Share to:

 

ภาษามลายูปัตตานี

ภาษามลายูปัตตานี
บาซอ 'นายู 'ตานิง
แกแจะ 'นายู
بهاس ملايو ڤطاني
ออกเสียง/baˈsɔ ˈnːaju ˈtːaniŋ/
ประเทศที่มีการพูดไทย, มาเลเซีย
ภูมิภาคประเทศไทย:
จังหวัดปัตตานี, จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดยะลา, จังหวัดสงขลา (อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอจะนะ, อำเภอนาทวี, อำเภอเทพา), กรุงเทพมหานคร (เขตมีนบุรี, เขตคลองสามวา, เขตหนองจอก)
ประเทศมาเลเซีย:
รัฐกลันตัน
เมอราโปะฮ์ รัฐปะหัง
เบอซุตและเซอตียู รัฐตรังกานู
อำเภอบาลิง ซิก และปาดังเตอรัป รัฐเกอดะฮ์
อำเภอฮูลูเปรัก (เปิงกาลันฮูลูและกริก) รัฐเปรัก
ชาติพันธุ์มลายูปัตตานี
มลายูบางกอก
มลายูกลันตัน
มลายูบาลิง
มลายูกริก
มลายูรามัน
จำนวนผู้พูด3 ล้านคนในประเทศไทย  (2549)[1]
2 ล้านคนในประเทศมาเลเซีย[ต้องการอ้างอิง]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรยาวี, อักษรไทย, อักษรรูมี
รหัสภาษา
ISO 639-3mfa
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; มลายู: Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملايو فطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (มลายูปัตตานี: บาซอ ยาวี, บอซอ ยาวี, อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล)

ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตันและในอำเภอฮูลูเปรัก รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมกันเป็นภาษาเดียวกันว่า ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู กือลาแต-'ตานิง; กลันตัน: Baso nayu Kelate-Taning)

ระบบเสียง

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษามลายูปัตตานี[2]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ริมฝีปาก
กับฟัน
ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงกึ่งนาสิก mb nd ɲɟ ŋg
เสียงหยุด ก้อง b d ɟ g
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม (pʰ) (tʰ) (cʰ) (kʰ)
เสียงเสียดแทรก ก้อง (z) ɣ
ไม่ก้อง (f) s (x) h
เสียงรัว r
เสียงข้างลิ้น l
เสียงกึ่งสระ w j
  • หน่วยเสียงที่อยู่ในวงเล็บคือหน่วยเสียงที่ปรากฏในคำยืม เช่น /eʔ/ 'เค้ก', /orasaʔ/ 'โทรศัพท์'
  • หน่วยเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์มี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ŋ/, /ʔ/ และ /h/ เช่น /tɨpoŋ/ 'ขนม', /kɔtɔʔ/ 'กล่อง', /panah/ 'ร้อน'
  • หน่วยเสียงพยัญชนะกึ่งนาสิกเป็นหน่วยเสียงที่ไม่พบทั้งในภาษามาเลเซียและภาษาไทย เกิดจากการรวบเสียงพยัญชนะนาสิกเข้ากับเสียงพยัญชนะกักซึ่งใช้ฐานกรณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันจนกลมกลืนเป็นเสียงเดียว โดยเกิดเฉพาะในตำแหน่งกลางคำเท่านั้น ตัวอย่างคู่เทียบเสียงได้แก่ /kɨmæ/ 'ไมยราบ' - /kɨmbæ/ 'บาน', /kanæ/ 'ขวา' - /kandæ/ 'คอก' และ /tuŋa/ 'ไร' - /tuŋga/ 'โทน, โดด'
  • นอกจากหน่วยเสียงพยัญชนะข้างต้นแล้ว ภาษามลายูปัตตานียังมีหน่วยเสียงพยัญชนะเสียงยาว ซึ่งก็คือเสียงพยัญชนะต้นที่ถูกยืดให้ยาวกว่าปกติเล็กน้อยเนื่องมาจากการลดรูปของคำ การยืดเสียงเช่นนี้เกิดได้กับพยัญชนะทุกหน่วยเสียง ยกเว้น /ʔ/, /h/ และหน่วยเสียงพยัญชนะกึ่งนาสิก ตัวอย่างคู่เทียบเสียงได้แก่ /buŋɔ/ 'ดอกไม้' - /uŋɔ/ 'ออกดอก' และ /malæ/ 'กลางคืน' - /alæ/ 'ค้างคืน'

สระ

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษามลายูปัตตานี[3]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i ɨ u, ũ
กึ่งสูง e o
กึ่งต่ำ æ, æ̃ ɔ, ɔ̃
ต่ำ a, ã

คำยืม

นอกจากคำศัพท์พื้นฐานของภาษามลายูแล้ว ภาษามลายูปัตตานีมีคำยืมจากภาษาอื่นหลายภาษา ได้แก่[4]

  • ภาษาสันสกฤต เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ฮินดู เช่น ภาษา เป็น บาฮาซอ หรือ บาซอ; หฤทยะ ('ใจ') เป็น ฮาตี ('ตับ, ใจ'); คช ('ช้าง') เป็น กฺาเยฺาะฮ; ชัย ('ชัยชนะ') เป็น จายอ ('เจริญ'); โทษ ('ความชั่ว') เป็น ดอซอ ('บาป'); วาจา ('คำพูด') เป็น บาจอ ('อ่าน'); นคร ('เมือง') เป็น เนฆือรฺ ('ประเทศ')
  • ภาษาอาหรับ เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม เช่น قَلَم /เกาะลัม/ ('ปากกา') เป็น กาแล; تَمْر /ตัมร์/ ('อินทผลัม') เป็น ตามา; عَالَم /อาลัม/ ('โลก') เป็น อาแล; تُفَّاح /ตุฟฟาห์/ ('แอปเปิล') เป็น ตอเปาะฮ; وَقْت /วักต์/ ('เวลา') เป็น วะกือตู; كِتَاب /กิตาบ/ ('หนังสือ') เป็น กีตะ ("คัมภีร์ทางศาสนาอิสลาม"); دُنْيَا /ดุนยา/ ('โลก') เป็น ดุนิยอ
  • ภาษาจีน เช่น กุยช่าย เป็น กูจา
  • ภาษาเปอร์เซีย เช่น แมฮ์ทอบ ('แสงจันทร์') เป็น มะตับ; แกนโดม ('แป้ง') เป็น กฺานง
  • ภาษาฮินดี เช่น โรตี เป็น รอตี
  • ภาษาทมิฬ เช่น มานิกัม ('เพชร') เป็น มานิแก
  • ภาษาอังกฤษ เช่น glass ('แก้ว') เป็น กฺือละฮ; free ('ฟรี') เป็น ปือรี; motorcycle ('จักรยานยนต์') เป็น มูตูซีกา
  • ภาษาไทย เช่น นายก เป็น นาโยฺะ; ปลัด เป็น บือละ; มักง่าย เป็น มะงา; โทรศัพท์ เป็น โทราซะ

ความแตกต่างระหว่างภาษามลายูปัตตานีกับภาษามาเลเซีย

ความแตกต่างระหว่างภาษามลายูปัตตานีกับภาษามลายูกลางหรือภาษามาเลเซียมีดังนี้[5]

การใช้คำ

บางคำทั้งสองภาษาใช้คำต่างกัน เช่น 'ฉัน' ภาษามาเลเซียใช้ saya ภาษามลายูปัตตานีใช้ อามอ หรือ ซายอ บางคำใช้พยัญชนะสลับกัน เช่น 'มันเทศ' ภาษามาเลเซียใช้ ubi keledek ภาษามลายูปัตตานีใช้ อูบี กือแตลอ หรือ อูบี แตลอ; 'พูด' ภาษามาเลเซียใช้ cakap ภาษามลายูปัตตานีใช้ แกแจะ นอกจากนี้ ยังมีการใช้คำภาษาไทยปะปนเข้ามาในบางส่วน

การออกเสียง

  • ออกเสียงสระต่างกัน ได้แก่
    • เสียง /a/ + พยัญชนะนาสิกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /æ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น ayam ('ไก่') เป็น อาย; makan ('กิน') เป็น มา
    • เสียง /a/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น nama ('ชื่อ') เป็น นาม; sila ('เชิญ') เป็น ซีล
    • เสียง /a/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔʔ/ ในภาษามลายูปัตตานี (บางส่วน) เช่น bawa ('พา') เป็น บอาะ; minta ('ขอ') เป็น มีาะ
    • เสียง /ah/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔh/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น rumah ('บ้าน') เป็น รฺูาะฮ
    • เสียง /aj/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /a/ หรือ /æ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น sungai ('คลอง') เป็น ซูง หรือ ซู; kedai ('ตลาด') เป็น กือด หรือ กือ (การแปรเป็นเสียง /æ/ พบในบางท้องถิ่นเท่านั้น)
    • เสียง /aw/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /a/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น pisau ('มีด') เป็น ปีซ
    • เสียง /i/ ท้ายคำที่ประสมกับพยัญชนะนาสิกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /iŋ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น sini ('ที่นี่') เป็น ซีนิง
    • เสียง /ia/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /i.jæ/ หรือ /i.jɔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น Siam ('สยาม') เป็น ซีแย, manusia ('มนุษย์') เป็น มะนูซียอ
    • เสียง /ia/ พยางค์แรกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /æ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น biasa ('เคย') เป็น บซอ
    • เสียง /ua/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น puasa ('บวช,ถือศีลอด') เป็น ซอ
  • ออกเสียงพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น
    • เสียง /r/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɣ/ ในภาษามลายูปัตตานี (บางส่วน) เช่น orang ('คน') เป็น ออแรฺ, rantai ('โซ่') เป็น รฺาตา ในขณะที่ roti ('ขนมปัง, โรตี') ยังคงเป็น อตี
  • ออกเสียงตัวสะกดต่างกัน เช่น
    • ตัวสะกดที่เป็นเสียงเสียดแทรก /s/, /f/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียงที่เกิดจากคอหอย /h/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น malas ('เกียจคร้าน') เป็น มาละ
    • ตัวสะกด /n/, /m/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ŋ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น hakim ('ตุลาการ') เป็น ฮาเก็

โครงสร้างประโยค

ภาษามลายูปัตตานีนิยมเรียงประโยคแบบภาษาไทยคือใช้รูปประธานกระทำ ส่วนภาษามาเลเซียใช้ประโยคแบบประธานถูกกระทำ เช่น ภาษามลายูใช้ ตูวัน ดีเปอรานากัน ตีมานา ('ท่านถูกเกิดที่ไหน') ภาษามลายูปัตตานีใช้ ตูแว บือราเนาะ ดีมานอ ('ท่านเกิดที่ไหน')

ความต่างของไวยากรณ์และคำศัพท์

  • ภาษามลายูปัตตานีตัดคำอุปสรรคที่ไม่จำเป็นออก เช่น berjalan (เดิน) ในภาษามาเลเซีย เป็น 'ยฺาแล ในภาษามลายูปัตตานี และเสียงพยัญชนะตัวแรกยาวขึ้น
  • ภาษามลายูปัตตานีมีการย่อหรือกร่อนคำหลายคำรวมเป็นคำเดียว เช่น ดาโตะ อากี เป็น โตะกี, ตือรฺายฺู เป็น ตายฺู, ดี มานอ เป็น ดานอ, ซือแอกอ เป็น แซกอ เป็นต้น ในขณะที่ภาษามาเลเซียมีน้อยมาก
  • ภาษามลายูปัตตานีใช้คำง่ายกว่า เช่น มาแก หมายถึงทั้ง 'กินข้าว' 'ดื่มน้ำ' และ 'สูบบุหรี่' แต่ภาษามาเลเซียแยกเป็น makan ('กิน'), minum ('ดื่ม') และ hisap ('สูบ')
  • ภาษามาเลเซียมีการแยกระดับของคำมากกว่า เช่น 'ผู้ชาย' ใช้ laki-laki 'สัตว์ตัวผู้' ใช้ jantan ส่วนภาษามลายูปัตตานีใช้ ยฺาแต กับทั้งคนและสัตว์ ส่วน ลือลากี มีใช้น้อย
  • ภาษามลายูปัตตานีมีการเรียงคำแบบภาษาไทยมากกว่า เช่น 'ทำนา' ใช้ บูวะ บือแ

อ้างอิง

  1. ภาษามลายูปัตตานี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. คู่มือระบบเขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 20.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. คู่มือระบบเขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 24.
  4. ประพนธ์, 2540
  5. ประพนธ์, 2540

บรรณานุกรม

  • Nawanit, Yupho (1986). "Consonant Clusters and Stress Rules in Pattani Malay" (PDF). The Mon-Khmer Studies Journal. 15: 125–138.
  • ประพนธ์ เรืองณรงค์. บุหงาปัตตานี: คติชนไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : มติชน, 2540.
  • Ishii, Yoneo. (1998). The Junk Trade from Southeast Asia: Translations from the Tôsen Fusesu-gaki 1674–1723. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 981-230-022-8.
  • Cummings, Joe et al. (2005). Thailand Lonely Planet. ISBN 1-74059-697-8.
  • Laver, John. (1994). Principles of Phonetics. Cambridge University Press. ISBN 0-521-45655-X.
  • Smalley, William A. (1994). Linguistic Diversity and National Unity: Language Ecology in Thailand. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0226762890Abdul Aziz, A. Y. (2010). Inventori vokal dialek Melayu Kelantan: Satu penilaian semula. Persatuan Linguistik Malaysia.


Kembali kehalaman sebelumnya