สุรพล เกียรติไชยากร
สุรพล เกียรติไชยากร หรือ เฮียเส่ง[1] (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย 7 สมัย ประวัตินายสุรพล เกียรติไชยากร เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม จากมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยพะเยา) และได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการท่องเที่ยว รวมถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สุรพล สมรสกับนางเพ็ญพร เกียรติไชยากร (สกุลเดิม ตันตรานนท์) พี่สาวของนายวัชระ ตันตรานนท์ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา[2] งานการเมืองสุรพล เกียรติไชยากร เริ่มต้นงานการเมืองในปี พ.ศ. 2535 โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องมาหลายสมัย ได้แก่ กันยายน พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554 โดยมีการเลือกตั้งเพียง 3 ครั้ง นายสุรพล เกียรติไชยากร ไม่ได้รับเลือกตั้ง คือ พ.ศ. 2539 ได้รับคะแนน 90,555 เป็นลำดับที่ 5[3] ในการเลือกตั้งแบบเขตเดียว 3 คน และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ซึ่งนายสุรพลได้รับคะแนนสูงสุด แต่ กกต. เห็นว่า พฤติการณ์ของนายสุรพล เข้าข่ายผิด พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 73(2) ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิวัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ จึงมีมติสั่งเพิกถอนสิทธิสมัคร นายสุรพล เกียรติไชยากร ว่าที่ส.ส.เขต 8 เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ไว้เป็นการชั่วคราว (1 ปี)[4] อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ศาลสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชดใช้เงินแก่เขาจำนวน 70 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายและเยียวยาฐานทำให้เสียชื่อเสียงจากการถูกแจกใบส้ม ภายหลังศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีบูชาเทียนว่าไม่ใช่การซื้อเสียง[5] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ นายสุรพลเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ เช่น เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ประชา มาลีนนท์) ในรัฐบาลทักษิณ[6] และล่าสุด ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนายสุรพล เกียรติไชยากร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 สมัย ได้แก่
งานด้านการศึกษานายสุรพล ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[8] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|