อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์
อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น มุ่ง เป็นกรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 2 สมัย และโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติคนปัจจุบัน ประวัติอัครเดช เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 ที่บ้านห้วยกระบอก ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายวุฒิพงษ์ วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ และนางสมจิตต์ วงษ์พิทักษ์โรจน์ อัครเดชเข้าศึกษาที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ก่อนจะย้ายมาโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาจบปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นยังเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-แคนาดา และปริญญาโท MBA (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร[1] การทำงานในช่วงแรก อัครเดชเทำงานในการดูแลธุรกิจครอบครัวบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 เขาได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกะดอคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร[2] จากนั้นได้ไปช่วยงาน สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังช่วยนายสรวุฒิหาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2554 ด้วย ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร และทำงานกับพรรคประชาธิปัตย์เรื่อยมา[1] ในปี พ.ศ. 2556 เขาได้รับการทาบทามจาก เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้มาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอำเภอบ้านโป่ง ถึงแม้การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2557 จะเป็นโมฆะ แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาก็ได้ลงสมัครในจังหวัดราชบุรี เขต 4 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้ง[1] ในปี พ.ศ. 2566 อัครเดชได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ และได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 2 อีกทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกพรรคในวันที่ 30 มิถุนายน ปีเดียวกัน[3] และยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การอุตสาหกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 อีกด้วย[4] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|