย แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าแถลงนโยบายก่อนเริ่มต้นการบริหารรัฐกิจ มีช่วงหนึ่งที่ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครของพรรคประชาชน อภิปรายในเรื่องของการนำแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้มีการบิดเบือนประเด็นให้เข้าใจว่าพรรคประชาชนต้องการจะให้ชาวพม่ามีสิทธิเท่าเทียมกับคนไทยทุกประการ จนเกิดความเข้าใจผิด และเกิดกระแสความไม่พอใจขึ้น ผ่านการแสดงความคิดเห็นพร้อมติดแฮชแท็ก #พรรคประชาชนพม่า จนได้รับความนิยมในเอ็กซ์[40] ในเวลาต่อมา พริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรค ชี้แจงว่า พรรคประชาชนต้องการดึงแรงงานพม่าให้กลับมาขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานในประเทศไทยอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันแรงงานผิดกฎหมายในอนาคต[41] ต่อมาในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ได้มีการพาดพิงพรรคประชาชน brn โจมตีว่าเป็นส่วนหนึ่งกับ กลุ่มผู้ก่อการความไม่สงบในชายแดนใต้ กระท้่ง พรรณิการ์ วานิช คณะก้าวหน้าเตรียมฟ้องแก่บุคคลกล่าวหาเช่นนั้น[42] เชิงอรรถดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ พรรคประชาชน (พ.ศ. 2567) วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พรรคประชาชน
|