สถานีรถไฟหนองคาย
สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟปลายทางของขบวนรถไฟโดยสารภายในประเทศในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และเป็นสถานีสุดท้ายก่อนออกจากเขตประเทศไทย เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดหนองคาย ซึ่งใช้แทนสถานี (ที่หยุดรถไฟ) ตลาดหนองคาย ที่เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดเดิม สถานีรถไฟหนองคายเป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวในจังหวัดหนองคายที่ระดับสถานีรถไฟ เป็นระดับ 1 มีจำนวนย่านทางรถไฟ 4 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 3 ทาง ในทางหลีกมีทางตัน 2 ทาง ทางติดชานชาลา 2 ทาง ทางเหนือของสถานี มีสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 ที่เป็นชายแดนประเทศไทยกับประเทศลาว มีความยาว 1,170 เมตร ระหว่างกิโลเมตรที่ 623.00 ถึง 756.00 อยู่ระหว่างสถานีรถไฟหนองคาย กับสถานีรถไฟท่านาแล้ง สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ สถานีรถไฟหนองคายเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ช่วงสถานีรถไฟนครราชสีมา – หนองคาย ใช้ชื่อ สถานีหนองคาย รหัสสถานี HNE11 เปิดใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2573 ประวัติ
สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟปลายทางในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้วยังเป็นเส้นทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้ง(เวียงจันทน์) จึงสร้างรางรถไฟไว้บริเวณกลางสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 จากนั้นได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยก่อสร้างทางรถไฟจากกลางสะพานมิตรภาพเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่(ปัจจุบัน) การก่อสถานีรถไฟหนองคาย (ปัจจุบัน)ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการรถไฟ ได้ดำเนินการก่อทางรถไฟสายหนองคาย(ใหม่)–ท่านาแล้ง ให้มีการเปิดการเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนให้มาหยุดปลายทางที่สถานีนี้ ช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2549 และในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 หลังจากย้ายเส้นทางรถไฟเบนไปทางสะพานมิตรภาพ และปิดเส้นทาง/การเดินรถไปยังที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ซึ่งได้มีการทดลองเดินรถครั้งแรกจากสถานีรถไฟหนองคาย ไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้ง แล้วได้มีพิธีเปิดเดินรถปฐมฤกษ์และเปิดสถานีรถไฟหนองคาย(ใหม่)อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 การนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟอุดรธานีถึงหนองคาย เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีดังกล่าว จากนั้นพระองค์ประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้งในประเทศลาว ตามคำกราบทูลบังคมทูลของบุนยัง วอละจิด รองประธานาธิบดีลาว แล้วจึงเสด็จกลับพระนคร[3] ผลการสร้างสถานีรถไฟแห่งใหม่ซึ่งผลของการเดินรถเส้นทางใหม่ที่เบนเส้นทางไปหาสะพานมิตรภาพนี้ เป็นเหตุทำให้ต้องสร้างสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่(ปัจจุบัน) ใช้แทนสถานีรถไฟหนองคาย(เดิม) โดยใช้ชื่อสถานีรถไฟหนองคาย แล้วลดระดับและเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟตลาดหนองคาย(เดิม)เพื่อป้องกันความสับสนกับสถานีรถไฟหนองคาย(ปัจจุบัน) เป็นที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย แล้วมีการเปิดเดินรถไฟระหว่าง หนองคาย-ตลาดหนองคาย ช่วงปี พ.ศ. 2545-2551 จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2551 ก็ยกเลิกการเดินรถไฟมาที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนำที่ดินของที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายจำนวน 30 ไร่ไปทำประโยชน์อื่นเพื่อสร้างรายได้[4] การเชื่อมต่อสถานีท่านาแล้งมีการเดินรถในเส้นทางหนองคาย–ท่านาแล้งตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะประเทศลาวยังไม่มีกิจการรถไฟเป็นของตนเอง มีรถไฟสองขบวนไป-กลับระหว่างสถานีรถไฟหนองคายกับท่านาแล้งทุกวัน ระยะเวลาเดินทางราว 15 นาที ก่อนเดินทางต้องทำหนังสือผ่านแดนก่อนเดินทางทุกครั้ง[5] และยังมีขบวนรถไฟอีสเทิร์นแอนด์โอเรียนทัลเอ็กซ์เพรสให้บริการในบางโอกาส มีการเปิดให้บริการขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศกรุงเทพ–เวียงจันทน์ เที่ยวแรกในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เชื่อมต่อระหว่างไปถึงสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ตารางเวลาการเดินรถเที่ยวไป
เที่ยวกลับ
อ้างอิง
|