อีดิลฟิฏร์
อีดิลฟิฏร์ (อาหรับ: عيد الفطر ʻĪd al-Fiṭr, สัทอักษรสากล: [ʕiːd al fitˤr]),[3] รู้จักกันในชื่อ "การฉลองละศีลอด" หรือวันอีดเล็ก และในภาษามลายูปัตตานีว่า รายอปอซอ (Hari Raya Puasa, อักษรยาวี: هاري راي ڤواسا) เป็นวันหยุดทางศาสนาที่ฉลองโดยมุสลิมทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน[4] การฉลองอีดทางศาสนามีแค่วันเดียวในเดือนเชาวาลซึ่งมุสลิมห้ามถือศีลอด วันเริ่มต้นในปฏิทินอิสลามมีความหลากหลายตามพื้นที่ว่าเห็นดวงจันทร์หรือไม่ อีดิลฟิฏร์มีการละหมาดแบบเฉพาะที่มีแค่ 2 เราะกะอัต โดยทั่วไปมักละหมาดที่ทุ่งเปิด หรือห้องโถงใหญ่ และมีอีก 6 ตักบีร (ยกมือขึ้นถึงหูในขณะที่กล่าวว่า "อัลลอฮุอักบัร" ความหมายคือ "อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร") ในมัซฮับฮะนะฟีของซุนนี โดยกล่าวสามครั้งตอนเราะกะอัตแรก และอีกสามครั้งก่อนรุกูอ์ในเราะกะอัตที่สอง[5] ในขณะที่มัซฮับอื่นของซุนนีมีถึง 12 ตักบีร โดยแบ่งเป็น 7 และ 5 ส่วนชีอะฮ์มี 6 ตักบีรในเราะกะอัตแรกในตอนจบกิรออะฮ์ ก่อนรุกูอ์ และอีกห้าครั้งในเราะกะอัตที่สอง[6] ประวัติอีดิลฟิฏร์ ถูกริเริ่มโดยศาสดามุฮัมมัด ตามรายงานในบางฮะดีษ เทศกาลนี้ถูกจัดขึ้นที่มะดีนะฮ์ หลังจากมุฮัมมัดอพยพออกจากมักกะฮ์ อะนัส อิบน์ มาลิก รายงานว่า เมื่อท่านศาสดามาถึงมะดีนะฮ์ ท่านเห็นผู้คนฉลองในสองวันนั้นด้วยนันทนาการและความรื่นเริง ดังนั้น ท่านศาสดาได้เปลี่ยนสองวันแห่งเทศกาลไปเป็นสิ่งที่ดีกว่า คือ: อีดิลฟิฏร์ กับอีดิลอัฎฮา[7] พิธีทั่วไปตามธรรมเนียม อีดิลฟิฏร์เริ่มในตอนดวงอาทิตย์ตกในคืนที่ส่องดวงจันทร์เสี้ยว ถ้าไม่มีการเห็นดวงจันทร์ในวันที่ 29 ของเดือนเราะมะฎอน (อาจเพราะเมฆบังหรือท้องฟ้าสว่างเกินเมื่อดวงจันทร์ขึ้น) วันอีดก็จะฉลองในวันถัดไป[8] อีดิลิฏร์จะมีการฉลอง 1 – 3 วัน ขึ้นอยู่กับประเทศ[9] เป็นเรื่องต้องห้ามที่จะถือศีลอดในวันอีด และมีละหมาดเฉพาะของวันนี้[10] ตามความจำเป็นในการบริจาค เงินจะถูกบริจาคแก่คนยากจนและคนที่ควรได้เงินบริจาค (ซะกาตฟิฏเราะฮ์) ก่อนละหมาดอีด[11] ละหมาดอีดและ อีดกาฮ์การละหมาดอีดมักจัดขึ้นในที่เปิดเช่นสนาม, ศูนย์ชุมชน หรือมัสยิด[9] ไม่มีการอะซานสำหรับการละหมาดอีด และละหมาดแค่ 2 เราะกะอัตกับหลายตักบีร หลังละหมาดเสร็จจะมีการคุตบะฮ์ และดุอาอ์ขอความอภัยโทษ, ความเมตตา, ความสันติสุข และขอพรต่อชีวิตทั่วโลกจากอัลลอฮ์[12] การเทศนาในวันอีดมาหลังละหมาด ไม่เหมือนกับละหมาดวันศุกร์ที่มาก่อนละหมาด อิหม่ามบางคนเชื่อว่าการฟังคำเทศนาในวันอีดคือสิ่งที่ไม่จำเป็น[13] หลังละหมาดแล้ว มุสลิมจะไปเยี่ยมญาติ, เพื่อน และคนรู้จัก หรือจัดงานฉลองขนาดใหญ่ในบ้าน, ศูนย์ชุมชน หรือหอประชุมเช่า[9] ขั้นตอนแบบซุนนีตามพิธีแล้ว พวกซุนนีจะกล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์ด้วยเสียงดังในขณะไปละหมาดอีดว่า: อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร. ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ วัลลอฮุอักบัร, อัลลอฮุอักบัร วะลิลลาฮิลฮัมด์ โดยจะหยุดกล่าวตอนมาถึงที่ละหมาดอีดหรือเมื่ออิหม่ามเริ่มพิธี[14] การละหมาดเริ่มขึ้นโดยมีการ "นียัต" ละหมาดแล้วตักบีร ตามมาด้วย ตักบีเราะตุลอิฮรอม และกล่าวตักบีรหลายครั้ง จากนั้นอิหม่ามจึงอ่านซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะฮ์ และอีกซูเราะฮ์ แล้วรุกูอ์ ยืนขึ้น และซุญูด หลังครบเราะกะอัตแรกแล้ว ก็ทำเราะกะอัตที่สองเหมือนกับอันแรก และลดจำนวนตักบีรลง หลังละหมาดเสร็จแล้ว จะมีการคุตบะฮ์ขึ้น[15] ขั้นตอนแบบชีอะฮ์การละหมาดเริ่มขึ้นด้วยนียัต แล้วตามมาด้วยตักบีร 5 ครั้ง ในช่วงตักบีรในเราะกะอัตแรกทุกครั้ง จะมีการอ่านดุอาอ์พิเศษ แล้วอิหม่ามอ่านซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะฮ์ และซูเราะฮ์ อัลอะอ์ลา และรุกูอ์กับซุญูด ในเราะกะอัตที่สอง ทำเหมือนกันกับเราะกะอัตแรก หลังละมาดเสร็จ คุตบะฮ์ก็จะเริ่มขึ้น[16] ภาพ
ดูเพิ่มอ้างอิง
สารานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า Eid al-Fitr
|