Share to:

 

อำเภอองครักษ์

อำเภอองครักษ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ongkharak
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
แผนที่จังหวัดนครนายก เน้นอำเภอองครักษ์
แผนที่จังหวัดนครนายก เน้นอำเภอองครักษ์
พิกัด: 14°7′17″N 101°0′14″E / 14.12139°N 101.00389°E / 14.12139; 101.00389
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครนายก
พื้นที่
 • ทั้งหมด486.4 ตร.กม. (187.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด65,129 คน
 • ความหนาแน่น133.90 คน/ตร.กม. (346.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 26120
รหัสภูมิศาสตร์2604
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอองครักษ์ หมู่ที่ 1
ถนนสุขาภิบาล 10 ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

องครักษ์ เป็นหนึ่งในจำนวนสี่อำเภอของจังหวัดนครนายก ในเขตภาคกลางของประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอองครักษ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

ที่มาของชื่ออำเภอองครักษ์มีตำนานว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสต้นแถบนี้ และได้พักประทับแรม ณ บริเวณริมแม่น้ำนครนายกซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อองครักษ์ในปัจจุบัน ระหว่างประทับแรมอยู่นั้นนายทหารราชองครักษ์ได้ป่วยและเสียชีวิตลง จึงโปรดฯ ให้ตั้งศาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ อำเภอแห่งนี้จึงได้รับการเรียนขานว่า อำเภอองครักษ์

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตพิเศษให้แก่บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามซึ่งมีหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ เป็นผู้รับมอบ ให้จัดการขุดคลองซอยตัดท้องทุ่งระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก โดยให้สิทธิ์แก่บริษัทฯ ในการขายที่ดินทั้งสองฝั่งคลองเพื่อจัดเป็นที่นาได้ บริษัทฯ ได้ขุดคลองสายกลางขึ้นสายหนึ่งจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทะลุแม่น้ำนครนายกพร้อมตัดคลองซอยจากทั้งสองฝั่งคลองสายกลางนี้ โดยได้รับพระราชทานนามว่า "คลองรังสิตประยูรศักดิ์" ประตูน้ำปิด-เปิดด้านแม่น้ำเจ้าพระยาได้พระราชทานนามว่า "ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์" ส่วนประตูน้ำทางด้านแม่น้ำนครนายกนั้นพระราชทานนามว่า "ประตูน้ำเสาวภาผ่องศรี"

  • วันที่ 3 มีนาคม 2449 ยุบรวมตำบล และเปลี่ยนชื่อตำบลใหม่ โดยยุบรวมตำบลคลองสิบสี่ และตำบลคลองสิบห้า และเรียกชื่อว่า ตำบลบึงศาล และเปลี่ยนชื่อตำบลคลองหกวา เป็นตำบลพระอาจารย์[1]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลองครักษ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลองครักษ์ และตำบลทรายมูล[2]
  • วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2504 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอองครักษ์ โดย ตำบลองครักษ์ รับพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 4,5 ของตำบลทรายมูล มารวมกับหมู่ที่ 1,2,8 ตำบลองครักษ์ รับพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ของตำบลบางปลากด มารวมกับหมู่ที่ 4 ตำบลองครักษ์ รับพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 5 ของตำบลศีรษะกระบือ มารวมกับหมู่ที่ 9 ตำบลองค์รักษ์ ตำบลศีรษะกระบือ รับพื้นที่หมู่ที่ 4,5,7,8 ของตำบลพระอาจารย์ มาตั้งเป็นหมู่ที่ 1,2,3,5 ตำบลศีรษะกระบือ รับพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 8 ของตำบลองครักษ์ และบางส่วนของหมู่ที่ 5 ของตำบลศีรษะกระบือ มารวมกับหมู่ที่ 7 ตำบลศีรษะกระบือ รับพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 2 ของตำบลองครักษ์ มารวมกับหมู่ที่ 10 ตำบลศีรษะกระบือ ตำบลพระอาจารย์ รับพื้นที่หมู่ที่ 1,2,3,6,7,10,11 ของตำบลศีรษะกระบือ มาตั้งเป็นหมู่ที่ 3,4,5,7,10,11 ตำบลพระอาจารย์[3]
  • วันที่ 2 เมษายน 2511 ตั้งตำบลโพธิ์แทน แยกออกจากตำบลบางปลากด[4]
  • วันที่ 17 มิถุนายน 2512 ตั้งตำบลบางสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลบางลูกเสือ[5]
  • วันที่ 11 กันยายน 2527 ตั้งตำบลชุมพล แยกออกจากตำบลบึงศาล[6]
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2533 ตั้งตำบลคลองใหญ่ แยกออกจากตำบลองครักษ์[7]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลองครักษ์ เป็นเทศบาลตำบลองครักษ์
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2549 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอองครักษ์ โดย ตำบลบางสมบูรณ์ ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน ตำบลชุมพล ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ตำบลคลองใหญ่ ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน ตำบลทรายมูล ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลองครักษ์ ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลบึงศาล ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน ตำบลศีรษะกระบือ ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน ตำบลโพธิ์แทน ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน ตำบลบางปลากด ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลบางลูกเสือ ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน และตำบลพระอาจารย์ ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน[8]

เหตุการณ์สำคัญ

วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554 เครืองบินทะเบียน HS-EGL ประสบอุบัติเหตุตก มีผู้เสียชีวิต 2 ราย[9]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอองครักษ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 116 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[10]
1. พระอาจารย์ Phra Achan
13
6,561
2. บึงศาล Bueng San
9
6,155
3. ศีรษะกระบือ Sisa Krabue
13
7,016
4. โพธิ์แทน Pho Thaen
9
4,597
5. บางสมบูรณ์ Bang Sombun
13
3,933
6. ทรายมูล Sai Mun
11
5,813
7. บางปลากด Bang Pla Kot
11
8,023
8. บางลูกเสือ Bang Luk Suea
12
3,612
9. องครักษ์ Ongkharak
7
7,223
10. ชุมพล Chumphon
8
5,939
11. คลองใหญ่ Khlong Yai
10
6,449

การปกครองส่วนท้องถิ่น

หอพระ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

ท้องที่อำเภอองครักษ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลองครักษ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทรายมูลและตำบลองครักษ์
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระอาจารย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระอาจารย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงศาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงศาลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศีรษะกระบือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์แทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์แทนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสมบูรณ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรายมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรายมูล (นอกเขตเทศบาลตำบลองครักษ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลากด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลากดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางลูกเสือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางลูกเสือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลองครักษ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลองครักษ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมพลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองใหญ่ทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

สถานที่ท่องเที่ยว

ศาลเจ้าพ่อองครักษ์

ตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำนครนายก ในเขตตำบลทรายมูล บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อองครักษ์นี้เป็นวังน้ำวน น้ำไหลเชี่ยวมากสำหรับทางราชการถือว่าน้ำตรงวังน้ำเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ จึงได้นำไปทำพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก เมื่อคราวประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๔๙๓

  • ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับ

ตั้งอยู่ที่คลองสิบห้า เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์พืช ทั้งไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับจากที่นี่จะจัดส่งไปยังแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ ทั่วประเทศ และที่ศูนย์สาธิตการตลาดหมู่ที่ 11 มีวัสดุเพาะชำต้นไม้ขายในราคาถูก

สถานพยาบาล

  • โรงพยาบาลองครักษ์

สถานศึกษา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์)
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
  • วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • โรงเรียนองครักษ์
  • โรงเรียนภัทรพิทยาจารย์

อ้างอิง

  1. [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ แก้ไขอัตราชั้นที่นาและเปลี่ยนชื่อตำบลในมณฑลปราจีนบุรี
  2. [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
  3. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก
  4. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
  5. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
  6. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
  7. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
  8. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การปรับปรุงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
  9. https://www.thairath.co.th/content/163977
  10. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
Kembali kehalaman sebelumnya