Share to:

 

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธาน
รองประธานคนที่ 1
รองประธานคนที่ 2
โครงสร้าง
สมาชิก250[1]
กลุ่มการเมือง
  แต่งตั้ง (250)
การเลือกตั้ง
แต่งตั้ง
ที่ประชุม
อาคารรัฐสภาไทย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 (31 กรกฎาคม 2557 – 21 พฤษภาคม 2562) จัดตั้งขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลังรัฐประหาร และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดในฉบับที่ 3 กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา มีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 250 คน โดยมีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้เสนอชื่อ[2]

ซึ่งในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกจำนวน 200 คน ลาออกรวม 12 ราย และได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติม 31 คน หลังจากนั้นมี สมาชิกเสียชีวิต 2 ราย คงเหลือ 217 ราย วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีการแต่งตั้งเพิ่ม 33 ราย จนครบ 250 ราย วันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เสียชีวิต คงเหลือสมาชิก 249 ราย

วันที่ 8 สิงหาคม 2557 สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการลงมติเลือกประธานและรองประธาน ผลปรากฏว่าศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธาน สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธานคนที่ 1 และ พีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานคนที่ 2[3]

สื่อต่างประเทศวิจารณ์สภานี้ว่าเป็นสภาตรายาง เพราะมีสมาชิกที่เป็นทหารจำนวนมาก[4] ด้านภายในประเทศสภานิติบัญญัติถูกวิจารณ์เรื่องการเพิ่มอำนาจให้กับพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม[5] รวมทั้งอำนาจให้พระมหากษัตริย์ให้ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเลขานุการในคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย[6]สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ยังนับเป็นสภาแรกที่ออกพระราชบัญญัติมากถึง 450 ฉบับ[7] พระราชกำหนด 16 ฉบับ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) เฉพาะที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่นับรวมการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อีก 4 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 470 ฉบับ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)

สนช.ชุดนี้ยังมีมติในการแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย

สภานิติบัญญัติแห่งชาติประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ก่อนจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากมีการเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562

รายนามสมาชิก

การแต่งตั้งรอบแรก

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[8] ดังต่อไปนี้

ทั้งนี้หลังจากที่มีประกาศแต่งตั้งแล้ว อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีได้ทำหนังสือแจ้งต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติขอไม่รับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากจุฬาราชมนตรีเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของศาสนาอิสลามในประเทศไทยจึงไม่สมควรรับตำแหน่งทางการเมือง และที่ผ่านมายังไม่มีใครทาบทามให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก สนช.[12] และได้ยื่นหนังสือลาออกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557[13] ในวันเดียวกันนี้ พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร ได้ยื่นหนังสือลาออกเนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญเพราะเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา[14] วันที่ 4 สิงหาคม 2557 พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติเนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญเพราะเคยถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[ต้องการอ้างอิง]

วันที่ 28 สิงหาคม 2557 ได้มีสมาชิกลาออกเพิ่มจำนวน 5 ราย ได้แก่ ณรงค์ชัย อัครเศรณี กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัชตะ รัชตะนาวิน อาคม เติมพิทยาไพสิฐ[15] และ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์[16]ต่อมามีลาออกเพิ่ม 2 รายในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้แก่พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์[17]และวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ได้ยื่นลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[18]ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 นาย บุญทักษ์ หวังเจริญ ได้ลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมลาออก 12 ราย

การแต่งตั้งรอบสอง

25 กันยายน 2557 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม[19][20] ดังต่อไปนี้

การแต่งตั้งรอบสาม

22 ตุลาคม 2558 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมอีก 3 รายดังต่อไปนี้[21]

การแต่งตั้งรอบสี่

11 ตุลาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมอีก 33 รายดังต่อไปนี้[22]

การแต่งตั้งรอบห้า

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมอีก 3 คนดังต่อไปนี้ [23]

  1. พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล
  2. พลเอก สสิน ทองภักดี
  3. พลเอก ธนเกียรติ ชอบชื่นชม

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 พลเอก ยุวนัฎ สุริยกุล ณ อยุธยา ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยให้เหตุผลเรื่องสุขภาพทำให้จำนวนสมาชิกเหลือ 245 คน

ต่อมาวันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง อดีต ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อไปรับตำแหน่งองคมนตรีส่งผลให้เหลือสมาชิกทั้งสิ้น 243 คน ในเวลาต่อมานาย อำพน กิตติอำพน ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อไปรับตำแหน่งองคมนตรี คงเหลือสมาชิกทั้งสิ้น 238 คน

การประชุม

มีรัฐพิธีเปิดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันที่ 7 สิงหาคม 2557 โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธาน วันที่ 8 สิงหาคม 2557 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งแรกเพื่อเลือกประธาน ผลปรากฏว่าศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับเลือก[24]

วันที่ 18 สิงหาคม 2557 เวลา 09.19 น. มีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งประธานและรองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในเวลา 10.10 น. ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาตินัดที่ 2 เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558[ต้องการอ้างอิง]

วันที่ 19 สิงหาคม 2557 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 เป็นวันแรก โดยคณะกรรมาธิการฯ อนุญาตให้ผู้ที่มาชี้แจงรับฟังเท่านั้น ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังการพิจารณา และไม่มีการถ่ายทอดการประชุม นรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุเหตุผลว่า อาจเป็นเพราะต้องการพิจารณาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม สื่อมวลชนไม่ได้รับอนุญาตให้ไปสัมภาษณ์ คสช. ที่บริเวณชั้นลอย อาคารรัฐสภา 1 ซึ่งปกติสื่อมวลชนไปรอสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี[25]

วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีวาระการประชุมวาระเดียว คือ การให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[26] ซึ่งผลปรากฏว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือก

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้อำนาจตนเองถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นับเป็นอีกก้าวหนึ่งเพื่อถอนรากถอนโคนอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร[27]

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิเสธการเพิ่มหลักฐาน 72 ชิ้นในคดีรับจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ มีกำหนดการนั่งพิจารณาคดีการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม 2558[28]

วันที่ 23 มกราคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติฟ้องให้ขับยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งฐานละเลยต่อหน้าที่ต่อโครงการรับจำนำข้าว เป็นผลให้เธอถูกห้ามเล่นการเมืองห้าปี นอกจากนี้ ยังถูกแจ้งข้อกล่าวหาทางอาญาต่อโครงการ ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับโทษจำคุกอีกหากพบว่ามีความผิด[29] หลังมีมติดังกล่าว ยิ่งลักษณ์ถูกห้ามแถลงข่าว[30]

วันที่ 3 มีนาคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติให้ญาติของสมาชิกที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยให้ออกจากตำแหน่ง[31]

วันที่ 9 เมษายน 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มคำถามประชามติว่าจะให้รัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใน 5 ปีหลังรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ได้หรือไม่[32]

สื่อข่าว

ในวันที่ 30 กันยายน 2557 ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งในคดีระหว่างพลเอก นพดล อินทปัญญา กับพวกรวม 28 คน กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยผู้ฟ้องฟ้องว่า การที่ ป.ป.ช. มีมติให้ผู้ฟ้องซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ถูกฟ้องคดี และให้ประกาศเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนมิใช่ผู้ดำรงตำแห่นงทางการเมือง จึงไม่จำเป็นต้องกระทำตามนั้น ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. เห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ ป.ป.ช. ยังเคยมีมติตั้งแต่ปี 2549 ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินด้วย[33]

วันที่ 10 พฤศจิกายน มีการกำหนดค่าตอบแทนให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 75,590 บาท รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เดือนละ 73,420 บาท สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เดือนละ 71,230 บาท[34]

วันที่ 29 มกราคม 2558 กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อภิปรายตอบโต้แดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า การที่นายแดเนียล พูดแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยแถวบ้านตนภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เสือก”[35]

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักข่าวอิศราได้รายงานว่ามีสมาชิกหลายรายตั้งคนในครอบครัวเป็นผู้ช่วย ซึ่งสมาชิกบางคนได้ตั้งบุตรที่ยังไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้ามาช่วยงาน[36]

วันที่ 15 สิงหาคม 2558 มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งให้ สมเกียรติ รอดเจริญ เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย[37]โดยพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559

วันที่ 1 มีนาคม 2559 วิปสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้สมาชิกที่ตั้งบุคคลใกล้ชิดและเครือญาติมาช่วยงานปรับออกทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้ พลเรือเอก ธราธร ขจิตสุวรรณ ตั้งภรรยาดำรงตำแหน่ง 3 ตำแหน่ง กินเงินเดือนรวม 59,000 บาท ตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตั้งบุตรมาช่วยงาน กล่าวว่าที่ผ่านมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทำกันเป็นปกติ จึงถามว่าที่มาพูดตอนนี้มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ และคาดว่าตำแหน่งที่มีเงินเดือนน้อยจะไม่มีผู้ใดรับ ส่วน สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 1 กล่าวว่า สมาชิกชี้แจงว่า ที่ตั้งคนในครอบครัวเพราะเหตุผลด้านการเมืองและมีข้อมูลเป็นความลับ จึงต้องการคนที่ไว้ใจ[38]

วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้ง นางสาวสายพิณ นนท์ปฏิมากุล เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง พีระศักดิ์ พอจิต โดยพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560[39]

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ ร้อยตำรวจตรีหญิง ณัฐสภรณ์ เทศบรรทัด เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย[40]โดย ร้อยตำรวจตรีหญิง ณัฐสภรณ์ เทศบรรทัด ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2561

วันที่ 5 ธันวาคม 2559 พลเอกธีรชัย นาควานิช ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อมา วันที่ 15 ธันวาคม 2559 วีระศักดิ์ ฟูตระกูล ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[41]

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งมนตรี ธนภรรคภวิน[42] เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง พีระศักดิ์ พอจิต

อ้างอิง

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๕๕๙ กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคำแนะนำ"
  2. รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทน
  3. ด่วน!!! นายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับเลือกเป็นประธาน สนช.ตามโผ, sanook news, 27 สิงหาคม 2557
  4. ดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับล่าสุด วิจารณ์ สนช. เป็นเหมือนสภาตรายาง, ข่าวสด, 27 สิงหาคม 2557
  5. การแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม
  6. "ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2018-07-18.
  7. "กระบวนการตราพระราชบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-24. สืบค้นเมื่อ 2018-05-28.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 147 ง วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และ แก้ไขคำผิดพระบรมราชโองการ, ราชกิจจานุเบกษา, 9 กันยายน 2557
  9. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล, เล่มที่ 134, ตอนที่ 12 ข, 11 มีนาคมคม พ.ศ. 2560, หน้า 1-8
  10. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ เล่มที่ 132, ตอนพิเศษ 303 ง, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558, หน้า 5
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ autogenerated1
  12. "อาศิส พิทักษ์คุมพล" จุฬาราชมนตรีขอไม่รับตำแหน่ง "สนช." เก็บถาวร 2015-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยพีบีเอส, 2 สิงหาคม 2557
  13. จุฬาราชมนตรียื่นหนังสือลาออก สนช.แล้ว[ลิงก์เสีย], อสมท., 6 สิงหาคม 2557
  14. พล.อ.ธวัชชัยยื่นหนังสือลาออกสนช. เก็บถาวร 2021-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์, 6 สิงหาคม 2557
  15. 4 สนช. ยื่นหนังสือลาออก แจงติดภารกิจส่วนตัว[ลิงก์เสีย], sping news,28 สิงหาคม 2557
  16. 'พล.ท.สุรเชษฐ์'ลาออกสนช.เป็นคนที่ 5[ลิงก์เสีย], กรุงเทพธุรกิจ, 28 สิงหาคม 2557
  17. ศิริชัย'-'อนันตพร' ลาออกสนช.แล้วคาดร่วมครม. เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานข่าวไอเอ็นเอ็น, 20 สิงหาคม 2558
  18. วัชรพล ประสารราชกิจลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สำนักงานข่าวเดลินิวส์, 1 ตุลาคม 2558
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ ๑๒๑, ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง, ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  20. โปรดเกล้าฯตั้งสนช.อีก28คน[ลิงก์เสีย], กรุงเทพธุรกิจ, 27 กันยายน 2557
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ 132, ตอนพิเศษ 269 ง, 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558, หน้า 1
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ 230 ง, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559, หน้า 1-2
  23. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๓๖ ง พิเศษ หน้า ๑ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
  24. พรเพชรเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[ลิงก์เสีย] ,now26.tv,8 สิงหาคม 2557
  25. "สั่งห้ามสื่อเข้าฟัง กมธ.งบฯ 58 เข้ม! กันสื่อตรวจสอบงบ 2.5 ล้านล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ 2014-08-20.
  26. "วิปสนช.แจงเกณฑ์เลือกนายกฯ ต้องได้เสียงโหวต 99 คะแนน ขึ้นไป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2014-08-21.
  27. "Thai assembly votes itself the power to impeach politicians, sideline critics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-02.
  28. Shaohui, Tian (November 30, 2014). "Former Thailand's PM Yingluck Impeachment Case to Kick Off in Early 2015". Women of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-10. สืบค้นเมื่อ 30 November 2014.
  29. "Profile: Yingluck Shinawatra" (ภาษาอังกฤษ). BBC. 2015-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.
  30. "คสช. ประสาน "ยิ่งลักษณ์" งดแถลงที่เอสซีปาร์ค ตำรวจ-ทหาร ตรึงกำลังแน่น!". มติชน. 2015-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.[ลิงก์เสีย]
  31. เผยมติวิปสนช.เห็นควรให้สมาชิกเชิญ"เมีย-ลูก-ญาติ"ออกจากตำแหน่ง ผช., อิศรา, 3 มีนาคม 2558, สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2558
  32. สนช.เคาะตั้งคำถามพ่วงประชามติให้รัฐสภาฯโหวตเลือกนายกฯ โพสต์ทูเดย์.
  33. “บิ๊กกี่”นำทัพสนช.28 คน ฟ้องเงียบป.ป.ช. ลงมติให้เปิดเผยทรัพย์สินโดยมิชอบ
  34. "คลอดแล้ว!ค่าตอบแทน หน.คสช. สนช. สปช. รับ 113,560 -125,590 บาท/ด". Isra News. 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.
  35. "หลุดกลางที่ประชุมสนช. กิตติศักดิ์ กร้าว ผู้ช่วยรมว.ต่างประเทศสหรัฐ ทีหลังอย่า ′เสือก′". มติชน. 2015-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-22. สืบค้นเมื่อ 2015-02-01.
  36. เปิดชื่อ! สนช.กว่าครึ่งร้อยตั้ง“เมีย-ลูก-ญาติ”ช่วยงาน-เงินเดือน 1.5-2 หมื่น, อิศรา, 27 กุมภาพันธ์ 2558, สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2558
  37. ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  38. สนช.ตั้งภรรยาควบ 3 ตำแหน่ง รับเงินเดือนละ 5.9 หมื่น[ลิงก์เสีย], มติชน, 4 มีนาคม 2559, สืบค้นวันที่ 9 มีนาคม 2559
  39. ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  40. ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  41. ‘วีระศักดิ์ ฟูตระกูล’ ลาออก สนช. เผย ยังบอกไม่ได้ ปมไปเป็นรัฐมนตรี รอความชัดเจน
  42. ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya