สมบัด สมพอน
สมบัด สมพอน (ลาว: ສົມບັດ ສົມພອນ) เป็นนักพัฒนาสังคมชาวลาวและเจ้าของรางวัลแมกไซไซ ซึ่งได้หายตัวไปเนื่องจากการลักพาตัวที่กรุงเวียงจันทน์ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555[1] แม้ว่ารัฐบาลลาวปฏิเสธการเชื่อมโยงและอ้างว่าไม่มีส่วนรู้เห็น แต่เชื่อว่ามีทฤษฎีสมคบคิดมากพอที่ทำให้เชื่อว่ารัฐบาลลาววางแผนการลักพาตัว เนื่องจากว่าไม่เคยยอมเปิดเผยการลักพาตัวสมเลยแม้แต่น้อย ประวัติสมบัด สมพอน เกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่บ้านดอนเขียว เมืองหนองบก แขวงคำม่วน ประเทศลาว เขาได้เกิดในครอบครัวที่ยากจน และเป็นบุตรคนโตของพี่น้องทั่งหมด ต่อมา เขาได้ทุนเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาและได้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ต่อมา ในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 เขาได้รับทุนเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยฮาวาย และได้เรียนจบปริญญาตรีสาขาการศึกษาในปี พ.ศ. 2517 และ ปริญญาโทสาขาเกษตรกรรมในปี พ.ศ. 2521[2] ต่อมา สมบัดได้กลับมาประเทศลาวหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้วในช่วงปี พ.ศ. 2524 งานแรกที่เขาได้ทำคือ การสอนวิธีการทำเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยของอาหารที่มาจากการเกษตร นอกจากนี้เขายังเป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคนิคการประเมินในชนบทแบบมีส่วนร่วมในลาวด้วย ในปี พ.ศ. 2539 เขาได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศลาวให้ทำการก่อตั้งศูนย์อบรมร่วมพัฒนา (PADETC) เพื่อฝึกการอบรมให้กับชาวลาววัยหนุ่มสาวและเจ้าหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น[3] ตามชีวประวัติของเขาที่มีการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2548 PADETC ได้ดำเนินการริเริ่มหลายๆโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมผู้ประกอบการเกษตรรายย่อย รวมไปถึงการแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์, การรีไซเคิลขยะ และ และเตาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพ และการประเมินผลรูปแบบใหม่สำหรับองค์กรธุรกิจเกษตรรายเล็ก โครงการนี้ได้ดำเนินงานในฐานะส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมอาสาสมัครหนุ่มสาวและการฝึกเรียนรู้ในชั้นเรียน (ตั้งแต่ในระดับมัธยมศึกษา,วิทยาลัย และ บัณฑิตวิทยาลัย) PADETC ได้สอนให้อาสาสมัครหนุ่มสาวได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ความเป็นผู้นำ,การทำงานเป็นทีม,การบริหารจัดการโครงงาน และ ความหลากหลายในการดำรงชีวิต เรื่องราวความรู้ในท้องถิ่น, การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม, การทำเกษตรที่ดี, การเป็นผู้ประกอบการ และ ปัญหาที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น ปัญหาด้านยาเสพติด[4] ตลอดชีวิตของสมบัดนั้น เขาได้พยายามที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องราวทางการเมืองหรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองใดๆมาตลอด ในปี พ.ศ. 2556 ภรรยาของเขาได้กล่าวว่า "ในบทความที่ผ่านมาจำนวนมากและแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวของสมบัด บางครั้งเขาได้ถูกเรียกเก็บเงินจากการเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม คำนี้ไม่ต้องพูดถึงสมบัด ตัวเขาหรืองานของเขาเลบ มันคือความจริงที่สมบัดได้ผ่านการทำงานอย่างไม่มีเหน็ดเหนื่อยเพื่อก้าวไปสู่ความอยู่ดีกินดี และสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนยากจนในชนบท แต่ งานของสมบัดไม่เคยได้คาดคั้นหรือเป็นศัตรูกับนโยบายของรัฐบาลเลย ทุกโครงการและกิจกรรมที่สมบัดได้ดำเนินการทุกอย่าง ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น" [5] ปีถัดมา สมบัดได้มีบทบาทสำคัญในการแนะนำแนวคิดดัชนีความสุขมวลรวมมายังลาว ในปี พ.ศ. 2550 เขาได้เป็น 1 ในผู้จัดการการประชุมนานาชาติว่าด้วยความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3 ขณะที่ปี พ.ศ. 2555 เขาได้เป็นที่ปรึกษาอาวุโสในหนังสั้นเรื่อง "ความสุขของประเทศลาว" ซึ่งได้ฉายในการประชุมเวทีประชาชนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 งานนี้มีความใกล้ชิดกับการมีส่วนร่วมของสมบัดในเครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม ซึ่งตั้งโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เพื่อนของเขา[6] การยอมรับในปี พ.ศ. 2544 สมบัด สมพอน ได้รับรางวัลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากการเสริมสร้างศักยภาพของคนยากจนในชนบทของลาวจาก คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับรางวัลแมกไซไซสำหรับการเป็นผู้นำชุมชน จากการที่เขา "ได้ตระหนักถึงความพยายามของเขาที่หวังที่จะส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศลาวโดยการฝึกอบรมและสร้างแรงจูงใจให้คนหนุ่มสาวที่จะกลายเป็นคนรุ่นผู้นำ"[7] สมบัดยังเป็นคนลาวเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ ในปี พ.ศ. 2553 ศูนย์ อีสต์-เวสต์ ได้ยอมรับการทำงานเพื่อสังคมของเขาผ่านการเผยแพร่ "50 ปี 50 เรื่อง" [8] ในปี พ.ศ. 2554 เขายังได้ปาฐกถาพิเศษ ณ การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค เอพีไอ ครั้งที่ 10; [9] คือเครือข่ายของปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียโดยได้รับการสนับสนุนทุนจากมูลนิธินิปปอน. ในปี พ.ศ. 2555 เขายังได้ปาฐกถาพิเศษในการประชุมเวทีประชาชนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 ที่ กรุงเวียงจันทน์ คณะกรรมการจัดการแข่งขันระหว่างประเทศของ AEPF ได้กล่าวว่าสมบัดคือ "หนึ่งในผู้ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและมีอิทธิพลระยะยาวสำหรับประชาชน เป็นศูนย์กลางและได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศลาว"[10] การหายตัวไปและการตอบสนองสมบัดถูกลักพาตัวในกรุงเวียงจันทน์ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กล้องวงจรปิดได้แสดงภาพที่มีตำรวจเรียกเขาลงมาจากรถและนำเขาขึ้นรถกระบะไป[11] รัฐบาลลาวได้ปฏิเสธการรับผิดชอบของการหายตัวเขาไปในทันที[12] การหายตัวไปของสมบัด สมพอนสร้างความกังวลให้กับคนและรัฐบาลทั่วโลก ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศ, สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ, สภาชิกสภาจากเอเชียและยุโรป องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ (เอ็นจีโอ) และอีกหลายองค์กร ได้เรียกร้องให้รัฐบาลลาวดำเนินการที่ควรจำเป็น เพื่อให้แน่ใจในการปล่อยตัวอย่างปลอดภัยของเขา[13] เดสมอนต์ ตูตู บิชอปแห่งแอฟริกาใต้ ได้เขียนจดหมายไปยังทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีลาวในขณะนั้น เรียกร้องให้มีการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน แต่ทว่าไม่มีการตอบสนองใด ๆ จากรัฐบาลลาว[14] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 องค์การนิรโทษกรรมสากล เรียกร้องรัฐบาลลาวให้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยด่วน[15] ตามมาด้วยการเผยแพร่เอกสารสรุปการบรรยาย 26 หน้าเรื่อง ลาว:จับจากกล้อง การบังคับการหายตัวไปของสมบัด สมพอน (Laos: Caught on Camera - the enforced disappearance of Sombath Somphone)[16] ศูนย์วิเคราะห์นโยบายสาธารณะในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, องค์กรวิจัยนโยบายสาธารณะเอกชน (เอ็นจีโอ) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลลาวและหน่วยความปลอดภัยปล่อยตัวสมบัด สมพอน อย่างต่อเนื่อง[17] ศูนย์วิเคราะห์นโยบายสาธารณะมักยกประเด็นสมบัด สมพอนว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับการฆ่าล้างชาวลาวและชาวม้งและความขัดแย้งทางศาสนาในลาว[18] หนึ่งเดือนหลังการหายตัวไปของเขา ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในขณะนั้น ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลลาว "ให้มีการตรวจสอบความโปร่งใสของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้และทำทุกอย่างในอำนาจของตนเพื่อที่จะดำเนินการเรื่องทันทีและปล่อยตัวสมบัดกลับบ้านไปหาครอบครัวของเขา"[19] วันที่ 24 มีนาคม จอห์น เคร์รีซึ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งต่อ ได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ครบรอบ 100 วันนับตั้งแต่สมบัดถูกลักพาตัวไป เขากล่าวว่า "เป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างต่อเนื่อง การหายตัวไปอย่างอธิบายไม่ได้ของสมบัด สมพอน ผู้ที่ซึ่งได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางและสร้างแรงบันดาลใจให้พลเมืองลาวซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมากขึ้นในประเทศของเขา ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการกระทำผิดของรัฐบาลลาวในการใช้กฎหมายและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับโลกนี้[20] สามคณะผู้แทนของสมาชิกรัฐสภาจากเอเชียและยุโรปเดินทางมายังกรุงเวียงจันทน์ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อหารือเกี่ยวกับการหายตัวไปของสมบัดกับรัฐบาลลาว การเยือนครั้งแรกในเดือนมกราคม วัลเดน เบลโล สมาชิกสภาคองเกรสจากฟิลิปปินส์และผู้ก่อตั้ง โฟกัสออนเดอะโกลบอลเซาท์ (Focus on the Global South) ระบุว่า "เราอยู่ห่างไกลจากความพึงพอใจกับคำตอบที่เราได้"[21]วุฒิสภาชิกดัตช์ ทู เอลซิลฟา กล่าวหลังจากการไปเยือนในเดือนมีนาคม "ถ้าเจ้าหน้าที่ลาวคิดว่าปัญหาของการหายตัวไปของสมบัดจะทำให้ปัญหาหมดไป พวกเขาคิดผิด"[22]ในเดือนกันยายน 3 คณะผู้แทน ประกอบด้วยผู้แทนจากเดนมาร์กและเบลเยียม ได้ข้อสรุปว่า "ทางการลาวดูห่างไกลและไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจหรือความสามารถเพียงพอที่จะหาทางออกกับกรณีนี้และได้ปฏิเสธข้อเสนอการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคใด ๆ เพื่อตรวจสอบเรื่องนี้"[23] ระหว่างการประชุมระดับสูงกับรัฐบาลลาวที่จัดขึ้นในกรุงเวียงจันทน์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จำนวนของผู้บริจาคต่างประเทศแสดงความกังวลของพวกเขาเกี่ยวกับการหายตัวไปของสมบัด คำสั่งจากองค์การพัฒนายุโรปเรียกร้องให้รัฐบาลลาว "ดำเนินการตรวจสอบอย่างครอบคลุมและให้มีความโปร่งใสของคดีนี้อย่างเต็มที่และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของสหประชาชาติเช่น คณะที่ทำงานเกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหายในเจนีวา"[24] ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ครบรอบหนึ่งปีของการหายสาบสูญของสมบัด สมพอน ได้ถูกประกาศไว้โดยแถลงการณ์ของรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์, อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา[25] และการเดินขบวนประท้วงสถานทูตลาวในกรุงเทพมหานคร[26] โตเกียว[27] และแคนเบอร์รา องค์การนิรโทษกรรมสากลออกมาเรียกร้องอีกครั้งเพื่อให้มีการดำเนินการเรื่องนี้[28]ขณะที่เอ็นจีโอเอเชีย 62 กลุ่ม ได้เรียกร้องให้มีการสอบสวนใหม่ [29] ขณะเดียวกันคณะรายงานพิเศษเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและการสมาคมแห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวขอให้รัฐบาลลาว "ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และขั้นตอนพิเศษ โดยเฉพาะการเลือกตั้งสภาสิทธิมนุษยชนในปี2016"[30] สื่อระหว่างประเทศยังได้รายงานการหายตัวไปของสมบัด เช่น บีบีซี, อัลญะซีเราะฮ์ ฟอกซ์นิวส์, ดอยช์ เวเลย์, เลอมงด์, เดอะการ์เดียน, เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล, เอบีซี ออสเตรเลีย และสื่ออื่น ๆ อีกมากมาย[31] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สมบัด สมพอน |