Share to:

 

อักษรอริยกะ

อักษรอริยกะ
ภิกขุปาติโมกข์ เขียนด้วยอักษรอริยกะแบบบรรจง
ชนิด
ผู้ประดิษฐ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ช่วงยุค
ราว พ.ศ. 2390–2411
ทิศทางซ้ายไปขวา
ภาษาพูดบาลี
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
ตราหอพระสมุดวชิรญาณเขียนด้วยอักษรอริยกะ

อักษรอริยกะ เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาบาลีในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นขณะผนวชในราว พ.ศ. 2390 มีสัณฐานคล้ายอักษรโรมัน อักษรนี้ใช้เขียนภาษาไทยไม่ได้เนื่องจากขาดสระและพยัญชนะหลายตัว และความที่อักษรดังกล่าวมีลักษณะรูปร่างและการเขียนต่างจากอักษรไทยและขอมมาก จึงทำให้มิได้รับความนิยมจนเลิกใช้ในที่สุด

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะในขึ้นราว พ.ศ. 2390 ขณะผนวชเป็นพระวชิรญาณภิกขุ เพราะทรงเห็นว่าเมื่อเขียนภาษาบาลีมาแต่เดิมนั้นใช้อักษรขอม จนทำให้อักษรขอมกลายเป็นของขลังไป เหตุนี้จึงทรงให้สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) คิดวิธีเขียนอักษรไทยให้ใช้เขียนภาษาบาลีได้เช่นอักษรขอม[1] ส่วนพระองค์เองได้ประดิษฐ์อักษรชุดใหม่เรียกว่า "อักษรอริยกะ" มีความหมายว่า "อักษรของผู้เป็นอารยชน"[2] สัณฐานอักษรมีเค้าอักษรโรมัน กล่าวคือ เป็นการกลับหน้ากลับหลังอักษรโรมัน หรือใช้เส้นประดิษฐ์อักษรเพิ่มเติมอักษรโรมัน[3] พยัญชนะและสระอยู่ในบรรทัดเดียวกันต่างจากอักษรไทยและขอมที่มีสระอยู่บนและล่างพยัญชนะ จุดประสงค์ก็เพื่อความสะดวกแก่การเขียนและพิมพ์[1][2]

มีการทดลองใช้ในกลุ่มพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเฉพาะในวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[2] แต่ไม่สู้แพร่หลายนัก[3] เมื่อมิได้รับความนิยม อักษรนี้ก็เป็นอันยกเลิกไป[1] มีบันทึกเพียงว่ามีการใช้อักษรอริยกะในการตีพิมพ์หนังสือปาฏิโมกข์และหนังสืออื่น ๆ บ้าง นอกจากนี้ยังมีจารึกอักษรอริยกะที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารอีกแห่งหนึ่ง[2]

ปัจจุบันมีการศึกษาอักษรอริยกะในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย แต่มีปัญหาเรื่องการตีพิมพ์ตำราและข้อสอบเพราะไม่มีชุดแบบอักษร[4]

ลักษณะ

อักษรอริยกะมีพยัญชนะ 33 ตัว และสระ 8 ตัวเท่าภาษาบาลี[3] แบ่งอักษรเป็นสองกลุ่มคือ อริยกะตัวพิมพ์ และอริยกะตัวเขียน เหมือนอักษรโรมัน[2] และมีอักขรวิธีดังนี้[3]

  1. สระวางไว้หลังพยัญชนะต้น
  2. ถ้าเสียงสระอยู่หน้าคำ ใช้สระเขียนได้
  3. หากพยัญชนะไม่มีสระตามหลังแสดงว่าเป็นตัวสะกด
  4. หากคำใดเป็นเสียงนิคหิต จะใช้ทั้งสระอะ และตามด้วยนิคหิต

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 นิตยา กาญจนะวรรณ, รศ. ดร. "อักษรอริยกะ (๑)". ราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 น้าชาติ ประชาชื่น (22 ธันวาคม พ.ศ. 2547). "อักษรอริยกะ". ข่าวสดออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ธวัช ปุณโณทก. อักษรไทยโบราณ ลายสือไทย และวิวัฒนาการของชนชาติไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549, หน้า 120-121
  4. "อักษรอริยกะ ที่ ร.4 ทรงประดิษฐ์เพื่อใช้อ่านภาษาบาลี". Exteen. 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya