พลเอกสสิน ทองภักดี (ชื่อเล่น :ต้อ , บิ๊กต้อ , เกิด 14 กุมภาพันธ์ 2501) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตุลาการศาลทหารสูงสุด [2] นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์[3] อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก ราชองครักษ์เวร[4] อดีตรอง ลธ.รมน.และปฏิบัติหน้าที่ ผอ.ศปป.5 กอ.รมน.[5]อดีตสมาชิก สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 อดีตกรรมการอิสระ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) [6]
ประวัติ
พลเอกสสินเกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 มีชื่อเล่นว่า ต้อ ทำให้บรรดาสื่อมวลชนสายทหารมักจะเรียกท่านว่า บิ๊กต้อ
พลเอกสสินจบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 17 และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 28 รุ่นเดียวกับพลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร อดีตรองผู้บัญชาการทหารบกและอดีตเสนาธิการทหารบก
ครอบครัว
พลเอกสสิน สมรสกับ นางจิรยาพร ทองภักดี[7]
รับราชการ
พลเอกสสินเริ่มรับราชการและได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อ พ.ศ. 2524 หลังจากนั้นจึงได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ
โดยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558
จากนั้นขึ้นเป็นรองเสนาธิการหารบกเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
จนกระทั่งวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559 พลเอกสสินซึ่งดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบกได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกสืบต่อจากพลเอกพิสิทธิ์ที่ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก [8]
ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้พลเอกสสินดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก [9]
ราชการพิเศษ
- ราชองครักษ์พิเศษ
- ราชองครักษ์เวร
- ตุลาการศาลทหารสูงสุด
ตำแหน่งและหน้าที่พิเศษ
- 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ [10]
- 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[11]
- 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ ประกาศแต่งตั้งรองผู้บัญชาการทหารบก
- ↑ รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์
- ↑ "ผบ.ทบ. มีคำสั่งตั้งกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-12. สืบค้นเมื่อ 2017-04-12.
- ↑ กรรมการอิสระลาออก
- ↑ "คณะกรรมการบริหารสมาคมแม่บ้านทหารบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๐๓ ง พิเศษ หน้า ๑ ๙ กันยายน ๒๕๕๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๑๗ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอน ๒๓๙ ง พิเศษ หน้า ๓ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๓๖ ง พิเศษ หน้า ๑ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๑, ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาและเหรียญจักรมาลา เก็บถาวร 2022-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๔, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖