Share to:

 

หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล

หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ผู้บัญชาการทหารไทย ทำการร่วมรบกับสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี
ดำรงตำแหน่ง14 ตุลาคม พ.ศ. 2493[1] - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2494[2]
ประสูติ9 สิงหาคม พ.ศ. 2448
ชีพิตักษัย31 มีนาคม พ.ศ. 2509 (60 ปี)
หม่อมหม่อมสวาสดิ์ ดิศกุล ณ อยุธยา
บุตร6 คน
ราชสกุลดิศกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระมารดาหม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยา

พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล (9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2509) มีพระนามลำลองว่า ท่านชายแอ๊ว ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 ณ วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ตำบลสามยอด จังหวัดพระนคร เป็นพระโอรสลำดับที่ 20 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ประสูติในหม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: วสันตสิงห์)

หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล มีพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาคือ หม่อมเจ้าพัฒนายุคุณวรรณ หม่อมเจ้าสิวลีวิลาศ, หม่อมเจ้าทักษิณาธร และพระขนิษฐาร่วมพระมารดาหม่อมเจ้าสุมณีนงเยาว์

หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล เสกสมรสกับ หม่อมสวาสดิ์ ดิศกุล ณ อยุธยา (เกตุทัต) (22 กันยายน พ.ศ. 2447 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2538) ธิดา พระยาเวียงไนยนฤบาล และคุณหญิงเลื่อน เวียงไนยนฤบาล (จามรมาน) มีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน คือ

  1. พลโท หม่อมราชวงศ์พงษ์ดิศ ดิศกุล (18 มกราคม พ.ศ. 2469 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2537) สมรสกับ นางอุษณีย์ ดิศกุล ณ อยุธยา (ทองเนื้อดี)
  2. พันตำรวจเอก หม่อมราชวงศ์พิสิฐพงศ์ ดิศกุล
  3. พันเอก หม่อมราชวงศ์พิพัฒนดิศ ดิศกุล สมรสกับ หม่อมเจ้าเฟื่องฉัตร ฉัตรชัย
  4. หม่อมราชวงศ์พัฒนาดิศ คชาชีวะ
  5. หม่อมราชวงศ์พิศวาท นาควานิช
  6. หม่อมราชวงศ์ประสาสน์ศรี ดิศกุล (กุญชร)

การศึกษา

เบื้องต้นได้ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ชั้นมัธยม 2 เมื่อ พ.ศ. 2467

การทำงาน

พล.ท. ม.จ.พิสิษฐดิศพงษ์ ดิศกุล เคยดำรงตำแหน่งในคณะทูตทหารบก ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารไทย ทำการร่วมรบกับสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี เมื่อปี พ.ศ. 2493[1] และเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น

  • พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2490 : เจ้ากรมข่าวทหารบก
  • พ.ศ. 2495 : ผู้บัญชาการเสนาธิการทหารบก
  • ราชองครักษ์พิเศษ

ในปี พ.ศ. 2485 เมื่อครั้งมียศนายพ.ท. ม.จ.พิสิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการควบคุมและจัดการกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าวในภาวะคับขัน

พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
ชั้นยศ พลโท

ชีพิตักษัย

พล.ท. ม.จ.พิสิษฐดิศพงษ์ ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2509[3] พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ใน พ.ศ. 2509

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ไทย

สากล

ต่างประเทศ

  •  พม่า :
    • พ.ศ. 2499 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นสโดมหาสเรสิธุ (ฝ่ายทหาร)[14]

พระยศ

พระยศทางทหาร

  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2467: นายร้อยตรี[15]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480: นายพันตรี[16]
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484: นายพันโท[17]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486: พันเอก[18]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491: พลตรี[19]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2504: พลโท[20]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา 24 ตุลาคม 2493 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้บัญชาการทหารไทยทำการร่วมรบกับสหประชาชาติในกรณีสงครามเกาหลีhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/058/5260.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/032/2177.PDF
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  4. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘ เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖
  5. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐ หน้า ๒๙๙๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๒๘๗ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๒๙, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า ๑๘๘๘ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔๑, ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หน้า ๒๐๘๑ เล่ม ๕๑, ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗
  9. พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ฉบับพิเศษ หน้า 317 เล่ม 71 ตอนที่ 87 ราชกิจจานุเบกษา 29 ธันวาคม 2497
  10. ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3) ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2497 เล่มที่ 71 ตอนที่ 35://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/035/1340.PDF
  11. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/D/051/2571_1.PDF
  12. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2486/D/047/2917.PDF
  13. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ตอนที่ 67 เล่ม 68 ราชกิจจานุเบกษา 6 พฤศจิกายน 2494 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/067/5188.PDF
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 385, 31 มกราคม 2499
  15. พระราชทานยศทหารบก
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  17. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
Kembali kehalaman sebelumnya