Share to:

 

คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย

คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) เป็นชื่อของระบบวิปในประเทศไทย สำหรับฝ่ายรัฐบาลเป็นหลัก

เริ่มมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2526 ในสมัยคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43 (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) โดยมี บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นประธานคนแรก ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 76/2526

ปัจจุบัน องค์ประกอบตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 311/2567 มีดังต่อไปนี้

  1. คณะที่ปรึกษา - ปัจจุบันได้แก่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล นางมนพร เจริญศรี นายสมคิด เชื้อคง และ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
  2. ประธานกรรมการ - มาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา (หรือเป็นบุคคลที่รัฐบาลให้ความไว้วางใจที่จะประสานงานระหว่าง สภาฯ กับ รัฐบาล) 1 ราย
  3. รองประธานกรรมการ - 6 รายมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา
  4. กรรมการ - มาจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล โดยจัดสรรตามที่นั่งในสภา จำนวน 40 ราย
  5. กรรมการที่มาจาก ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 1 ราย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 1 ราย ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 ราย
  6. เลขานุการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ปัจจุบันได้แก่ นาย ศรัณย์ ทิมสุวรรณ
  7. ผู้ช่วยเลขานุการ - ปัจจุบันมาจาก ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านประสานกิจการภายในประเทศ (นางภคนันท์ ศิลาอาสน์) ผู้อำนวยการกองประสานงานการเมืองสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายจงเจริญ สุวรรณรัตน์) ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย 2 ราย

รวมจำนวนบุคคลที่เป็นคณะกรรมการทั้งหมด 59 ราย

อำนาจหน้าที่

วิปรัฐบาล

หน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หลัก ๆ มีดังนี้[1]:

  • ประสานงานเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างสภาฯ กับ คณะรัฐมนตรี หรือ ระหว่างสมาชิกสภาฯ ในฝั่งรัฐบาลกันเอง
  • พิจารณาระเบียบวาระการประชุม และแจ้งผลการพิจารณา ให้สมาชิกสภาฯ ทราบ ก่อนการประชุมสภาฯ
  • ประสานงานในการลงมติ และ สรุปผลลงมติให้กับรัฐบาล

รายชื่อประธานวิป

ประธานวิปรัฐบาล

รายนามประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ประธานวิปรัฐบาล)[1]

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี
-

(ไม่เป็นทางการ)

พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร

(รองนายกรัฐมนตรี)

1 มีนาคม พ.ศ. 2523 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 ชาติไทย เปรม 1
1 บุญเท่ง ทองสวัสดิ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

30 เมษายน พ.ศ. 2526 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 กิจสังคม เปรม 2
2 พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา

(รองนายกรัฐมนตรี)

10 สิงหาคม พ.ศ. 2529 23 กันยายน พ.ศ. 2529
3 พิชัย รัตตกุล 24 กันยายน พ.ศ. 2529 29 เมษายน พ.ศ. 2531 ประชาธิปัตย์ เปรม 3
4 บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

27 เมษายน พ.ศ. 2531 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ชาติไทย ชาติชาย 1
ชาติชาย 2
5 ณรงค์ วงศ์วรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

29 มิถุนายน พ.ศ. 2535 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 สามัคคีธรรม สุจินดา
6 เทอดพงษ์ ไชยนันทน์

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ประชาธิปัตย์ ชวน 1
7 ปองพล อดิเรกสาร

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

3 กรกฏาคม พ.ศ. 2538 30 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ชาติไทย บรรหาร
8 ชิงชัย มงคลธรรม

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

31 ธันวาคม พ.ศ. 2539 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ความหวังใหม่ ชวลิต
9 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

7 ธันวาคม พ.ศ. 2541 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ประชาธิปัตย์ ชวน 2
10 เสนาะ เทียนทอง 7 สิงหาคม พ.ศ. 2544 4 กันยายน พ.ศ. 2548 ไทยรักไทย ทักษิณ 1
ทักษิณ 2
11 พงศ์เทพ เทพกาญจนา 5 กันยายน พ.ศ. 2548 4 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ทักษิณ 2
12 หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 อิสระ สุรยุทธ์
13 ชัย ชิดชอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน สมัคร
14 สามารถ แก้วมีชัย 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2551
15 วิทยา บุรณศิริ 7 กรกฏาคม พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สมัคร
สมชาย
16 ชินวรณ์ บุณยเกียรติ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มกราคม พ.ศ. 2553 ประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์
17 วิทยา แก้วภราดัย 12 มกราคม พ.ศ. 2553 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554
18 อุดมเดช รัตนเสถียร 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เพื่อไทย ยิ่งลักษณ์
19 อำนวย คลังผา 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557
20 สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 อิสระ ประยุทธ์ 1
21 วิรัช รัตนเศรษฐ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 พลังประชารัฐ ประยุทธ์ 2
22 นิโรธ สุนทรเลขา 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ
23 อดิศร เพียงเกษ 14 กันยายน พ.ศ. 2566 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เพื่อไทย เศรษฐา
24 วิสุทธิ์ ไชยณรุณ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน

ประธานวิปฝ่ายค้าน

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี
1

(1)

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2539 7 ธันวาคม พ.ศ. 2540[2] ประชาธิปัตย์ ชวลิต
2 อดิศร เพียงเกษ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2540 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ความหวังใหม่ ชวน 2
1

(2)

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 31 มกราคม พ.ศ. 2548 [2] ประชาธิปัตย์ ทักษิณ 1
3 สาทิตย์ วงศ์หนองเตย 4 เมษายน พ.ศ. 2548 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ทักษิณ 2
2 มกราคม พ.ศ. 2551 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สมัคร
สมชาย
4 วิทยา บุรณศิริ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อไทย อภิสิทธิ์
1

(3)

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ประชาธิปัตย์ ยิ่งลักษณ์
5 สุทิน คลังแสง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[3] 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 เพื่อไทย ประยุทธ์ 2
6 ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน ก้าวไกล เศรษฐา
ประชาชน แพทองธาร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  2. 2.0 2.1 "คณะกรรมการบริหาร กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-03-04. สืบค้นเมื่อ 2024-03-04.
  3. "ส่วนที่ ๑ ความเป็นมาของคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร". คณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔). กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: 13. สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2024 – โดยทาง คลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติ.
Kembali kehalaman sebelumnya