โรงพยาบาลชลบุรี
โรงพยาบาลชลบุรี (อังกฤษ: Chonburi Hospital) เป็นโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามความประสงค์ของอำมาตย์เอก พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และนายแพทย์ ขุนอินทวราคม สาธารณสุขจังหวัดชลบุรีในขณะนั้น[2][3] เป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งแรก และแห่งเดียวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (Advanced Healthcare Accreditation; AHA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)[4][5] นอกจากนี้ยังได้รับรองจากแพทยสภาให้เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6] การรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลชลบุรี เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานการรับรองคุณภาพสถาบันฝึกอบรม Postgraduate Medical Education จากสหพันธ์แพทยศาสตรศึกษาโลก, มาตรฐาน Joint Commission International (JCI) จากคณะกรรมการร่วมรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล, และมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (Advanced Healthcare Accreditation; AHA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)[4][5] ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งเดียวใน 7 โรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน AHA คือ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ, คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล, โรงพยาบาลกรุงเทพ, และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การดำเนินการขอการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (AHA) ได้เริ่มในสมัย นพ. ชุติเดช ตาบองครักษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี จากการที่มีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงในพื้นที่ภาคตะวันออก เช่น โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ, โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเวที ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[7] ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|