Share to:

 

อำเภอปราสาท

อำเภอปราสาท
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Prasat
ทางหลวงสาย 24 บริเวณแยกปราสาท จุดตัดกับทางหลวงสาย 214
ทางหลวงสาย 24 บริเวณแยกปราสาท จุดตัดกับทางหลวงสาย 214
คำขวัญ: 
ปราสาทเด่นสง่า ประชาสามัคคี
ชื่อดีนามกระเดื่อง รุ่งเรืองวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอปราสาท
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอปราสาท
พิกัด: 14°38′26″N 103°24′17″E / 14.64056°N 103.40472°E / 14.64056; 103.40472
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุรินทร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด908.386 ตร.กม. (350.730 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด152,542 คน
 • ความหนาแน่น167.93 คน/ตร.กม. (434.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 32140
รหัสภูมิศาสตร์3205
ที่ตั้งที่ว่าการเลขที่ 1 ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 32140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปราสาท เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ นับเป็นอำเภอที่มีความเจริญมากเป็นอันดับสองของจังหวัดรองจากอำเภอเมืองสุรินทร์และนอกจากนี้อำเภอปราสาทนับเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นลำดับที่ 2 ของจังหวัด รองจากอำเภอเมือง ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอปราสาทเป็นชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งนับเป็นอีกอำเภอหนึ่งของจังหวัดที่มีชาวไทยเชื้อสายเขมรมากที่สุด

ชื่อ

สาเหตุที่ราชการตั้งชื่ออำเภอนี้ว่า "อำเภอปราสาท" นั้น เนื่องจากเป็นท้องที่ที่มีปราสาทหินโบราณอยู่มาก ซึ่งสร้างโดยฝีมือชาวขอมอยู่หลายแห่ง เช่น ปราสาทบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง , ปราสาทบ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง, ปราสาทบ้านไพล ตำบลเชื้อเพลิง เป็นต้น

ประวัติศาสตร์

อำเภอปราสาท เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองสุรินทร์ ก่อนการตั้งอำเภอนั้นได้มีการจัดเตรียมการตั้งอำเภอ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2480 ได้โอนพื้นที่หมู่บ้านใกล้เคียงในสมัยนั้น ทั้งหมู่บ้านในเขตตำบลด่าน และตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ เข้ามาอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์[1] และบางหมู่บ้านก็โอนกลับขึ้นไปในเขตตำบลที่ใกล้อำเภอเมืองสุรินทร์มากกว่า ก่อนที่จะแยกอำเภอปราสาทในเดือนต่อมา

  • โอนพื้นที่บ้านกะทม (ในขณะนั้น) ของตำบลทมอ มาขึ้นกับตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์
  • โอนพื้นที่บ้านอำปึล และบ้านอังกัญ (ในขณะนั้น) ของตำบลทมอ มาขึ้นกับตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์
  • โอนพื้นที่บ้านโคกทม และบ้านกระดาด (ในขณะนั้น) ของตำบลเทนมีย์ ไมาขึ้นกับตำบลทมอ อำเภอเมืองสุรินทร์
  • โอนพื้นที่บ้านตาอี (ในขณะนั้น) ของตำบลสวาย ไปขึ้นกับตำบลทุ่งมน อำเภอเมืองสุรินทร์
  • โอนพื้นที่บ้านพนม (ในขณะนั้น) ของตำบลนาบัว มาขึ้นกับตำบลไพล อำเภอเมืองสุรินทร์
  • โอนพื้นที่บ้านบักจรัง บ้านกาบเชิง และบ้านตาเกาว์ ของตำบลด่าน อำเภอสังขะ มาขึ้นกับตำบลตาเบา อำเภอเมืองสุรินทร์
  • โอนพื้นที่บ้านกันตรวจระมวล บ้านไทร และบ้านกระวัน (ในขณะนั้น) ของตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ มาขึ้นกับตำบลตาเบา

ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2480 ในช่วงรัฐบาลพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของประเทศไทย ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า อำเภอเมืองสุรินทร์มีขอบเขตการปกครองและพลเมืองมาก บางแห่งเป็นถิ่นทุรกันดารห่างไกล การปกครองดูแลไม่ทั่วถึง การคมนาคมไม่สะดวก ยากต่อการที่ประชาชนจะเข้าไปติดต่อราชการ เพื่อความสะดวกในการปกครอง อำเภอเมืองสุรินทร์จึงได้แยกท้องที่ตำบลกังแอน ตำบลบักได ตำบลตาเบา ตำบลปรือ ตำบลทุ่งมน ตำบลไพล และตำบลทมอ จากอำเภอเมืองสุรินทร์ มาตั้งเป็น อำเภอปราสาท[2] โดยตั้งตัวที่ว่าการอำเภอ ณ บ้านกังแอน ตำบลกังแอน อันเป็นที่ตั้งตัวอำเภอในปัจจุบัน

อำเภอปราสาทในปัจจุบันมีพื้นที่ 908.386 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่เดิมของอำเภอปราสาทนั้นครอบคลุมทั้งบางส่วนของอำเภอกาบเชิง และพื้นที่ของอำเภอพนมดงรัก

  • วันที่ 14 มีนาคม 2480 แยกพื้นที่ตำบลกังแอน ตำบลบักได ตำบลตาเบา ตำบลปรือ ตำบลทุ่งมน ตำบลไพล และตำบลทมอ อำเภอเมืองสุรินทร์ ไปจัดตั้งเป็น อำเภอปราสาท[2]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลไพล แยกออกจากตำบลกังแอน และตำบลทุ่งมน[3]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกังแอน ในท้องที่บางส่วนของตำบลกังแอน[4]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2504 ตั้งตำบลหนองใหญ่ แยกออกจากตำบลตาเบา[5]
  • วันที่ 14 สิงหาคม 2505 ตั้งตำบลปรือ แยกออกจากตำบลทุ่งมน[6]
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2507 ตั้งตำบลกาบเชิง แยกออกจากตำบลหนองใหญ่[7]
  • วันที่ 20 พฤษภาคม 2518 แยกพื้นที่ตำบลกาบเชิง และตำบลบักได อำเภอปราสาท ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอกาบเชิง[8] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปราสาท
  • วันที่ 7 กันยายน 2519 ตั้งตำบลโคกกลาง แยกออกจากตำบลบักได[9]
  • วันที่ 14 กรกฎาคม 2520 โอนพื้นที่ตำบลคูตัน และตำบลด่าน อำเภอสังขะ มาขึ้นกับ กิ่งอำเภอกาบเชิง อำเภอปราสาท[10]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2521 ตั้งตำบลโคกยาง แยกออกจากตำบลทมอ[11]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอกาบเชิง อำเภอปราสาท เป็น อำเภอกาบเชิง[12]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลโคกสะอาด แยกออกจากตำบลกังแอน[13]
  • วันที่ 19 สิงหาคม 2523 ตั้งตำบลโชคนาสาม แยกออกจากตำบลปรือ ตั้งตำบลบ้านไทร แยกออกจากตำบลตาเบา[14]
  • วันที่ 31 มีนาคม 2524 ตั้งตำบลเชื้อเพลิง แยกออกจากตำบลไพล[15]
  • วันที่ 30 มีนาคม 2525 ตั้งตำบลปราสาททนง แยกออกจากตำบลกังแอน[16]
  • วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลตานี แยกออกจากตำบลปรือ[17]
  • วันที่ 29 ธันวาคม 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลนิคมปราสาท ในท้องที่บางส่วนของตำบลปรือ[18]
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลบ้านพลวง แยกออกจากตำบลกังแอน[19]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2535 ตั้งตำบลกันตวจระมวล แยกออกจากตำบลบ้านไทร[20]
  • วันที่ 17 กันยายน 2536 ตั้งตำบลสมุด แยกออกจากตำบลทุ่งมน[21]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลประทัดบุ แยกออกจากตำบลไพล[22]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกังแอน และสุขาภิบาลนิคมปราสาท เป็นเทศบาลตำบลกังแอน และเทศบาลตำบลนิคมปราสาท ตามลำดับ[23] ด้วยผลของกฎหมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอปราสาทตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอปราสาทแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 18 ตำบล 241 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กังแอน (Kang-aen) 18 หมู่บ้าน 10. บ้านไทร (Ban Sai) 9 หมู่บ้าน
2. ทมอ (Thamo) 13 หมู่บ้าน 11. โชคนาสาม (Chok Na Sam) 14 หมู่บ้าน
3. ไพล (Phlai) 16 หมู่บ้าน 12. เชื้อเพลิง (Chuea Phloeng) 12 หมู่บ้าน
4. ปรือ (Prue) 19 หมู่บ้าน 13. ปราสาททนง (Prasat Thanong) 11 หมู่บ้าน
5. ทุ่งมน (Thung Mon) 11 หมู่บ้าน 14. ตานี (Tani) 9 หมู่บ้าน
6. ตาเบา (Ta Bao) 19 หมู่บ้าน 15. บ้านพลวง (Ban Phluang) 14 หมู่บ้าน
7. หนองใหญ่ (Nong Yai) 17 หมู่บ้าน 16. กันตวจระมวล (Kantuat Ramuan) 8 หมู่บ้าน
8. โคกยาง (Khok Yang) 18 หมู่บ้าน 17. สมุด (Samut) 8 หมู่บ้าน
9. โคกสะอาด (Khok Sa-at) 20 หมู่บ้าน 18. ประทัดบุ (Prathat Bu) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอปราสาทประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกังแอน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-2, 3 (บางส่วน), 5 (บางส่วน), 7 (บางส่วน), 8 (บางส่วน), 16, 17 (บางส่วน) ตำบลกังแอน และหมู่ที่ 5 (บางส่วน) ตำบลบ้านพลวง
  • เทศบาลตำบลนิคมปราสาท ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4 (บางส่วน), 5 (บางส่วน), 13 (บางส่วน) และ 14 (บางส่วน) ตำบลปรือ
  • เทศบาลตำบลกันตวจระมวล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันตรวจระมวลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกังแอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกังแอน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลกังแอน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทมอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไพลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปรือ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนิคมปราสาท)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งมนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาเบา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาเบาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไทรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโชคนาสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโชคนาสามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชื้อเพลิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปราสาททนงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตานี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตานีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านพลวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลกังแอน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสมุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมุดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประทัดบุทั้งตำบล

การศึกษา

อาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยการอาชีพปราสาท
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนเอกชน
  • โรงเรียนสุวรรณวิจิตรวิทยา (ระดับมัธยมศึกษา)
  • โรงเรียนอนุบาลกมลนิตย์

สาธารณสุข

  • โรงพยาบาลปราสาท เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 150 เตียง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของจังหวัดรองจากโรงพยาบาลสุรินทร์
  • สาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง ตั้งอยู่ถนนสายปราสาท-สังขะ
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั้งหมด 23 แห่ง กระจายตามตำบลต่าง ๆ

การขนส่ง

ทางบก

อำเภอปราสาทตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดิน 2 สาย จึงเป็นทางผ่านที่สำคัญ สามารถเดินทางมาโดยทางถนนได้สะดวกหรือสามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางหลายสายดังนี้

  • รถประจำทางสาย กรุงเทพ ปลายทางสุรินทร์
  • รถประจำทางสาย กรุงเทพ ปลายทาง ศรีสะเกษ
  • รถประจำทางสาย กรุงเทพ ปลายทาง กันทรลักษ์-เขาพระวิหาร
  • รถประจำทางสาย กรุงเทพ ปลายทาง อุบลราชธานี
  • รถประจำทางสาย นครราชสีมา ปลายทาง สุรินทร์
  • รถประจำทางสาย นครราชสีมา ปลายทาง ศรีสะเกษ
  • รถประจำทางสาย นครราชสีมา ปลายทาง อุบลราชธานี
  • รถประจำทางสาย มุกดาหาร ปลายทาง พัทยา
  • รถประจำทางสาย อุบาลราชธานี ปลายทาง พัทยา

รถไฟ

สามารถเดินทางมาลงที่สถานีรถไฟสุรินทร์ แล้วต่อรถโดยสารจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ได้ มีทั้งรถสองแถว รถตู้ รถบัสสายสุรินทร์-ช่องจอมและรถประจำทางอื่น ๆ ที่ผ่านทางอำเภอปราสาทให้บริการ ระยะทางจากอำเภอเมืองสุรินทร์ถึงอำเภอปราสาท มีระยะทางเพียง 28 กิโลเมตร

เศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของอำเภอปราสาทอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี การกระจายความเจริญอยู่ในระดับปานกลาง สภาพคล่องทางเศรษฐกิจและเงินหมุนเวียนในระบบตลาดอยู่ที่ลำดับที่2ของจังหวัดสุรินทร์ (รองจากอำเภอเมืองสุรินทร์) การเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรมใน พ.ศ. ธันวาคม 2561 มียอดการลงทุนสะสม อันดับ 2 ของจังหวัดสุรินทร์

(อ.เมือง 229 โรงงาน/เงินลงทุน 7,854.225 ล้านบาท/แรงงาน 4,093 คน อ.ปราสาท 53 โรงงาน/เงินลงทุน 6,007.884 ล้านบาท/แรงงาน 2,729 คน ข้อมูลจาก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ )

สาเหตุที่ทำให้อำเภอปราสาทมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้วางยุทธศาสตร์ให้จังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งในประตูสู่อินโดจีนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบกของอาเซียน อำเภอปราสาทมีที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของเส้นทางการขนส่งที่มีถนนสายสำคัญผ่านสองสายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24(ถนนสีคิ้ว-เดชอุดม) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาผ่านเข้าสู่เขตจังหวัดบุรีรัมย์(อำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอประโคนชัย) เข้าเขตจังหวัดสุรินทร์ที่อำเภอปราสาท ผ่านอำเภอสังขะ เข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษและและไปสิ้นสุดที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสามารถออกสู่ประตูอินโดจีนที่ด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานีได้

ปัจจุบันการเดินทางจากอำเภอปราสาท โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24(ถนนสีคิ้ว-เดชอุดม) ไปยังกรุงเทพมหหานครเป็นถนน4ช่องจราจรจนถึงแยกต่างระดับอำเภอสีคิ้ว ถนนสายสำคัญอีกเส้นหนึ่ง คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214(กาฬสินธุ์-ช่องจอม) มีจุดเริ่มต้นจากเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม เข้าสู่จังหวัดสุรินทร์ที่อำเภอท่าตูม อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาท เข้าสู่อำเภอกาบเชิงและสิ้นสุดที่ประตูอินโดจีน ช่องจอม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับถนนหมายเลข 68 ของกัมพูชาทีทางรัฐบาลไทยให้เงินช่วยเหลือในการพัฒนาเส้นทาง จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทำให้อำเภอปราสาท อยู่ในฐานะที่เป็นดินแดนเชื่อมโยงของจังหวัดและของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้การลงทุนในอำเภอปราสาทขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีบางปีที่เกิดภาวะถดถอยบ้าง จากภาวะเศรษฐกิจโลกและความไม่มั่นคงทางการเมืองของประเทศ อย่างไรก็ดี ยุทธศาสตร์ที่ตั้งของอำเภอปราสาทยังคงเสียเปรียบอำเภอประโคนชัยและอำเภอนางรอง ของจังหวัดบุรีรัมย์ได้ เนื่องจากอำเภอดังกล่าวมีที่ตั้งที่สามารถเชื่อมต่อสู่ภาคตะวันออกได้

ในภาคเกษตรกรรม มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย ส่วนในภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมประเภทแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น โรงสีไฟ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไป โดยอำเภอปราสาทมีโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น โรงงานน้ำตาล, โรงไฟฟ้า และโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น

ย่านการค้าที่สำคัญในตัวอำเภอมีดังนี้

  • เทศบาลตำบลกังแอน จุดศูนย์กลางของอำเภอ
  • ปราสาทเมืองใหม่ ตำบลบ้านพลวง ประชิดกับเขตเทศบาลตำบลกังแอน
  • เทศบาลตำบลนิคมปราสาท บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการอาชีพปราสาท และสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์ สาขาอำเภอปราสาท

บุคคลที่มีชื่อเสียง

พระภิกษุ
ข้าราชการ

อ้างอิง

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 2916–2918. 28 กุมภาพันธ์ 2480.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอปราสาทและยุบอำเภอชุมพลบุรีลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 3085. 14 มีนาคม 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 44-45. 3 สิงหาคม 2499.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอรัตนบุรี และอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (58 ง): 1653–1663. 18 กรกฎาคม 2504.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (73 ง): 1747–1750. 14 สิงหาคม 2505.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (18 ง): 346–348. 18 กุมภาพันธ์ 2507. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกาบเชิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (98 ง): 1247. 20 พฤษภาคม 2518. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอกาบเชิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (108 ง): 2342–2346. 7 กันยายน 2519. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  10. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสังขะกับกิ่งอำเภอกาบเชิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (65 ก): (ฉบับพิเศษ) 11-13. 14 กรกฎาคม 2520. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาทและอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (126 ง): 3936–3955. 14 พฤศจิกายน 2521.
  12. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): (ฉบับพิเศษ) 19-23. 25 มีนาคม 2522. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสังขะ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (174 ง): 3497–3508. 9 ตุลาคม 2522.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท อำเภอสำโรงทาบ และกิ่งอำเภอลำดวน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (127 ง): 2814–2851. 19 สิงหาคม 2523.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศีขรภูมิ อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (49 ง): 912–927. 31 มีนาคม 2524.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (45 ง): 1053–1058. 30 มีนาคม 2525.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (150 ง): 3926–3948. 23 ตุลาคม 2527.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนิคมปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (271 ง): 8701–8703. 29 ธันวาคม 2530.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาท และอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 106-117. 17 สิงหาคม 2533.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท และอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 55-62. 9 ตุลาคม 2535.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (139 ง): (ฉบับพิเศษ) 48-53. 17 กันยายน 2536.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาทและอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 12–20. 9 พฤศจิกายน 2538.
  23. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
Kembali kehalaman sebelumnya