Share to:

 

อำเภอบางน้ำเปรี้ยว

อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Nam Priao
อุโบสถมหาเจดีย์ วัดโพรงอากาศ
อุโบสถมหาเจดีย์ วัดโพรงอากาศ
คำขวัญ: 
ส่งเสริมวัฒนธรรม แหล่งทำนาข้าว
มะพร้าวน้ำหอม ปลาพร้อมอุดม
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
พิกัด: 13°50′50″N 101°3′12″E / 13.84722°N 101.05333°E / 13.84722; 101.05333
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่
 • ทั้งหมด498.65 ตร.กม. (192.53 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด89,687 คน
 • ความหนาแน่น179.86 คน/ตร.กม. (465.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 24150,
24000 (เฉพาะตำบลศาลาแดง),
24170 (เฉพาะตำบลบึงน้ำรักษ์ ดอนเกาะกา และดอนฉิมพลี)
รหัสภูมิศาสตร์2403
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางน้ำเปรี้ยว หมู่ที่ 2 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางน้ำเปรี้ยว เป็น 1 ใน 11 อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ชุมทางรถไฟโดยมีสถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้าที่เป็นทางแยกทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย–คลองสิบเก้า[1][2] และทางรถไฟสายกรุงเทพ–อรัญประเทศ–ปอยเปต[3][4] และมีสถานีรถไฟบางน้ำเปรี้ยวเป็นสถานีประจำอำเภอ และยังเป็นพื้นที่ของปากคลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นพื้นที่ชุมทางของ 3 แม่น้ำซึ่งแม่น้ำนครนายกบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรีที่ปากน้ำโยธะการวมเป็นแม่น้ำบางปะกง

สถานีรถไฟบางน้ำเปรี้ยว

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบางน้ำเปรี้ยวมีอาณาเขตติดต่อกับท้องที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า
ที่หยุดรถไฟโพรงอากาศ (อดีตสถานีรถไฟโพรงอากาศ) เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2528[5]

ประวัติ

อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 เดิมตั้งอยู่ที่บ้านต้นสำโรง ตำบลบางขนาก มีหลวงพิศาลเกษตรสมบูรณ์เป็นนายอำเภอและใช้บ้านพักเป็นที่ว่าการอำเภอ ต่อมาได้ปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2448 ที่หมู่ 2 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ด้วยงบประมาณของรัฐ ตั้งอยู่ฝั่งเหนือของคลองแสนแสบ (คลองบางขนาก) และในปี พ.ศ. 2540 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่โดยสร้างอยู่ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอเดิม และใช้เป็นสถานที่ราชการมาจนทุกวันนี้

การที่มีชื่อว่า "อำเภอบางน้ำเปรี้ยว" ตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่าอำเภอบางน้ำเปรี้ยวนี้เดิม เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำในลำคลองแห้งขอดขุ่นข้นมีรสเปรี้ยว จึงได้ชื่อว่าตำบลบางน้ำเปรี้ยว และขนานนามอำเภอว่า "อำเภอบางน้ำเปรี้ยว" แต่เดิมมามีสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ตอนใต้ราบลุ่มต่ำตอนเหนือสูงขึ้นมีพงหญ้าต้นโขมง เป็นที่อาศัยของช้างป่า และสัตว์ป่าหลายชนิด มีราษฎรประกอบอาชีพทำนา อยู่แถบริมคลองเพียงเล็กน้อย ต่อมา ร.ศ. 311 บริษัท คูนาสยาม ได้เข้ามาทำการขุดคลอง 18 และคลอง 19, คลอง 20, คลอง 21 และจัดทำประตูระบายน้ำขึ้นทำให้ดินจืดคลายความเปรี้ยวลงมาก จึงทำให้ราษฎรจากที่อื่นพากันอพยพมาจากที่อื่นเพื่อประกอบอาชีพทำนามากขึ้น

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางน้ำเปรี้ยวแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 148 หมู่บ้าน

1. บางน้ำเปรี้ยว (Bang Nam Priao) 16 หมู่บ้าน
2. บางขนาก (Bang Khanak) 12 หมู่บ้าน
3. สิงโตทอง (Singto Thong) 08 หมู่บ้าน
4. หมอนทอง (Mon Thong) 11 หมู่บ้าน
5. บึงน้ำรักษ์ (Bueng Nam Rak) 15 หมู่บ้าน
6. ดอนเกาะกา (Don Ko Ka) 14 หมู่บ้าน
7. โยธะกา (Yothaka) 13 หมู่บ้าน
8. ดอนฉิมพลี (Don Chimphli) 19 หมู่บ้าน
9. ศาลาแดง (Sala Daeng) 22 หมู่บ้าน
10. โพรงอากาศ (Phrong Akat) 18 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง

  1. "พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2532" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (114 ก): 14. วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (202 ก): 1093. วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
  3. สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง. "ทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน". สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018.
  4. "บันทึกประวัติศาสตร์.. เขมรเปิดหวูดเดินรถไฟชายแดนไทย-ศรีโสภณครั้งแรกในรอบ 30 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 5 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2528 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ณ สมุดเลขรหัส แทนชื่อสถานีและที่หยุดรถ เริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2528
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แก้ไขอัตราชั้นที่นาและเปลี่ยนชื่อตำบลในมณฑลปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (49): 1234–1236. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2449
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-27. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 15-16. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2–6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนาก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขนาก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (88 ง): 1467–1469. วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2515
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (98 ง): 1251–1253. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (36 ง): 12–13. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
  13. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-25 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  15. "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบางขนาก ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแสนแสบ". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  16. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแสนแสบ เป็น เทศบาลตำบลคลองแสนแสบ". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
Kembali kehalaman sebelumnya