Share to:

 

พรรคสามัคคีธรรม

พรรคสามัคคีธรรม
ผู้ก่อตั้งณรงค์ วงศ์วรรณ
แกนนำ รสช.
หัวหน้าณรงค์ วงศ์วรรณ
รองหัวหน้าสอาด ปิยวรรณ
เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
พินิจ จันทรสุรินทร์
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ประชุม รัตนเพียร
สุบิน ปิ่นขยัน
อาทิตย์ อุไรรัตน์
ประสพ บุษราคัม
ชัชวาลย์ ชมภูแดง
วีรวร สิทธิธรรม
กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์
เลขาธิการฐิติ นาครทรรพ
รองเลขาธิการนิคม แสนเจริญ
โฆษกสุชาติ ตันเจริญ
กรรมการบริหารวิมล ธิเวกานนท์
เรืองวิทย์ ลิกค์
มงคล จงสุทธนามณี
ชวลิต โอสถานุเคราะห์
สมบัติ ศรีสุรินทร์
สุชาติ ตันเจริญ
อภิชาติ หาลำเจียก
เสกสรร แสนภูมิ
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
สวัสดิ์ คำประกอบ
ประพาส ลิมปะพันธุ์
จำนงค์ โพธิสาโร
ประเทือง คำประกอบ
สยม รามสูต
สมศักดิ์ คุณเงิน
เจริญ เชาวน์ประยูร
ทรงยศ รามสูต
ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร
อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
สังวาลย์ วงศ์วรรณ
สนธยา คุณปลื้ม
วัลลภ สุปริยศิลป์
ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ
ประทวน เขียวฤทธิ์
ประธานที่ปรึกษาอาทิตย์ กำลังเอก
นโยบายจะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความมั่นคงทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อความผาสุกของประชาชนโดยถ้วนหน้า ทั้งนี้ โดยอาศัยวิธีการตามหลักการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ก่อตั้ง3 มกราคม พ.ศ. 2535
รับรองตามกฎหมาย24 มกราคม 2535
ถูกยุบ24 ธันวาคม พ.ศ. 2535
แยกจากพรรคชาติไทย
พรรคเอกภาพ
ถัดไปพรรคชาติพัฒนา
พรรคเสรีธรรม
พรรคเทิดไท (สมาชิกที่เหลือ)
ที่ทำการ444/1 ถนนนครสวรรค์ แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพ
อุดมการณ์อนุรักษนิยม
ทหารนิยม
สี  เขียว
  เหลือง
สภาผู้แทนราษฎร มีนาคม พ.ศ. 2535
79 / 360
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคสามัคคีธรรม (อังกฤษ: Justice Unity Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่สนับสนุนกองทัพและอนุรักษ์นิยม จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารโดยกองทัพเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534[1] ก่อตั้งโดยนายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพ เป็นหัวหน้าพรรคและนาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ ผู้ใกล้ชิดกับคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นเลขาธิการพรรค[2] พรรคสามัคคีธรรมเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกองทัพ ข้าราชการ และเจ้าของธุรกิจในจังหวัด[1]

พรรคสามัคคีธรรม ได้ประกาศนโยบายของพรรคไว้ว่า "จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความมั่นคงทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อความผาสุขของประชาชนโดยถ้วนหน้า ทั้งนี้ โดยอาศัยวิธีการตามหลักการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข"[3]

คณะกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม

ลำดับที่ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ประธานที่ปรึกษาพรรค อดีต ผู้บัญชาการทหารบก
อดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
อดีตหัวหน้า พรรคปวงชนชาวไทย
2 ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรค อดีตหัวหน้า พรรครวมไทย
อดีตหัวหน้า พรรคเอกภาพ
3 สอาด ปิยวรรณ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 1
4 เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 2 อดีตหัวหน้า พรรคประชาชน
อดีตเลขาธิการ พรรคประชาธิปัตย์
อดีตเลขาธิการ พรรคเอกภาพ
5 พินิจ จันทรสุรินทร์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 3
6 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 4
7 ประชุม รัตนเพียร รองหัวหน้าพรรคคนที่ 5
8 สุบิน ปิ่นขยัน รองหัวหน้าพรรคคนที่ 6
9 อาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 7
10 ประสพ บุษราคัม รองหัวหน้าพรรคคนที่ 8
11 ชัชวาลย์ ชมภูแดง รองหัวหน้าพรรคคนที่ 9
12 วีรวร สิทธิธรรม รองหัวหน้าพรรคคนที่ 10
13 กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 11
14 นาวาอากาศตรี ฐิติ นาครทรรพ เลขาธิการพรรค
15 นิคม แสนเจริญ รองเลขาธิการพรรคคนที่ 1
16 สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ รองเลขาธิการพรรคคนที่ 2
17 สันติ ชัยวิรัตนะ รองเลขาธิการพรรคคนที่ 3
18 ใหม่ ศิรินวกุล รองเลขาธิการพรรคคนที่ 4
19 รักเกียรติ สุขธนะ รองเลขาธิการพรรคคนที่ 5
20 ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รองเลขาธิการพรรคคนที่ 6
21 วิมล ธิเวกานนท์ กรรมการบริหารพรรค
22 เรืองวิทย์ ลิกค์ กรรมการบริหารพรรค
23 มงคล จงสุทธนามณี กรรมการบริหารพรรค
24 ชวลิต โอสถานุเคราะห์ กรรมการบริหารพรรค
25 สมบัติ ศรีสุรินทร์ กรรมการบริหารพรรค
26 สุชาติ ตันเจริญ กรรมการบริหารพรรคและโฆษกพรรค
27 อภิชาติ หาลำเจียก กรรมการบริหารพรรค
28 เสกสรร แสนภูมิ กรรมการบริหารพรรค
29 บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ กรรมการบริหารพรรค
30 สวัสดิ์ คำประกอบ กรรมการบริหารพรรค
31 ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ กรรมการบริหารพรรค
32 จำนงค์ โพธิสาโร กรรมการบริหารพรรค
33 ประเทือง คำประกอบ กรรมการบริหารพรรค
34 สยม รามสูต กรรมการบริหารพรรค
35 สมศักดิ์ คุณเงิน กรรมการบริหารพรรค
36 เจริญ เชาวน์ประยูร กรรมการบริหารพรรค
37 ทรงยศ รามสูต กรรมการบริหารพรรค
38 ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร กรรมการบริหารพรรค
39 อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ กรรมการบริหารพรรค
40 สังวาลย์ วงศ์วรรณ กรรมการบริหารพรรค
41 สนธยา คุณปลื้ม กรรมการบริหารพรรค
42 วัลลภ สุปริยศิลป์ กรรมการบริหารพรรค
43 ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ กรรมการบริหารพรรค
44 ประทวน เขียวฤทธิ์ กรรมการบริหารพรรค

ความสัมพันธ์กับ รสช.

พรรคสามัคคีธรรม ถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนแกนนำ รสช. และอาจกล่าวได้ว่า แกนนำ รสช.บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจหลังการเลือกตั้ง จึงมีที่มาคล้ายคลึงกับพรรคเสรีมนังคศิลา ที่เคยสนับสนุน จอมพล ป.พิบูลสงคราม และพรรคสหประชาไทย ที่เคยสนับสนุน จอมพลถนอม กิตติขจร ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้ นักการเมืองบางคนที่สังกัดพรรคนี้ ยังเคยเป็นสมาชิกพรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทยอีกด้วย

การเลือกตั้ง มีนาคม พ.ศ. 2535

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคสามัคคีธรรม ได้รับเลือกตั้งเข้ามาจำนวน 79 คน จากจำนวน 360 ที่นั่ง เป็นอันดับที่ 1 จึงต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยการสนับสนุนจากพรรคการเมือง 4 พรรค คือ พรรคชาติไทย (74 คน) พรรคกิจสังคม (31 คน) พรรคประชากรไทย (7 คน) และพรรคราษฎร (4 คน) รวมเป็น 195 คน ขณะที่พรรคความหวังใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังธรรม พรรคเอกภาพ พรรคปวงชนชาวไทย และพรรคมวลชน ร่วมกันเป็นฝ่ายค้าน

เนื่องจากปัญหาของนายณรงค์ ที่ต่อมามีการยืนยันจาก นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในขณะนั้น ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ต้องห้ามไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้เพราะมีความใกล้ชิดกับการค้ายาเสพติด[4] ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และว่าข่าวนี้เป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้นเพื่อกีดกันไม่ให้ตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[5] แต่ในที่สุดแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ได้เลือกเสนอชื่อ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นทูลเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ท่ามกลางกระแสเรียกร้องจากประชาชนที่ว่า "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" ซึ่งเป็นกระแสหลักของสังคมในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจากยุคของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และทำให้พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 ถูกขนานนามจากสื่อมวลชนยุคนั้นว่า เป็น"พรรคมาร" เพื่อเปรียบเทียบกับ "พรรคเทพ" ที่หมายถึงพรรคฝ่ายค้าน 4 พรรค

หลังการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.สุจินดา เกิดกระแสต่อต้านจากสังคมมากมาย ถึงขั้นมีประชาชนชุมนุมประท้วงจำนวนมาก และในที่สุดนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จนทำให้ในต้องจัดการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปีเดียวกัน คือในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535

การเปลี่ยนชื่อพรรค

สัญลักษณ์พรรคเทิดไท

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 พรรคสามัคคีธรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค โดยใช้ชื่อว่า "พรรคเทิดไท" มีนายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นเลขาธิการพรรค[6] แต่ก็ต้องยุติการดำเนินงานการเมือง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 โดยการลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งคณะ[7] โดยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ทางพรรคมิได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งศาลฎีกา ที่ 4098/2535 ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ยุบพรรคเทิดไท[8]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Connors, Michael K. (2001), "Thailand", The Southeast Asia Handbook, Fitzroy Dearborn Publishers
  2. Maisrikrod, Surin (1993). "THAILAND 1992: Repression and Return of Democracy". Southeast Asian Affairs. ISEAS–Yusof Ishak Institute. 1993: 327–349. doi:10.1355/SEAA93S. ISSN 0377-5437. JSTOR 27912083.
  3. สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 17 พ.ศ. 2535, หน้า 20-21, 93, 100, 201, 290
  4. จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 3 (ISBN 974-88799-9-2)
  5. ชนะคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ขอปรึกษาฟ้องแพ่งค่ะ
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคสามัคคีธรรมเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ชื่อพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค
  7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเทิดไทเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
  8. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง (จำนวน 10 พรรค)
Kembali kehalaman sebelumnya