สถาบันวิทยาลัยชุมชน
สถาบันวิทยาลัยชุมชน [3] เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่เดิมคือ "สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน" ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลวิทยาลัยชุมชนทั่วประเทศ ปัจจุบันจำนวน 20 แห่ง ประวัติการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย เกิดจากความจำเป็นในการผลิตกำลังคนเพื่อสนองความต้องการพัฒนาประเทศและมีแนวความคิดที่จะใช้การจัดการศึกษาตามหลักการวิทยาลัยชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 กำหนดนโยบายการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้ส่งเสริมการศึกษาและทดลองการจัดการศึกษาแบบวิทยาลัยชุมชนเพื่อสนองความต้องการกำลังคนระดับกลางในแขนงวิชาที่ประเทศมีความต้องการมาก ตลอดจนปัญหาในระดับอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาเป็นไปเพื่อคนส่วนน้อยไม่เกิดความเป็นธรรมในสังคม ปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อความเจริญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้เตรียมการปฏิรูปการศึกษา ใน พ.ศ. 2520 จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตขึ้นเป็นแห่งแรก[4] โดยให้เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้จัดตั้งขึ้นอีกแห่งที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2527 ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในสังกัดวิทยาลัยครู ขึ้น 4 แห่ง คือ วิทยาลัยชุมชนพิบูลสงคราม วิทยาลัยชุมชนอุบลราชธานี วิทยาลัยชุมชนนครราชสีมา และวิทยาลัยชุมชนนครศรีธรรมราช (แต่ในระหว่างที่เตรียมการดำเนินงานวิทยาลัยชุมชนนั้น มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูให้เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ดังนั้น จึงไม่มีการดำเนินการวิทยาลัยชุมชนต่อ) ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน “นำร่อง”คณะกรรมการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนทุกจังหวัด ได้เลือกสถานศึกษา 10 แห่ง มาเป็นวิทยาลัยชุมชน โดยได้สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา 3 แห่ง และสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน 7 แห่ง จากนั้น ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2545 กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนโดยให้สถานศึกษาทำหน้าที่วิทยาลัยชุมชน และทำภารกิจเดิมควบคู่ไปด้วย มีสถานศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเป็นวิทยาลัยชุมชน ดังนี้ 1) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็น วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 2) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดตาก เป็น วิทยาลัยชุมชนตาก 3) วิทยาลัยการอาชีพโพทะเล จังหวัดพิจิตร เป็น วิทยาลัยชุมชนพิจิตร 4) วิทยาลัยการอาชีพบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เป็น วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี 5) ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดสระแก้ว เป็น วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว 6) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นวิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ 7) วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู เป็น วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู 8) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร เป็น วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 9) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดระนอง เป็น วิทยาลัยชุมชนระนอง 10) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนราธิวาส เป็น วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส จากนั้นเป็นต้นมา วิทยาลัยชุมชนตามประกาศดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการตามภารกิจ และแนวทางการดำเนินงานที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ โดยมีวิทยาลัยชุมชนเป็นสถาบันหลัก และใช้สถานศึกษา และหน่วยงานราชการเป็นที่จัดการเรียนการสอนที่กระจายไปถึงระดับอำเภอ ยุคสำนักงานส่งเสริมวิทยาลัยชุมชน - สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการระบบบริหารจัดการวิทยาลัยชุมชนกล่าวได้ว่าปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2546 เป็นระยะเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยชุมชน โดยที่กระทรวงศึกษาธิการมีแนวทางเพื่อหลอมรวมสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน ได้แก่สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมพลศึกษา และกรมอื่นๆ ให้มาเป็นวิทยาลัยชุมชน เพื่อความเป็นเอกภาพทางการศึกษา โดยให้ทำงานประสานเป็นเครือข่ายและจัดการศึกษาเพิ่มเติมเต็มในส่วนที่ขาด และปรับระบบบริหารจัดการใหม่ตามหลักการวิทยาลัยชุมชน เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ จึงได้ดำเนินการดังนี้ 1) ให้จังหวัดเลือกคณะกรรมการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนจังหวัด ที่มีองค์ประกอบของบุคคล จากภาครัฐ เอกชน และชุมชน โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดตั้งและสนับสนุนวิทยาลัยชุมชนเสนอกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้ง 2) ให้คณะกรรมการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเลือกสถานศึกษาที่มีศักยภาพและมีภารกิจเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยชุมชนอยู่แล้ว ให้เป็นสถานศึกษาหลักที่จะเป็นวิทยาลัยชุมชน เสนอกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้ง 3) ให้กรรมการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเสนอกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานวิทยาลัยชุมชนจังหวัดที่มีองค์ประกอบจากสถานศึกษาที่เป็นวิทยาลัยชุมชน สถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐ เอกชน ชุมชน ทำหน้าที่วางระบบบริหารจัดการวางแผนและประสานการดำเนินงานให้เกิดการเรียนการสอนในระยะแรก 4) ให้สถานศึกษาหลักที่เป็นวิทยาลัยชุมชนทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน โดยมีภารกิจ 2 ส่วน คือ ภารกิจเดิมของสถานศึกษาและเพิ่มภารกิจของวิทยาลัยชุมชน 5) ให้มีสำนักประสานงานวิทยาลัยชุมชนจังหวัดทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะทำงานดำเนินงาน และประสานกับสถานศึกษาที่เป็นวิทยาลัยชุมชนเครือข่ายหรือแหล่งสนับสนุน ใน พ.ศ. 2545-2546 เป็นระยะเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยชุมชน กระทรวงศึกษาธิการได้ออกแบบระบบริหารจัดการ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค มีรายละเอียดดังนี้ 1. ส่วนกลางมีคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนระดับชาติ ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ เอกชน และชุมชน เป็นกรรมการ มีหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนพัฒนา กำหนดมาตรฐาน กำกับติดตามและประเมินผล สนับสนุนทรัพยากร ส่งเสริมการประสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีคณะกรรมการจำนวนไม่เกิน35 คน โดยมีสำนักงานส่งเสริมวิทยาลัยชุมชน (ปรับชื่อจากสำนักงานโครงการวิทยาลัยชุมชน) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ และเป็นหน่วยงานกลางดำเนินการและประสานการดำเนินงานกับทุกระดับ
2. ส่วนภูมิภาคมีคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชนจังหวัด ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ เอกชน ชุมชน และองค์กรเครือข่ายร่วมจัดการศึกษา เป็นกรรมการ มีหน้าที่จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาระดับจังหวัด เสนอและอนุมัติให้อนุปริญญา ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตร กำกับดูแล พิจารณาจัดตั้ง ยุบรวม หรือเลิกการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน ประสาน ส่งเสริม การจัดและการระดมทรัพยากร มีคณะกรรมการจำนวนไม่เกิน 19 คน โดยมีสำนักงานวิทยาลัยชุมชนเป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ มีวิทยาลัยชุมชนเป็นสถานศึกษา ทำหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจวิทยาลัยชุมชนร่วมกับวิทยาลัยชุมชนเครือข่าย โดยมีสำนักงานวิทยาลัยชุมชนเป็นหน่วยอำนวยการส่งเสริมสนับสนุน ยุคสำนักงานบริหารงานวิทยาลัยชุมชน - สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสถานะการดำเนินงานวิทยาลัยชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งบัญญัติให้มีกระทรวงศึกษาธิการ โดยการจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติที่ออกตามนัยของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้าง องค์กร การแบ่งส่วนงาน การจัดระบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการจัดระบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ ในส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลได้ทยอยเสนอไปยังรัฐสภาเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ สำหรับการจัดโครงสร้าง องค์กร การแบ่งส่วนงานนั้น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546ได้บัญญัติให้กระทรวงศึกษาธิการจัดระบบบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐใหม่ ในการนี้ ให้ปรับสำนักงานส่งเสริมวิทยาลัยชุมชนเข้าสู่โครงสร้างใหม่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ “กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญารูปแบบวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2546” ขึ้น เป็นกฎหมายรองรับการดำเนินงานวิทยาลัยชุมชน โดยสาระสำคัญหลัก คือ (1) ให้วิทยาลัยชุมชนเป็นสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาซึ่งบริหารจัดการโดยชุมชน (2) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและฝึกอบรมด้านวิชาการและวิชาชีพตามหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในชุมชน (3) ให้วิทยาลัยชุมชนเป็นส่วนราชการในสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (4) การบริหารงาน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
บทบาทหน้าที่สำนักงานบริหารงานวิทยาลัยชุมชนสถาบันวิทยาลัยชุมชน เป็นไปพร้อมๆ กับการประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดให้สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
ภายใต้โครงสร้างใหม่นี้ มีนางสาวสุนันทา แสงทอง เป็นผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ยุคสถาบันวิทยาลัยชุมชนสำนักงานบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ได้ยกฐานะเป็น สถาบันวิทยาลัยชุมชน ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558 โดยมีผลบังคับใช้ในวันถัดไป มีฐานะนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (แต่ไม่เทียบเท่าสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ) มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 8 "เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ให้สถาบัน เป็นสถานศึกษาซึ่งจัดการศึกษาโดยวิทยาลัยชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา วิจัย ให้บริการ ทางวิชาการ ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ของท้องถิ่นและชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างศักยภาพบุคคล ตอบสนองและสอดคล้องต่อความต้องการ และการประกอบอาชีพของท้องถิ่นและชุมชนซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประเทศ" ภายหลังพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ได้จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ขึ้น โดยเป็นการรวมหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเข้าด้วยกัน ส่งผลให้สถาบันวิทยาลัยชุมชุนเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมด้วย ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันฯ และวิทยาลัยในสังกัด
ส่วนงานราชการสถาบันวิทยาลัยชุมชน มีส่วนงานราชการตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558 ดังนี้
สำนักงานสถาบันสำนักงานสถาบันวิทยาลัยชุมชน มีหน่วยงานภายใน ดังนี้
วิทยาลัยในสังกัดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และกระทรวงศึกษาธิการมีประกาศจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2545 จำนวน 10 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร ตาก บุรีรัมย์ มุกดาหาร หนองบัวลำภู สระแก้ว อุทัยธานี ระนอง และนราธิวาส และในปี พ.ศ. 2547 ได้ดำเนินการขยายจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา และปัตตานี และวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ได้มีการดำเนินการขยายการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง คือ จังหวัดยโสธร สมุทรสาคร ตราด สตูล และพังงา ต่อมาได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเพิ่มเติมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ในปีพ.ศ. 2549 จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนแพร่ พ.ศ. 2550 จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสงขลา เพื่อรับผิดชอบการศึกษาในพื้นที่พิเศษ 4 อำเภอและเมื่อ พ.ศ. 2554 มีการจัดตั้งวิทยาชัยชุมชนน่าน เป็นวิทยาลัยล่าสุด
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|