Share to:

 

เกรียงยศ สุดลาภา

เกรียงยศ สุดลาภา
เกรียงยศ ในปี พ.ศ. 2564
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 229 วัน)
นายทะเบียนสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
(2 ปี 148 วัน)
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565
(3 ปี 267 วัน)
ผู้ว่าการอัศวิน ขวัญเมือง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2545–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)

นายเกรียงยศ สุดลาภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดกรุงเทพมหานครและนายทะเบียนสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ รองประธานคณะกรรมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและการบริหารงานรูปแบบพิเศษสภาผู้แทนราษฎรอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ถาวร เสนเนียม) อดีตรองโฆษกกรุงเทพมหานคร ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหลังจากเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เกรียงยศได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท) โดยแต่งตั้งให้เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการ ดูแลทางด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น

ประวัติ

นายเกรียงยศ สุดลาภา เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นบุตรของนายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 7 และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และด้านครอบครัวเกรียงยศ สุดลาภา มีบุตรชาย 2 คน คือพราวด์ พลชย สุดลาภา และพร้อม ณภดล สุดลาภาบุตรที่เกิดกับอทิตา สุธาดารัตน์ (หย่า) ในปัจจุบันคู่สมรสใหม่กับ พิมพ์พีรฎา กิจเพิ่มพูล

นายเกรียงยศ สุดลาภา เรียนจบการศึกษาระดับชั้นประถมที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับมัธยมศีกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กทม.และ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กทม. และจากนั้นศึกษาปริญญาตรีที่ Catholic Central High School, Grand Rapids, Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบระดับปริญญาโทด้าน Art and Media management ที่ Columbia College Chicago เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาและปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (MPA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (GSPA NIDA) เมื่อปี พ.ศ. 2544

งานการเมือง

นายเกรียงยศ สุดลาภา เข้าเวทีการเมืองครั้งแรกโดยการได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รองโฆษกกรุงเทพมหานคร (ดูแลด้านกิจการกรุงเทพมหานคร) ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเคยสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบแบ่งเขตในเขตเลือกตั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้เพียงลำดับที่ 4 และได้ลงเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อในนามพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งในปีพ.ศ. 2554 อยู่ในลำดับที่ 68 [1]

ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[2]

นายเกรียงยศ สุดลาภา เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการเสนอชื่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมแทนนายทิวา เงินยวง ในการเลือกตั้งซ่อม เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 แต่สุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์ มีมติให้นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เป็นตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้ง[3] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 นายเกรียงยศ สุดลาภา ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช.ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.)[5] และดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ)ให้ดูแลทางด้านการปกครองท้องถิ่นในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท) และในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แต่งตั้งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กำกับดูแลสำนักการศึกษา สำนักวัฒนธรรม กีฬาและท่องเที่ยว สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักงานการต่างประเทศ สำนักพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักการคลัง ของกรุงเทพมหานคร

นายเกรียงยศ ย้ายไปร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[6] และได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายทะเบียนพรรครวมไทยสร้างชาติ ในการประชุมใหญ่วิสามัญ พรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565

ปัจจุบันได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ดูแลงานพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและการบริหารงานราชการรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ""ปชป.-พท."ฐานคะแนน กทม.สูสี เลือกซ่อมเขต 6 "วัดกันที่กระแส"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-01.
  2. "การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายเกรียงยศ สุดลาภา และนายสุกิจ ก้องธรนินทร์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  3. องอาจเผยชื่อ5คนปชป.คัดลงชิงส.ส.แทนทิวา
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
  6. มหกรรมการลาออกครั้งใหญ่ ส.ส.รุ่นใหญ่ รุ่นใหม่ ใครย้ายไปพรรคไหนบ้าง
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
Kembali kehalaman sebelumnya