อำเภอบ้านบึง |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Bueng |
---|
คำขวัญ: บ้านบึงสะอาดสดชื่น คนนับหมื่นกินเจ ประเพณีวิ่งควาย เซียนซือไท้ศักดิ์สิทธิ์ ลือทั่วทิศขนมจีน |
แผนที่จังหวัดชลบุรี เน้นอำเภอบ้านบึง |
พิกัด: 13°18′41″N 101°6′44″E / 13.31139°N 101.11222°E / 13.31139; 101.11222 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ชลบุรี |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 646.3 ตร.กม. (249.5 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 111,423 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 172.40 คน/ตร.กม. (446.5 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 20170, 20220 (เฉพาะตำบลคลองกิ่ว หนองอิรุณ และหนองไผ่แก้ว) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 2002 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านบึง ถนนเจตน์อำนาจ ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 20170 |
---|
|
บ้านบึง เป็นอำเภอตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองชลบุรี อำเภอพานทอง และอำเภอพนัสนิคม
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอบ้านบึงตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติ
“บ้านบึง” มีการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะพื้นที่อำเภอบ้านบึง โดยทั่วไปเป็นป่าทึบนานาพรรณ มีต้นไม้ต่างๆ และสัตว์ป่านานาชนิดได้อาศัย มีชุมชนที่เป็นหมู่บ้านตั้งเรียงรายกันเป็นระยะๆ ห่างไกลกันพอสมควร และมีอาชีพทางการเกษตรกรรม เช่น ปลูกพืชไร่ จับสัตว์ป่ายังชีพ พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึงในปัจจุบัน เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง โดยทั่วไปมีชาวบ้านเรียกกันว่า “มาบ” เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ชุมชนดังเดิมได้ใช้สอยมาตลอด และสายน้ำไหลมาจากภูเขานั้นก็ไหลไปยังอำเภอพานทองอีกสายหนึ่ง
แหล่งถิ่นฐานชุมชนดั้งเดิมคือ บริเวณหน้าลำมาบ (บริเวณตั้งแต่หน้าวัดบุญญฤทธยาราม มาจนถึงบริเวณวัดบึงบวรสถิตย์) และเริ่มมีตลาดบึงเป็นแหล่งชุมชน ในปี พ.ศ. 2462 อำเภอบ้านบึงได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอบ้านบึงในปี พ.ศ. 2464 และในปี พ.ศ. 2481 นายอำนาจ เนื่องจำนงค์ คหบดีสมัยนั้นได้เป็นผู้นำในการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอ โดยเสนอต่อทางการว่าขอยกที่ดินของนางเทศ กาญจนพังคะ ซึ่งเป็นมารดาของภรรยา เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอและสถานที่ราชการต่างๆ พร้อมกันสร้างที่ว่าการอำเภอให้อีก 1 หลัง โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของกระทรวงมหาดไทยที่ว่าการอำเภอบ้านบึง สมัยนั้นเป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยามุขกลางมีบันไดขึ้นทั้ง 2 ข้าง เริ่มก่อสร้างและเสร็จ พ.ศ. 2481 และใช้ในราชการตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 ต่อมาปี พ.ศ. 2529 นายอารยะ วิวัฒน์วานิช ดำรงตำแหน่งนายอำเภอบ้านบึง ได้เชิญชวนคหบดีและชาวอำเภอบ้านบึง ช่วยกันสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เริ่มก่อสร้างในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2531 และแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 เป็นที่ว่าการอำเภอหลังเดียวในประเทศไทยที่มีแบบแปลนพิเศษต่างจากที่อื่น มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ขนาด 19 x 34 x 17 เมตร
- วันที่ 8 พฤษภาคม 2464 แยกพื้นที่ตำบลบึง ตำบลมาบไผ่ ตำบลหนองซ้ำซาก และตำบลคลองกิ่ว จากอำเภอบางปลาสร้อย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านบึง[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบางปลาสร้อย (อำเภอเมืองชลบุรี)
- วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2481 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบ้านบึง อำเภอเมืองชลบุรี เป็น อำเภอบ้านบึง[2]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2481 ตั้งตำบลหนองชาก แยกออกจากตำบลบ้านบึง และโอนพื้นที่ตำบลหนองอิรุณ (ยกเว้นหมู่ 1,2) อำเภอพนัสนิคม ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอบ้านบึง อำเภอเมืองชลบุรี และโอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองอิรุณ กิ่งอำเภอบ้านบึง อำเภอเมืองชลบุรี ไปขึ้นกับตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม กับตั้งตำบลหนองบอนแดง แยกออกจากตำบลหนองหงษ์ อำเภอพานทอง และตำบลหนองขยาด ตำบลหนองขวาง อำเภอพนัสนิคม และโอนไปขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอบ้านบึง อำเภอเมืองชลบุรี กับโอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองตำลึง อำเภอพานทอง ไปขึ้นกับตำบลมาบไผ่ กิ่งอำเภอบ้านบึง อำเภอเมืองชลบุรี[3]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านบึง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านบึง[4]
- วันที่ 19 มีนาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลหัวกุญแจ ในท้องที่บางส่วนของหมู่ 1 ตำบลคลองกิ่ว[5]
- วันที่ 6 สิงหาคม 2517 ตั้งตำบลหนองใหญ่ แยกออกจากตำบลคลองพลู และตำบลหนองอิรุณ ตั้งตำบลหนองเสือช้าง แยกออกจากตำบลหนองอิรุณ ตำบลคลองพลู และตำบลคลองกิ่ว[6]
- วันที่ 2 ธันวาคม 2518 แยกพื้นที่ตำบลหนองใหญ่ ตำบลคลองพลู และตำบลหนองเสือช้าง จากอำเภอบ้านบึง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองใหญ่[7] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบ้านบึง
- วันที่ 31 พฤษภาคม 2520 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองใหญ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองใหญ่[8]
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง เป็น อำเภอหนองใหญ่[9]
- วันที่ 14 กันยายน 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลบ้านบึง[10] และกำหนดเขตพื้นที่เทศบาลขึ้นใหม่ในท้องที่บางส่วนของหมู่ 1-4 ของตำบลบ้านบึง
- วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลหนองไผ่แก้ว แยกออกจากตำบลหนองอิรุณ[11]
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2532 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองไผ่แก้ว ในท้องที่หมู่ 2,5 ของตำบลหนองไผ่แก้ว[12]
- วันที่ 22 เมษายน 2541 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยกำหนดให้ตำบลหนองซ้ำซาก ให้มีเขตการปกครองรวม 5 หมู่บ้าน ตำบลหนองอิรุณ ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลหนองชาก ให้มีเขตการปกครองรวม 4 หมู่บ้าน ตำบลบ้านบึง ให้มีเขตการปกครองรวม 5 หมู่บ้าน ตำบลหนองไผ่แก้ว ให้มีเขตการปกครองรวม 5 หมู่บ้าน ตำบลคลองกิ่ว ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน ตำบลมาบไผ่ ให้มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน และตำบลหนองบอนแดง ให้มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน[13]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลหัวกุญแจ และสุขาภิบาลหนองไผ่แก้ว เป็นเทศบาลตำบลหัวกุญแจ และเทศบาลตำบลหนองไผ่แก้ว[14] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 26 ตุลาคม 2544 จัดตั้งเทศบาลตำบลบ้านบึง ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองบ้านบึง[15] และใช้เขตเทศบาลจากเขตเทศบาลตำบลเดิม
- วันที่ 3 สิงหาคม 2554 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี (ครั้งที่ 2) และเปลี่ยนแปลงแนวเขตของตำบลมาบไผ่ ตำบลหนองบอนแดง และตำบลบ้านบึง อีกครั้ง[16] เนื่องจากประกาศของปี พ.ศ. 2541[13] คลาดเคลื่อนและไม่มีความชัดเจนของแนวเขตพื้นที่
- วันที่ 14 กันยายน 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซ้ำซาก ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลหนองซ้ำซาก[17]
- วันที่ 30 กันยายน 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบ้านบึง[18]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอบ้านบึงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 52 หมู่บ้าน ได้แก่
1. |
บ้านบึง |
|
|
(Ban Bueng) |
|
|
5 หมู่บ้าน |
|
2. |
คลองกิ่ว |
|
|
(Khlong Kio) |
|
|
9 หมู่บ้าน |
|
3. |
มาบไผ่ |
|
|
(Map Phai) |
|
|
6 หมู่บ้าน |
|
4. |
หนองซ้ำซาก |
|
|
(Nong Samsak) |
|
|
5 หมู่บ้าน |
|
5. |
หนองบอนแดง |
|
|
(Nong Bon Daeng) |
|
|
6 หมู่บ้าน |
|
6. |
หนองชาก |
|
|
(Nong Chak) |
|
|
4 หมู่บ้าน |
|
7. |
หนองอิรุณ |
|
|
(Nong Irun) |
|
|
12 หมู่บ้าน |
|
8. |
หนองไผ่แก้ว |
|
|
(Nong Phai Kaeo) |
|
|
5 หมู่บ้าน |
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอบ้านบึงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองบ้านบึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบึง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–4 (ในเขตเทศบาลยกเลิกระบบหมู่บ้านแล้ว)
- เทศบาลตำบลหัวกุญแจ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองกิ่ว เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1
- เทศบาลตำบลหนองไผ่แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่แก้ว เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 2, 5
- เทศบาลตำบลหนองชาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองชากทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองซ้ำซาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองซ้ำซากทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านบึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบึง เฉพาะหมู่ที่ 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–4
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองกิ่ว เฉพาะหมู่ที่ 2–9 และบางส่วนของหมู่ที่ 1
- องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบไผ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอนแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบอนแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอิรุณทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่แก้ว เฉพาะหมู่ที่ 1, 3–4 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 5
อ้างอิง
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบ้านบึงและยุบกิ่งอำเภอท่าประชุมชน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ง): 342–343. May 8, 1921.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านบึง ขึ้นอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4075. February 27, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2932–2933. November 28, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 21-22. October 15, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหัวกุญแจ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (26 ง): 697–698. March 19, 1963.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (133 ง): 3079–3086. August 6, 1974.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (245 ง): 3062. December 2, 1975. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองใหญ่ กิ่งอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (46 ง): 2231–2232. May 30, 1977.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอนตาล อำเภอชาติตระการ อำเภอภูเรือ อำเภอเคียนซา อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอน้ำยืน พ.ศ. ๒๕๑๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (54 ง): (ฉบับพิเศษ) 30-33. March 28, 1974. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (183 ก): (ฉบับพิเศษ) 11-15. September 14, 1987.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 189-193. August 31, 1988.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (19 ง): 1011–1012. February 1, 1990.
- ↑ 13.0 13.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 30 ง): 1–21. April 22, 1998.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบ้านบึง พ.ศ. ๒๕๔๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (99 ก): 1–3. October 26, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 86 ง): 15–20. August 3, 2011.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซ้ำซาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็น เทศบาลตำบลหนองซ้ำซาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 105 ง): 6. September 14, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ 2018-04-04.
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง เป็น เทศบาลตำบลบ้านบึง". September 30, 2011.
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | คมนาคม | |
---|
การท่องเที่ยว | |
---|
ธุรกิจ | |
---|
|
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
การทหาร | |
---|
|
---|
|