ห้องทำงานรูปไข่ห้องทำงานรูปไข่ เป็นที่ทํางานอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐ อยู่ในปีกตะวันตกของทำเนียบขาว ในวอชิงตัน ดี.ซี. ห้องรูปไข่มีหน้าต่างบานใหญ่สามบานที่หันหน้าไปทางสนามหญ้าทางทิศใต้ ซึ่งโต๊ะของประธานาธิบดีตั้งอยู่ด้านหน้าตามธรรมเนียม และเตาผิงที่ปลายด้านทิศเหนือ ตู้หนังสือบิลต์อินสองตู้ติดตั้งในผนังด้านตะวันตก มีประตูทั้งหมดสี่บาน ประตูทิศตะวันออกไปสู่สวนกุหลาบ ประตูทางทิศตะวันตกไปสู่ห้องทำงานส่วนตัวและห้องอาหาร ประตูทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปสู่ทางเดินหลักของปีกตะวันตก และประตูตะวันออกเฉียงเหนือไปสู่สํานักงานเลขานุการของประธานาธิบดี โดยทั่วไปประธานาธิบดีจะตกแต่งสำนักงานให้เหมาะกับรสนิยมส่วนตัว โดยเลือกเฟอร์นิเจอร์และผ้าม่าน และมักจะสั่งทำพรมรูปวงรี ผลงานศิลปะจะคัดเลือกมาจากของที่สะสมไว้ของทำเนียบขาวหรือยืมมาจากพิพิธภัณฑ์ในช่วงที่ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่ง ประวัติวัฒนธรรมห้องทำงานรูปไข่ได้กลายเป็นที่จดจำของชาวอเมริกันในฐานะตัวแทนของประธานาธิบดีผ่านภาพที่น่าจดจำ เช่น จอห์น เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ วัยหนุ่มที่มองผ่านแผงด้านหน้าโต๊ะทำงานของพ่อของเขา ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน คุยโทรศัพท์กับนักบินอวกาศของยานอะพอลโล 11 ระหว่างเดินบนดวงจันทร์ และเอมี คาร์เตอร์ พามิสตี มาลาร์กี หยิงหยาง แมวสยามของเธอ มาทำให้วันของจิมมี คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีผู้เป็นพ่อของเธอสดใสขึ้น ประธานาธิบดีหลายคนเคยกล่าวปราศรัยจากห้องทำงานรูปไข่ต่อคนทั้งประเทศเป็นครั้งคราว ตัวอย่างเช่น เคนเนดีนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (1962) นิกสันประกาศลาออกจากตำแหน่ง (1974)[1] โรนัลด์ เรแกนหลังจากภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ (1986)[2] และจอร์จ ดับเบิลยู. บุช หลังจากวินาศกรรม 11 กันยายน (2001)[3] ระเบียงภาพ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ห้องทำงานรูปไข่
|