Share to:

 

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
Thailand National Sports University
ตราพระพลบดีทรงช้างเอราวัณ
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่ออื่นมกช. / TNSU
ชื่อเดิมวิทยาลัยพลศึกษา
สถาบันพลศึกษา
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา1 มกราคม พ.ศ. 2498; 69 ปีก่อน (2498-01-01)
ผู้สถาปนากรมพลศึกษา
สังกัดการศึกษา
13
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ1,979,914,300 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
อธิการบดีมหาวิทยาลัยวิษณุ ไล่ชะพิษ (ปฏิบัติหน้าที่)
ประธานคณะบุคคลฯพลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ
บุคลากรทั้งหมด2,693 คน (พ.ศ. 2566)
ผู้ศึกษา11,520 คน (พ.ศ. 2566)[2]
ที่ตั้ง
เลขที่ 333 หมู่ 1 ถนนสุขุมวิท ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
วิทยาเขต
16
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (อังกฤษ: Thailand National Sports University, อักษรย่อ มกช. – TNSU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดิมชื่อ สถาบันการพลศึกษา ทำหน้าที่ผลิตครู โดยเฉพาะครูสอนพลศึกษาและสุขศึกษา แต่ปัจจุบันได้เพิ่มบทบาทในการผลิตบุคลากรด้านวิชาชีพ ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และสุขภาพเพิ่มขึ้น ตั้งอยู่เลขที่ 333 หมู่ 1 ถนนสุขุมวิท ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000

ประวัติ

ในอดีต กรมพลศึกษา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการผลิตครูพลศึกษา โดยรับโอนโรงเรียนพลศึกษากลาง มาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 และได้มีการจัดตั้ง “วิทยาลัยพลศึกษา” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย” ขึ้นในปีการศึกษา 2501 เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)

ต่อมาได้ยุบเลิกโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย ในปี พ.ศ. 2512 และได้ขยายหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษาเป็นระดับปริญญาตรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา แต่ยังคงดำเนินการโดยกรมพลศึกษา และใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา หรือ มศว พลศึกษา” และในปี พ.ศ. 2514 ได้ยุติการดำเนินการวิทยาลัยพลศึกษาในส่วนกลางและโอนวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา ไปให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาดำเนินการต่อไป กรมพลศึกษาได้เปิดดำเนินการผลิตครูพลศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยเริ่มเปิด วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 เปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม” และมีการเปิดเพิ่มขึ้นในจังหวัดต่างๆ เรื่อยมา จนกระทั่งมีวิทยาลัยพลศึกษารวม 17 แห่ง

เมื่อกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายบรรจุข้าราชการครูจากผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี กรมพลศึกษาจึงหาแนวทางยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาให้สามารถเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี โดยในระยะแรกได้จัดทำโครงการร่วมมือทางวิชาการกับกรมการฝึกหัดครู เป็นสถาบันสมทบของวิทยาลัยครู เพื่อเปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 ในขณะเดียวกันก็มีแนวทางที่จะเปิดดำเนินการสอนระดับปริญญาตรีด้วยตนเอง จนได้มีการร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเป็นสถาบันการศึกษาระดับปริญญา ในปี พ.ศ. 2538 และใช้ชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล พ.ศ. ...”

กรมพลศึกษา ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลตามลำดับ พร้อมกับที่กรมอาชีวศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และกรมศิลปากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนศิลป์ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับ แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการกรมพลศึกษาได้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันเวลา เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรหมดอายุลง จึงต้องนำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล มาเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนใหม่อีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว

การดำเนินการเพื่อยกฐานะดังกล่าว ได้ดำเนินเรื่อยมากระทั่งสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา ตอนที่ 13 ก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงนับได้ว่าสถาบันการพลศึกษาได้ก่อกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

พ.ศ. 2562 สถาบันการพลศึกษาเปลี่ยนแปลงสภาพองค์กรเป็นมหาเป็นมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562[3]

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน

  • ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน

คือ ภาพพระพลบดีทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือกลีบเมฆ หัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์ หัตถ์ขวาทรงตรี ตอนล่างเป็นข้อความภาษาไทยระบุชื่อ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

  • เครื่องหมายประจำสถาบัน ประกอบเครื่องแบบนักศึกษา

เครื่องหมายสำหรับนักศึกษาหญิง คือ เครื่องหมายสัญลักษณ์สามห่วง สีเขียว ขาว เหลือง ภายในเป็นพระพลบดี ทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือกลีบเมฆ ตอนล่างเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย สำหรับติดหน้าอกเสื้อเครื่องแบบนักศึกษาหญิง ด้านซ้าย

เครื่องหมายสำหรับนักศึกษาชาย คือ ตอนบนเป็นรูปพระพลบดีทรงช้างเอราวัณ อยู่เหนือกลีบเมฆ ตอนล่างเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย สำหรับติดเนคไท

  • สีประจำมหาวิทยาลัย

  สีเขียว

  สีขาว

  สีเหลือง

คณะและหลักสูตร

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา
      • โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
      • โปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬา
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
      • โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
      • โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพเด็ก
      • โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
    • สาขานันทนาการ
      • โปรแกรมวิชานันทนาการบำบัด
คณะศิลปศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
    • สาขาสื่อสารเทคโนโลยี
      • โปรแกรมวิชาสื่อสารการกีฬา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
    • สาขาวิชาธุรกิจ
      • โปรแกรมวิชาธุรกิจสุขภาพ
      • โปรแกรมวิชาการจัดการกีฬา
    • สาขาวิชานันทนาการ
      • โปรแกรมวิชาผู้นำนันทนาการ
      • โปรแกรมวิชาการบริหารนันทนาการ
      • โปรแกรมวิชานันทนาการเชิงพาณิชย์และการท่องเที่ยว
คณะศึกษาศาสตร์
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ปัจจุบันหลักสูตร 4 ปี)
    • สาขาวิชาพลศึกษา
      • โปรแกรมวิชาพลศึกษา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
      • โปรแกรมวิชาพลศึกษาสำหรับคนพิการ (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
    • สาขาวิชาสุขศึกษา
      • โปรแกรมวิชาสุขศึกษา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
    • สาขาวิชานันทนาการ
      • โปรแกรมวิชานันทนาการ

วิทยาเขต

โรงเรียน

กีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย

ประวัติการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2518–ปัจจุบัน มีดังนี้[4]

ครั้งที่ ประจำปี เจ้าภาพ พิธีเปิด พิธีปิด สถิติ
นักกีฬา ชนิดกีฬา
1 2518 จังหวัดมหาสารคาม 4
2 2519 จังหวัดเชียงใหม่ 6
3 2520 กรุงเทพมหานคร 7
4 2521 งดการแข่งขัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8
5 2522 จังหวัดอุดรธานี 9
6 2523 กรุงเทพมหานคร 9
7 2524 กรุงเทพมหานคร 11
8 2525 กรุงเทพมหานคร 11
9 2526 จังหวัดลำปาง 11
10 2527 กรุงเทพมหานคร 15
11 2528 จังหวัดอุดรธานี 15
12 2529 กรุงเทพมหานคร 2 ธันวาคม 9 ธันวาคม 2,500 16
13 2530 กรุงเทพมหานคร 2 ธันวาคม 9 ธันวาคม 1,760 16
14 2531 กรุงเทพมหานคร 1 ธันวาคม 9 ธันวาคม 1,760 13
15 2532 กรุงเทพมหานคร 1 ธันวาคม 10 ธันวาคม 1,800 18
16 2533 กรุงเทพมหานคร 1 ธันวาคม 10 ธันวาคม 2,570 19
35 2553 จังหวัดตรัง 19 กรกฎาคม 28 กรกฎาคม 32
36 2554 จังหวัดเชียงใหม่ 5 สิงหาคม 14 สิงหาคม 34
37 2555 จังหวัดอุดรธานี 21 กรกฎาคม 30 กรกฎาคม 37
38 2556 จังหวัดชุมพร 19 กรกฎาคม 28 กรกฎาคม 39
39 2557 จังหวัดศรีสะเกษ 19 กรกฎาคม 28 กรกฎาคม 39
40 2558 จังหวัดลำปาง 21 สิงหาคม 30 สิงหาคม 42
41 2559 จังหวัดศรีสะเกษ 31 สิงหาคม 9 กันยายน 42
42 2560 จังหวัดสุพรรณบุรี 1 กันยายน 10 กันยายน 42
43 2561 จังหวัดมหาสารคาม 6 กันยายน 15 กันยายน 42
44 2562 จังหวัดเชียงใหม่ 3 กันยายน 12 กันยายน 42
- 2563-64 ยกเลิกการแข่งขัน เนื่องจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย และการระบาดทั่วโลกของโควิด-19
45 2565 จังหวัดตรัง 3 กันยายน 7 กันยายน 13
46 2566 จังหวัดอ่างทอง 2 กันยายน 11 กันยายน

รายนามอธิการบดี

สถาบันการพลศึกษา
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายสมพงษ์ ชาตะวิถี 2 กันยายน พ.ศ. 2548[5] - 1 กันยายน พ.ศ. 2552
17 กันยายน พ.ศ. 2552 - 16 กันยายน พ.ศ. 2556
2. ดร.ปริวัฒน์ วรรณกลาง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560
4 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
3. ดร.ปริวัฒน์ วรรณกลาง 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
วิษณุ ไล่ชะพิษ (ปฏิบัติหน้าที่)[6] 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

รายนามนายกสภาสถาบัน

สถาบันการพลศึกษา
รายนามนายกสภา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. สมศักดิ์ เทพสุทิน 2 กันยายน พ.ศ. 2548 - 1 กันยายน พ.ศ. 2550
2 กันยายน พ.ศ. 2550 - 1 กันยายน พ.ศ. 2552
2. บรรหาร ศิลปอาชา 17 กันยายน พ.ศ. 2552 - 16 กันยายน พ.ศ. 2554
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
3. วิษณุ เครืองาม 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ?
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
รายนามนายกสภา วาระการดำรงตำแหน่ง
4. พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ (คณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่) 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

การพระราชทานปริญญาบัตร

มหาวิทยาลัยการกิฬาแห่งชาติ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติครั้งแรก (ประจำปีการศึกษา 2548-2551) ภายใต้นามสถาบันการพลศึกษาในขณะนั้น เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

บุคคลจากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติที่มีชื่อเสียง

ด้านพระบรมวงศานุวงศ์
ด้านวงการบันเทิง
ด้านกีฬา
ด้านบุคคลากรทางการศึกษา
ด้านวงการพิธีกร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  3. "พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.
  4. "ประวัติการจัดการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย". สถาบันการพลศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-23. สืบค้นเมื่อ 2017-09-12.
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา (นายสมพงษ์ ชาตะวิถี)
  6. ตั้ง "วิษณุ" รองผู้ว่ากกท. นั่งรักษาการอธิการบดีม.การกีฬาแห่งชาติ

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya