สุจาริณี วิวัชรวงศ์
สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) มีนามเดิมคือ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา[1][2] เป็นอดีตหม่อมในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นอดีตนักแสดงชาวไทย มีชื่อแรกเกิดว่า ยุวธิดา ผลประเสริฐ ชื่อเล่น เบนซ์ และเคยใช้ชื่อในการแสดงว่า ยุวธิดา สุรัสวดี มีผลงานการแสดงภาพยนตร์และละครจำนวนหนึ่งช่วงปี พ.ศ. 2520–2522 แล้วออกจากวงการบันเทิง และยังเป็นพระมารดาใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ปัจจุบันสุจาริณีและพระราชโอรสทั้งสี่องค์ ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์, วัชเรศร วิวัชรวงศ์, จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ และวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ พำนักอยู่สหรัฐ[3] ประวัติชีวิตตอนต้นสุจาริณีมีชื่อแต่แรกเกิดว่า ยุวธิดา ผลประเสริฐ เป็นธิดาของธนิต ผลประเสริฐ และเยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร[4] (วงศ์นาคน้อย) เยาวลักษณ์ เป็นนักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่มีชื่อเสียงและมีผลงานเพลงจำนวนหนึ่ง เธอเป็นธิดาของ นายเล็ก วงศ์นาคน้อย กับนางสมัคร วงศ์นาคน้อย คุณตา ของเธอ คือ นายฉันท์ โกมารกุล ณ นคร คุณตาของเธอ ยังเป็นพี่น้องกับ เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) อีกด้วยสกุล โกมารกุล ณ นคร เป็นราชสกุลเชื้อสายตรงพระเจ้าตากสินมหาราช หมวดหมู่:ราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยุวธิดา เธอ สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลป ธนิต ผลประเสริฐ (ชื่อเดิม เรือง[5]) บิดาของเธอเป็นอดีตนักแต่งเพลงและนักดนตรีของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้สมัครเป็นหน่วยกล่อมขวัญในกองทัพไทยช่วงสงครามเกาหลี[6]และสงครามเวียดนาม[5] ทั้งนี้บันทึกจากหนังสือ "อนุสรณ์สุนทราภรณ์ครบรอบ 30 ปี" ระบุว่าธนิตเขียนทำนองเพลงให้วงดนตรีสุนทราภรณ์จำนวน 300 – 400 เพลง[5] [7] ในวงการบันเทิงสุจาริณีเข้าสู่วงการแสดงจากการชักนำของศรินทิพย์ ศิริวรรณ โดยใช้ชื่อในการแสดงว่า ยุวธิดา สุรัสวดี และยุวธิดา ผลประเสริฐ ที่เป็นชื่อจริงด้วย แสดงละครโทรทัศน์เรื่อง "กฎแห่งกรรม" และ "มนุษย์ประหลาด" จากนั้นรับบทตัวประกอบในภาพยนตร์ "15 หยก ๆ 16 ไม่หย่อน" (พ.ศ. 2520) กำกับโดยชนะ คราประยูร และบทรองใน "เลือดในดิน" (พ.ศ. 2520) คู่กับสรพงศ์ ชาตรี และอรัญญา นามวงศ์ กำกับโดยสมสกุล ยงประยูร[8] และได้รับบทนำเป็น ช้อย ในภาพยนตร์เรื่อง "แสนแสบ" (พ.ศ. 2521) คู่กับไพโรจน์ สังวริบุตร กำกับโดยไพรัช กสิวัฒน์ "ไอ้ถึก" (พ.ศ. 2522) คู่กับสรพงศ์ ชาตรี กำกับโดยจรัล พรหมรังสี อำนวยการสร้างโดยชาญ มีศรี [8] และ "หัวใจที่จมดิน" (พ.ศ. 2522) กำกับโดยเชาว์ มีคุณสุต คู่กับพิศมัย วิไลศักดิ์, พิศาล อัครเศรณี, อุเทน บุญยงค์ และมารศรี ณ บางช้าง [9][10][11] ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 ยุวธิดาได้ออกจากวงการบันเทิง โดยปรากฏตามข่าวเพียงว่า "เธอ ยุวธิดา ผลประเสริฐ อดีตนางเอกดาวรุ่งหันหลังให้กับวงการบันเทิงด้วยความจำเป็นหลายประการ..."[12] อภิเษกสมรสและการหย่าพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถแล้ว ได้มีปฏิสันถารกับสุจาริณีที่ขณะนั้นเป็นนักแสดงสาวที่มีชื่อเสียง และมีความสัมพันธ์ต่อกันช่วงปี พ.ศ. 2522-2530 ก่อนอภิเษกสมรสกัน สุจาริณีได้ให้ประสูติพระโอรส-ธิดา จำนวนห้าองค์ ได้แก่[13][14]
ล่วงมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ทั้งสองได้อภิเษกสมรส โดยมีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินมาร่วมพิธี แต่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนีพันปีหลวงมิได้เสด็จพระราชดำเนินด้วย หลังพระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงเปลี่ยนชื่อเป็น หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้มียศเป็น พันตรีหญิง แห่งกองทัพบกไทย และปรากฏตัวร่วมกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพระราชพิธีต่าง ๆ หลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพ.ศ. 2539 หม่อมสุจาริณีและพระโอรส-ธิดาทั้งห้าองค์ได้ลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษด้วยเหตุขัดแย้งกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทำให้มีการโปรยใบประกาศรอบพระตำหนักนนทบุรี กล่าวหาว่าหม่อมสุจาริณีคบชู้กับพลอากาศเอกอนันต์ รอดสำคัญ ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์[19] ตามมาด้วยการถอดยศทหารอากาศคนดังกล่าว ด้วยข้อหาผิดวินัยและหลบหนีคดีอาญา[20][21](ทั้งหมดคือข้อกล่าวหา ซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าคือความจริงหรือไม่?) หลังหม่อมสุจาริณีลี้ภัยไปยังต่างประเทศ เธอและพระโอรสทั้งสี่องค์ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์และตำแหน่ง และใช้นามสกุลพระราชทานว่า วิวัชรวงศ์ ขณะที่หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดาองค์เล็ก ได้กลับสู่ประเทศไทยโดยอยู่ในการดูแลของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[22] ปัจจุบันคือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา[23][24] ส่วนสุจาริณีและพระโอรสทั้งสี่องค์ได้พำนักในสหรัฐจนถึงปัจจุบัน[25] ผลงานภาพยนตร์
ละคร
เกียรติยศชื่อและฐานันดรศักดิ์
ทางทหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|