Share to:

 

โรงพยาบาลสุรินทร์

โรงพยาบาลสุรินทร์
Surin Hospital
แผนที่
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลศูนย์)
ที่ตั้งเลขที่ 68 ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง1 มีนาคม 2494
ความร่วมมือสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ผู้อำนวยการนายแพทย์ ชวมัย สืบนุการณ์
จำนวนเตียง914 เตียง
แพทย์134 คน
บุคลากร2,328 คน

โรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นโรงพยาบาลรัฐที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ประวัติ

ความเป็นมาของโรงพยาบาลสุรินทร์(กุศลสาธารณะ)ได้เริ่มก่อสร้างเริ่มแรกด้วยเงินทุนกุศลสาธารณะ(เงินกัณฑ์เทศน์เพื่อประโยชน์สาธารณสุข) โดยมี"ท่านเจ้าคุณ พระคุณรสศีลขันธ์ คณานันทธรรมมา (เปาว์ กฤชทอง)" เจ้าอาวาสวัดจุมพลสุทธาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายมหานิกาย เป็นประธานดำเนินงาน ในครั้งนั้นได้ออกเทศน์สามัคคีทุกตำบลในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อรวบรวมกัณฑ์เทศน์เป็นทุนในการเริ่มการก่อสร้าง พร้อมกันนี้ชาวจังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมกันบริจากทรัพย์จนพอที่จะดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลได้ นับเป็นสถานพยาบาลรักษาผู้เจ็บป่วยของทางราชการแห่งแรกในจังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาทั้งด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร และระบบงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื้อง

การกำเนิดโรงพยาบาลจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทีระบบสนับสนุนการรักษาอย่างครบวงจร นับเป็นความก้าวหน้าสำคัญของโรงพยาบาลสุรินทร์ ในการก้าวสู่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ที่ให้การรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพแก่ประชาชน ทุกก้าวอย่างของการพัฒนาเป็นการสร้งพื้นฐานที่แข็งแรงให้แก่โรงพยาบาลสุรินท์ ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน[1]

โรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดสุรินทร์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีเนื้อที่ 59 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา ได้ดำเนินการมาจากการจัดทุน “กุศลสาธารณสุข” ซึ่งพระเดชพระคุณ พระคุณรสศีลขันธ์ (เปาว์ กฤชทอง)" อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์(มหานิกาย) และประชาชนจังหวัดสุรินทร์ร่วมกันบริจาคเพื่อก่อตั้ง และเปิดโรงพยาบาลดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2494 โดยมีนายแพทย์สราญ นุกูลการ เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีแพทย์ประจำ 2 คน เป็นสถานที่ปฏิบัติงานให้บริการผู้ป่วยแห่งแรกของทางราชการ มีอาคารเรือนไม้ 2 หลัง จำนวน 50 เตียง ซึ่งนับได้ว่าเป็นสถานพยาบาลที่ทันสมัยแห่งแรกของจังหวัด และได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 56 ปี ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา จนได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลสุรินทร์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2549 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ประวัติ

ตามความตกลงความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ของสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2549 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยให้โรงพยาบาลบุรีรัมย์และโรงพยาบาลสุรินทร์เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

เพื่อดำเนินการผลิตแพทย์ตามแผนการลงทุนเสริมสร้างสาธารณสุขแห่งชาติ (พ.ศ. 2549-2552) เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐด้านสาธารณสุข ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 โดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีแผนการรับนักศึกษาแพทย์ปีละ 48 คน จนถึงปี พ.ศ. 2553 และในปี พ.ศ. 2554 มีแผนจะเพิ่มการรับเป็นปีละ 60 คน

เพื่อให้การดำเนินงานโครงการร่วมผลิตแพทย์ของโรงพยาบาลสุรินทร์เป็นไปด้วยความคล่องตัว จึงเห็นสมควรจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ เพื่อเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รองรับการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิกของนักศึกษาแพทย์ ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หลักสูตรการศึกษา

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

-

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ รับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยวิธีรับตรงผ่านทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya