Share to:

 

หมาผัวโต้วฟู

หมาผัวโต้วฟู
หมาผัวโต้วฟูในร้านอาหารแห่งหนึ่ง
แหล่งกำเนิดจีน
ภูมิภาคเสฉวน
ส่วนผสมหลักเต้าหู้, โต้วป้าน และเต้าซี่ พร้อมด้วยเนื้อสับละเอียด
หมาผัวโต้วฟู
"หมาผัวโต้วฟู" เขียนด้วยอักษรจีน
ภาษาจีน麻婆豆腐
ฮั่นยฺหวี่พินอินmápó dòufu
ความหมายตามตัวอักษร"เต้าหู้ยายหน้าปรุ"

หมาผัวโต้วฟู (จีน: 麻婆豆腐; พินอิน: mápó dòufu) เป็นอาหารจีนยอดนิยมชนิดหนึ่งจากมณฑลเสฉวน ประกอบด้วยเต้าหู้ปรุงในน้ำซอสพริกหมาล่า มีความมันและสีแดงเข้มจากส่วนผสมของโต้วป้าน (เครื่องปรุงที่ทำจากถั่วปากอ้าหมักดองกับพริก) เต้าซี่ (ถั่วดำหมักดอง) รสเผ็ดชาของพริกและพริกไทยเสฉวน พร้อมกับเนื้อสับซึ่งตามธรรมเนียมเดิมจะใช้เนื้อวัว[1] อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมส่วนผสมโดยใช้แห้วจีน หัวหอม ผักอื่น ๆ และเห็ดหูหนูเป็นต้น บันทึกฉบับหนึ่งแสดงให้เห็นว่าอาหารชนิดนี้มีมานานอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1254 ในย่านชานเมืองของเฉิงตูซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเสฉวน[2]

ศัพทมูลวิทยา

"หมา" ย่อมาจาก หมาจึ (麻子; mázi) ซึ่งแปลว่า หลุมสิว และ "ผัว" เป็นพยางค์แรกของ (婆婆; pópo) แปลว่า หญิงชราหรือยาย ดังนั้น หมาผัว (婆) คือ หญิงชราที่มีใบหน้าเป็นสิว (หน้าปรุ) ซึ่งแปลได้ว่า "เต้าหู้ยี้ของยาย"[3]

ตามตำราอาหารเสฉวนของนางเจียง "ยูจีน อู๋ บรรณารักษ์แห่งห้องสมุดฮาร์วาร์ด-ย่านจิง ผู้เติบโตขึ้นมาในเฉิงตู อ้างว่าเมื่อเป็นเด็กนักเรียน เขาเคยกิน "เต้าหู้ยายหน้าปรุ" หรือ หมาผัวโต้วฟู ที่ร้านอาหารที่ดำเนินการโดย หญิงชราที่มีใบหน้าเป็นสิวต้นตำรับเอง เป็นอาหารตามสั่งและระบุขนาดของจานได้ ซึ่งปรุงในห้องครัวที่เปิดโล่งในห้องอาหาร มีความสด หอม เผ็ดร้อน และเผ็ดชา"[4]

หมาผัวโต้วฟูได้รับนำเข้าไปในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมโดยเชฟ เฉิน เจี้ยนหมิน (陈建民; Chen Kenmin) ลูกครึ่งชาวจีน-ญี่ปุ่น และโดยเฉิน เจี้ยนอี้ (陳建一; Chen Kenichi) ลูกชายของเขา ผู้ทำให้อาหารจานนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากเป็นหนึ่งในเมนูที่เขาทำประจำในรายการโทรทัศน์ยุทธการกระทะเหล็ก[5][6][7]

ในประเทศไทยบางครั้งอาจเรียก เต้าหู้ผัดพริกเสฉวน[8]

ลักษณะเฉพาะ

หมาผัวโต้วฟูแท้ ๆ มีรสเผ็ดมากด้วยการผสมทั้งความเผ็ดแบบ "รสเผ็ดร้อน" จากพริก และ"รสหมาล่า" (ความเผ็ดชาที่ลิ้นและปาก) จากพริกไทยเสฉวน (ฮวาเจียว) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของอาหารจีนเสฉวน ซึ่งให้ความรู้สึกของอาหารแต่ละจานด้วยความคิดหลักอธิบายโดยพ่อครัวด้วยการใช้คำคุณศัพท์ภาษาจีน 7 คำ คือ หมา (麻; má) (ชา), ล่า (辣; là) (เผ็ด), ทั่ง (烫: tàng) (ร้อน), เซียน (鲜; xiān) (สด), เนิ่น (嫩; nèn) (นุ่ม) , เซียง (香; xiang) (หอม) และ ชู่ (酥: sū) (ขุย) ในปัจจุบันนอกประเทศจีนสามารถหาหมาผัวโต้วฟูได้ไม่ยาก แต่ในรูปแบบและรสชาติที่แท้มักหาได้เฉพาะในร้านอาหารจีนเสฉวนที่ไม่ดัดแปลงอาหารเท่านั้น

รูปแบบอื่น

หมาผัวโต้วฟูยังสามารถพบได้ในร้านอาหารในมณฑลอื่น ๆ ของจีน เช่นเดียวกับในญี่ปุ่นและเกาหลีที่มีการปรับรสชาติให้เข้ากับรสนิยมท้องถิ่น หรือรสทางตะวันตก ซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยลดความเผ็ดลง เกิดขึ้นโดยเฉพาะในร้านอาหารจีนที่ไม่เชี่ยวชาญในอาหารเสฉวน ในอาหารจีนแบบอเมริกันบางครั้งทำโดยไม่มีเนื้อสัตว์เพื่อดึงดูดผู้ทานมังสวิรัติ โดยใช้เห็ดหอม เห็ดที่กินได้ชนิดอื่น หรือโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์จากพืช

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Dunlop, Fuchsia (2001). Land of Plenty. W. W. Norton Company. pp. 313. ISBN 0393051773.
  2. Kwan, KP. "How to cook the authentic Mapo Tofu". Taste of Asian Food. Taste of Asian Food. สืบค้นเมื่อ August 27, 2019.
  3. Nguyen, Andrea (October 5, 2020). "What I Learned From Loving Mapo Tofu". New York Times. สืบค้นเมื่อ October 7, 2020.
  4. Schrecker, Ellen with Shrecker, John. Mrs. Chiang's Szechwan Cookbook. New York, Harper & Row, 1976. p. 220.
  5. "Moodi Foodi". Facebook. สืบค้นเมื่อ 12 February 2019.
  6. "Chen Kenmin". Spectroom.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 12 February 2019.
  7. "Chen Kenichi Mabo Tofu - Tokyo Eats". Tokyoeats.jp. สืบค้นเมื่อ 12 February 2019.
  8. สูตร หม่าโผวโต้วฟุ (20) สูตร Cookpad, สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2565.
Kembali kehalaman sebelumnya