Share to:

 

สลอบอดัน มีลอเชวิช

สลอบอดัน มีลอเชวิช
Слободан Милошевић
ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
23 กรกฎาคม 1997 – 7 ตุลาคม 2000
นายกรัฐมนตรีราดอเย กอนติช
มอมีร์ บูลาตอวิช
ก่อนหน้าซอรัน ลิลิช
ถัดไปวอยีสลาฟ คอชตูนีตซา
ประธานาธิบดีเซอร์เบีย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
11 มกราคม 1991[a] – 23 กรกฎาคม 1997
นายกรัฐมนตรีDragutin Zelenović
Radoman Božović
Nikola Šainović
Mirko Marjanović
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปดรากัน ตอมิช (รักษาการ)
มีลัน มีลูตินอวิช
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย คนที่ 14
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤษภาคม 1989 – 11 มกราคม 1991[a]
นายกรัฐมนตรีDesimir Jevtić
Stanko Radmilović
ก่อนหน้าPetar Gračanin
Ljubiša Igić (รักษาการ)
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 สิงหาคม ค.ศ. 1941(1941-08-20)
พอชาเรวัตส์, เซอร์เบียภายใต้การยึดครอง
เสียชีวิต11 มีนาคม ค.ศ. 2006(2006-03-11) (64 ปี)
เฮก เนเธอร์แลนด์
เชื้อชาติยูโกสลาเวีย
พรรคการเมืองสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย(SKJ) (1959–1990)
พรรคสังคมนิยมเซอร์เบีย (SPS) (1990–2006)
คู่สมรสMirjana Marković
บุตรMarko and Marija
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเบลเกรด
ลายมือชื่อ
a. ^ Became "President of the Presidency" แห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย (a constituent countryแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ต.ศ. 1989. ภายหลังการล่มสลายของยูโกสลาเวีย, โดยได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของ สาธารณรัฐเซอร์เบีย (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย) ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1991

สลอบอดัน มีลอเชวิช (เซอร์เบีย: Слободан Милошевић, อักษรโรมัน: Slobodan Milošević, [slɔbɔ̌dan milɔ̌ːʃɛʋit͡ɕ]); 20 สิงหาคม 1941 – 11 มีนาคม 2006) เป็นนักการเมืองชาวยูโกสลาเวียและเซอร์เบียที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเซอร์เบียระหว่างปี 1989–1997 และประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียตั้งแต่ปี 1997 จนถึงการถูกโค่นล้มในปี 2000 มีลอเชวิชมีบทบาทสำคัญในสงครามยูโกสลาเวียและกลายเป็นผู้นำประเทศคนแรกที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำอาชญากรรมสงครามขณะดำรงตำแหน่ง[1]

มีลอเชวิชเกิดที่เมืองพอชาเรวัตส์ เขาศึกษากฎหมายที่คณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเบลเกรด ระหว่างที่เขาศึกษา เขาเข้าร่วมกับสหพันธ์เยาวชนสังคมนิยมแห่งยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาของนายกเทศมนตรีเบลเกรด และในทศวรรษ 1970 เขาเป็นผู้สนับสนุนของผู้นำเซอร์เบีย อีวาน สตัมบอลิช.[2][3][4] มิโลเชวิชได้เป็นสมาชิกระดับสูงของสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งเซอร์เบีย (SKS) ในช่วงทศวรรษ 1980 และเขาขึ้นสู่อำนาจในปี 1987 หลังจากที่เขาขับไล่ผู้คัดค้านรวมถึงสตัมบอลิช เขาถูกเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบียในปี 1989 และเป็นผู้นำการปฏิวัติต่อต้านระบบราชการซึ่งได้ปฏิรูปรัฐธรรมนูญของเซอร์เบียและเปลี่ยนแปลงรัฐให้เข้าสู่ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค เขาเป็นผู้นำพรรคสังคมนิยมแห่งเซอร์เบียนับตั้งแต่การก่อตั้งในปี 1990 จนถึงวันที่เขาเสียชีวิต หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1990 มีลอเชวิชได้ดำเนินการปกครองในรูปแบบพรรคการเมืองเดียว ขณะที่พรรคของเขาควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจของรัฐ.[5][6][7] ระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลและต่อต้านสงครามขึ้น และมีทหารผู้หลบหนีจากกองทัพประชาชนยูโกสลาเวียที่มีลอเชวิชควบคุมอยู่หลายแสนคน ส่งผลให้เกิดการอพยพจำนวนมากจากเซอร์เบีย.

ระหว่างการทิ้งระเบิดของเนโทในยูโกสลาเวียในปี 1999 มีลอเชวิชถูกตั้งข้อกล่าวหาจากคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) ในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามที่เกี่ยวข้องกับสงครามบอสเนีย, สงครามประกาศอิสรภาพโครเอเชีย และสงครามคอซอวอ[8]หลังจากการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของยูโกสลาเวียในปี 2000 ท่ามกลางการประท้วงต่อต้านการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีข้อสงสัย มีลอเชวิชถูกจับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางยูโกสลาเวียในเดือนมีนาคม 2001 ในข้อหาทุจริต, การใช้อำนาจในทางที่ผิด และการยักยอกทรัพย์[9][10] การสอบสวนเบื้องต้นล้มเหลว และเขาถูกส่งตัวไปยังคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) เพื่อต่อสู้คดีในข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม.[11] มิโลเชวิชประณามศาลว่าเป็นศาลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและปฏิเสธที่จะแต่งตั้งทนายความ โดยดำเนินการป้องกันตัวเอง เขาเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายที่กรุงเฮกในปี 2006 ก่อนที่การพิจารณาคดีจะจบลง.[12][13] ศาลปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของมีลอเชวิช โดยระบุว่าเขาปฏิเสธที่จะรับยาที่แพทย์สั่งสำหรับโรคหัวใจและเลือกที่จะรักษาด้วยตัวเองแทน หลังจากที่เขาเสียชีวิต คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียพบว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องในอาชญากรรมร่วมที่ใช้ความรุนแรง เช่น การล้างชาติพันธุ์เพื่อลบล้างชาวโครแอต ชาวบอสนีแอกและชาวแอลเบเนียออกจากบางพื้นที่ในโครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, และคอซอวอ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ได้ข้อสรุปแยกต่างหากว่าไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงเขากับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กระทำโดยกองกำลังชาวเซิร์บบอสเนียในระหว่างสงครามบอสเนีย แต่พบว่ามีลอเชวิชได้ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยไม่สามารถป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากการเกิดขึ้น และไม่สามารถถือผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบได้.[14][15]

ผู้สังเกตการณ์ได้อธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของมีลอเชวิชว่าเป็นแบบประชานิยมและคตินิยมสรรผสาน[16] การปกครองของมิโลเซวิชได้รับการอธิบายว่าเป็นแบบเผด็จการหรือเผด็จการอำนาจนิยม รวมถึงการปกครองแบบคเลปโตแครต (การใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว) โดยมีข้อกล่าวหาการทุจริตในการเลือกตั้ง, การลอบสังหาร, การลดเสรีภาพสื่อ, และการใช้ความรุนแรงโดยตำรวจ.[17][18][19][20]

ปฐมวัย

สเวตอซัร บิดาของสลอบอดัน (รูปซ้าย) และสตานิลาฟาผู้เป็นแม่พร้อมกับน้องชายของเขา บอริสลาฟ และสลอบอดันเมื่อครั้งยังวัยเยาว์ (รูปขวา) สเวตอซัร บิดาของสลอบอดัน (รูปซ้าย) และสตานิลาฟาผู้เป็นแม่พร้อมกับน้องชายของเขา บอริสลาฟ และสลอบอดันเมื่อครั้งยังวัยเยาว์ (รูปขวา)
สเวตอซัร บิดาของสลอบอดัน (รูปซ้าย) และสตานิลาฟาผู้เป็นแม่พร้อมกับน้องชายของเขา บอริสลาฟ และสลอบอดันเมื่อครั้งยังวัยเยาว์ (รูปขวา)

มีลอเชวิชเป็นชาวมอนเตเนโกรโดยกำเนิด เกิดที่เมืองพอชาเรวัตส์ในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในประเทศเซอร์เบีย) บิดาของเขาฆ่าตัวตายในขณะที่เขาเรียนชั้นมัธยมศึกษา ส่วนมารดาก็ผูกคอตายในอีกสิบปีต่อมา

เริ่มอาชีพนักการเมือง

เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1959 โดยได้เริ่มประกอบอาชีพเป็นพนักงานธนาคาร ประจำธนาคารเบโอกราดสกาบังกา (ธนาคารแห่งเบลเกรด) ซึ่งในช่วงเวลานั้นเองที่เขามีโอกาสได้พำนักอยู่ในนครนิวยอร์กในฐานะผู้แทนธนาคารประจำสาขา ณ ต่างประเทศ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Milosevic indictment makes history". CNN. 27 May 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-04. สืบค้นเมื่อ 31 January 2024.
  2. Thomas, Robert (1999). Serbia under Milošević : politics in the 1990s. London: Hurst. p. 430. ISBN 1-85065-341-0. OCLC 41355127.
  3. Dawisha, Karen; Parrott, Bruce (1997). Politics, power, and the struggle for democracy in South-East Europe. Cambridge: Cambridge University Press. p. 154. ISBN 0-521-59244-5. OCLC 37308876.
  4. Tollefson, James (2007). Language and Political Conflict.
  5. Lazić, Mladen; Pešić, Jelena (25 September 2020). "The Stabilisation of the Capitalist Order and Liberal Value Orientations in Serbia". Südosteuropa. 68 (3): 386–407. doi:10.1515/soeu-2020-0028. ISSN 2364-933X. S2CID 222004199.
  6. Lansford, Tom (2012). Political handbook of the world 2012. Los Angeles: Sage. p. 1254. ISBN 978-1-4522-3434-2. OCLC 794595888.
  7. Đukić, Slavoljub (2001). Milošević and Marković : a lust for power. Alex Dubinsky. Montreal: McGill-Queen's University Press. p. 29. ISBN 978-0-7735-6939-3. OCLC 181843243.
  8. "Milosevic charged with Bosnia genocide". BBC. 23 November 2001. สืบค้นเมื่อ 20 June 2011.
  9. "Slobodan Milosevic to Stand Trial in Serbia". CNN. 31 March 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (transcript)เมื่อ 2 October 2016. สืบค้นเมื่อ 21 January 2012.
  10. "Milosevic arrested". BBC. 1 April 2001. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  11. Gall, Carlotta (1 July 2001). "Serbian Tells of Spiriting Milošević Away". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 July 2008.
  12. "Report to the President Death of Slobodan Milošević" (PDF). United Nations. 5 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 June 2006. สืบค้นเมื่อ 21 January 2012.
  13. "Prosecutor v. Slobodan Milosevic: Decision on Assigned Counsel Request for Provisional Release". United Nations. 5 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2006. สืบค้นเมื่อ 21 January 2012.
  14. Paul Mitchell (16 March 2007). "The significance of the World Court ruling on genocide in Bosnia". World Socialist Web. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
  15. "Court Declares Bosnia Killings Were Genocide". The New York Times. 26 February 2007.. A copy of the ICJ judgement can be found here "Frame page of BHY (English)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2007. สืบค้นเมื่อ 3 August 2007.
  16. Djilas, Aleksa (1993). "A Profile of Slobodan Milošević". Foreign Affairs (ภาษาอังกฤษ). 72 (3): 94. doi:10.2307/20045624. JSTOR 20045624.
  17. "Milosevic: Serbia's fallen strongman". BBC. 30 March 2001. สืบค้นเมื่อ 12 December 2018.
  18. Sell, Louis (1999). "Slobodan Milošević: A Political Biography". Problems of Post-Communism. 46 (6): 12–27. doi:10.1080/10758216.1999.11655857.
  19. Keen, Mike; Mucha, Janusz (2013). Autobiographies of Transformation: Lives in Central and Eastern Europe. Routledge. p. 176.
  20. Byrne, Richard (2 November 2009). "Balkan Bottom Line". Foreign Policy.

แหล่งข้อมูล

หนังสือ
รายงานข่าว

หนังสืออ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya