อักษรไทย
อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทยและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น คำเมือง, อีสาน, ภาษาไทยใต้, มลายูปัตตานี เป็นต้น ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีเลขไทยเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้ตัวเลขอาหรับเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ประวัติและวิวัฒนาการราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด อักษรมอญและอักษรขอมที่ไทยนำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนเป็นอักษรที่รับและแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น[ใคร?] ซึ่งได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและอักษรขอมที่มีอยู่เดิม ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสอง แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด อักษรไทย
พยัญชนะพยัญชนะไทยมี 44 รูป แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค เสียงอ่านที่กำกับไว้คือเสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น
พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย
ความถี่ของพยัญชนะไทย พยัญชนะไทยที่ใช้บ่อยที่สุดคือ น และที่ใช้น้อยที่สุดคือ ฅ ความถี่ที่แสดงในตารางอาจแตกต่างกันในทางปฏิบัติตามประเภทของข้อความ (ผู้อ่านสามารถทดลองเปิดหน้าข่าว หรือเปิดหนังสือ ebook สักเล่มแล้วลอง ค้นหา(search) อักษรโดดๆ เช่น ก ข ค ... จะพบว่าพยัญชนะไทยที่ใช้มากที่สุดในเอกสารนั้นคือ น (นอ หนู) หรืออาจจะเป็นตัวพยัญชนะ ร อ บ้างในบางเอกสารเท่านั้น)
1นับความถี่จาก Thai National Corpus (1st version on CQPweb) จำนวน 34,782,267 โทเค็น 2นับความถี่ จากฐานข้อมูล LEXiTRON Data 2.0 จำนวนคำศัพท์ในพจนานุกรม 32,365 คำ เก็บถาวร 2017-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สระสระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง (ดูที่ ภาษาไทย)
วรรณยุกต์วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้
รูปวรรณยุกต์เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้ ไม้เอก (-่) ไม้โท (-้) ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋) อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋)[ต้องการอ้างอิง] เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า) การผันเสียงวรรณยุกต์โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ ๕ เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้
คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ ๕ เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี ตัวเลขตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้
วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลตัวเลขอาหรับอื่น ๆ เครื่องหมายวรรคตอน
รหัสยูนิโคดสำหรับอักษรไทยช่วงรหัสยูนิโคด (Unicode) ของอักษรไทย คือ U+0E00 ถึง U+0E7F
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น |