Share to:

 

เชาวน์วัศ สุดลาภา

เชาวน์วัศ สุดลาภา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 7
ดำรงตำแหน่ง
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 – 16 เมษายน พ.ศ. 2524
(1 ปี 287 วัน)
ก่อนหน้าชลอ ธรรมศิริ
ถัดไปพลเรือเอก เทียม มกรานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
(0 ปี 20 วัน)
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 15 กันยายน พ.ศ. 2536
(0 ปี 352 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(0 ปี 88 วัน)
ก่อนหน้าธนา เมตตาริกานนท์
ไสว พัฒโน
ถัดไปวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถวิล ไพรสณฑ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มิถุนายน พ.ศ. 2476
อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศสยาม
เสียชีวิต27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(68 ปี 56 วัน)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองกิจสังคม
คู่สมรสคุณกมลทิพย์ สุดลาภา
บุตร3 คน

เชาวน์วัศ สุดลาภา (1 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 7 และยังได้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนับเป็นท่านแรกในทำเนียบผู้ว่ากรุงเทพมหานคร, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และในสมัยชวน หลีกภัย 1 สมัย, รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่ 2

ประวัติ

ชีวิตส่วนตัว

นายเชาวน์ว้ศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครท่านที่ 7 ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นับเป็นท่านแรก และ ท่านเดียวใน ทำเนียบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (ฯพณฯ ท่าน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) เป็นนายกรัฐมนตรีและพ.ศ2538 เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร (ฯพณฯ ท่าน บรรหาร ศิลปอาชา) เป็นนายกรัฐมนตรี นายเชาวน์วัศ ยังเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรีและอดีตสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายเชาวน์วัศ ยังมีผลงานที่โดดเด่นได้กวาดล้างซุ้มมือปืนจังหวัดเพชรบุรีสำเร็จเมื่อสมัยดำรงตำแหน่งพ่อเมืองจังหวัดเพชรบุรีและยังเคยเป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยคนที่2 อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรองหัวหน้าพรรคพรรคกิจสังคม นอกจากด้านการเมืองการแล้วนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ยังเป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเคยดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมรัฐศาสตร์ คนที่2แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

การศึกษา

และยังได้รับมอบปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก 2 มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้านการเมือง

เชาวน์วัศ เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกจากการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อ พ.ศ. 2515 เชาวน์วัศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 ครั้ง ใน 2 สมัย ในรัฐบาลของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และในรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 เป็นนายกรัฐมนตรี อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 7 (นับเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ได้ดำรงตำแหน่งควบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในเวลาเดียวกันในตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม.เมื่อปีพ.ศ. 2523) และเป็นอดีตผู้ว่าราชการและนักการเมืองที่มีบทบาททางการเมืองและการปกครอง เจ้าของนโยบายกรุงเทพสีเขียวโดยการปลูกต้นไม้รอบจังหวัดกรุงเทพมหานครในถนนทุกสาย (สมัยเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ผู้ดำเนินการสร้างถนนรัชดาภิเษก ผู้ก่อตั้งศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง (ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น) ขณะเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ก่อตั้งตลาดนัดจตุจักร และยังเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในอีกหลายจังหวัด เชาวน์วัศได้เข้าสู่วงการการเมืองโดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพลประภาส จารุเสถียร) ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 ครั้ง ใน 2 สมัย และยังมีผลงานที่โดดเด่นคือการกวาดล้างซุ้มมือปืนจังหวัดเพชรบุรีได้สำเร็จในสมัยเป็นพ่อเมืองเพชรบุรี ได้ทำการปราบปราบแร่เถื่อนที่จังหวัดพังงาสมัยเป็นพ่อเมืองพังงา ปราบปรามโจรเรียกค่าไถ่ในจังหวัดลพบุรีและเชาวน์วัศยังได้รับใด้ดำรงตำแหน่งรองปล้ดกระทรวงมหาดไทยก่อนจะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่7 และยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[ลิงก์เสีย]จังหวัดลพบุรี ต่อเนื่อง 4 สมัย (สอบได้ที่ 1 ทั้ง 4 สมัยซ้อน) นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ (สังข์เงิน) ( ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2522) จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ทางด้านสาขาการบริหารและการปกครอง) และยังได้รับการก่อตั้งอนุสาวรีย์เชาวน์วัศ ขึ้นที่ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งผู้ว่าคนดี และที่สำคัญเชาวน์วัศ ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี[1]

เชาวน์วัศ เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกจากการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อ พ.ศ. 2515 ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 41 สมัย พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.

ในปี พ.ศ. 2531 เชาวน์วัศได้ลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี และได้รับเลือกตั้ง 4 สมัยต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 - 2538 และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม โดยในช่วงเวลาดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (พ.ศ. 2531 - 2535) และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 (พ.ศ. 2535) ในปี พ.ศ. 2536 เชาวน์วัศได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 50 สมัยนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย 1) นับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งที่ 2

ชีวิตส่วนตัว

นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เกิดวันที่ 1 มิถุนายน 2476 ชีวิตคู่ได้สมรสกับคุณกมลทิพย์ สุดลาภา มีบุตร - ธิดารวม 3 คน ได้แก่

ตำแหน่งการเมืองและการปกครอง

ผลงานสำคัญ ด้านการเมืองและการปกครอง

  • พ.ศ. 2515 ผู้ริเริ่มให้มีการพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ต่อท้ายต้นร่างหนังสือราชการ
  • พ.ศ. 2515ผู้ ริเริ่มจัดตั้ง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย
  • นายกสมาคมรัฐศาตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นคนที่2
  • สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครได้ดำเนินนโยบาย "ทำกรุงเทพให้เป็นสีเขียว" โดยการปลูกต้นราชพฤกษ์รอบกรุงเทพมหานครเพื่อลดมลภาวะ
  • เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งตลาดนัดจตุจักรย้ายสนามหลวงไปจตุจักรและสร้างตลาดนัดจตุจักรขึ้น[5]
  • ก่อตั้งถนนรัชดาภิเษก
  • ก่อตั้งศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง ในขณะเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • ปราบปราบแร่เถื่อน อิทธิพลเถื่อนจนสำเร็จราบคาบ สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาจนชาวบ้านที่รักท่านเชาวน์วัศได้มีการก่อตั้งอนุสาวรีย์เชาวน์วัศ สุดลาภา ขึ้นที่อำเภอกะปงจังหวัดพังงา

เกียรติยศที่ได้รับ

  • รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ (สังข์เงิน) ( ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2522) จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ด้านสาขาการบริหารและการปกครอง)
  • ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี[12]
  • ได้รับการจัดสร้างอนุสาวรีย์เชาวน์วัศน์ สุดลาภาขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีที่ประชาชนชาวอำเภอกะปง จังหวัดพังงาสร้างไว้ให้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู่ว่าราชการจังหวัดพังงาท่านนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. บุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี เก็บถาวร 2009-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี)
  2. นายอำเภอศรีประจันต์ เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "ทำเนียบรายชื่อผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  5. ประวัติ ตลาดนัดสวนจตุจักร.เก็บถาวร 2009-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (จากเว็บไซต์ chillisiam.com)
  6. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เว็บไซต์หมูหินดอตคอม)
  7. งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์
  8. "ก่อตั้งวิทยาลัยชาวบ้านจังหวัดลพบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-02-26.
  9. สร้างเหรียญหลวงพ่อเขาตระเครา
  10. รูปแบบและกระบวนพยุหยาตราพญาลิไท วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548
  11. การจัดงาน พระนครคีรี - เมืองเพชร ครั้งที่ 15. (ข่าวจาก ryt9.com วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  12. "บุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-02-26.
  13. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (๕ ธันวาคม ๒๕๓๐)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2014-11-24.
  14. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-12-13.
  15. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน
  16. รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไชต์ thaiscouts

แหล่งข้อมูลอื่น

  • หนังสือประวัติ เชาวน์วัศ สุดลาภา
ก่อนหน้า เชาวน์วัศ สุดลาภา ถัดไป
นายชลอ ธรรมศิริ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - 16 เมษายน พ.ศ. 2524)
พลเรือเอกเทียม มกรานนท์
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya