Share to:

 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา
พิกัด7°22′30″N 99°55′0″E / 7.37500°N 99.91667°E / 7.37500; 99.91667
พื้นที่1,266.96 ตารางกิโลเมตร (791,850 ไร่)
จัดตั้ง4 กันยายน พ.ศ. 2518
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา

ประวัติ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เริ่มต้นจากการเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง สำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านกะช่อง หมู่ที่ 1 ตำบลช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ต่อมาประกาศจัดตั้งเป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตามพระราชกฤษฎีกาพิเศษ หน้าที่ 1 ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 181 ลงวันที่ 4 กันยายน 2518 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 805,000 ไร่ แต่ในปี พ.ศ. 2520 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดสตูลออกให้นิคมสร้างตนเองภาคใต้จังหวัดสตูล เพื่อจัดให้ราษฎรทำกิน ปี พ.ศ. 2524 ได้เกิดอุทกภัยภาคใต้อย่างร้ายแรง ทำให้ที่ตั้งสำนักงานเขตฯ ได้รับความเสียหาย ประกอบกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรมป่าไม้ในสมัยนั้น ได้จัดตั้งขึ้นซ้ำซ้อนในพื้นที่เดียวกัน ทำให้เกิดการเข้าใจผิดประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ไม่สามารถแยกแยะหน่วยงานแต่ละเขตรับผิดชอบแต่ละหน่วยงานได้ จึงได้ย้ายที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดไปอยู่ที่หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านนาวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอศรีนครินทร์) จังหวัดพัทลุง เพราะเป็นสถานที่เหมาะสม คล่องตัวในการปฏิบัติงานและติดต่อประสานงานกับหน่วยราชการอื่นๆ ได้สะดวก และ ในปี พ.ศ. 2528 ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนออกเพื่อสร้างและขยายถนนเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 (พัทลุง-ตรัง) เหลือพื้นที่ประมาณ 791,871.81 ไร่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 102 ตอนที่ 98 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2528 และปี พ.ศ. 2530 ก็ได้ประกาศเพิกถอนพื้นที่บางส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดออกอีก เพื่อมอบพื้นที่ให้กองทัพภาคที่ 4 จัดตั้งกรมอาสาสมัครทหารพรานที่ 4154 เป็นสถานที่ฝึกการรบเป็นพิเศษของกองทัพขึ้น ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่รับผิดชอบอยู่ประมาณ 791,847 ไร่ หรือ 1266.96 ตารางกิโลเมตร ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 104 ตอนที่ 278 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2530 

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา:4/9/2518[104/278]

ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะของชุมชนในพื้นที่

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพัทลุง โรงเรียนบ้านนาวง สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง หน่วยจัดการต้นน้ำคลองบางแก้ว สำนักงานสวนพฤกษศาตร์ สถานีเพาะชำกล้าไม้ จังหวัดตรัง ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 9 สถานีวิจัยและพัฒนาการปลูกหวายเทือกเขาบรรทัด ชื่อหน่วยงาน เขาบรรทัด พื้นที่รับผิดชอบ 791976 ไร่ หรือ 1,267.16 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ที่รับผิดชอบอยู่ในแผนที่สภาพภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 หมายเลขระวาง 4923 I , 4923 II , 4924 II , 5023 III , 5023 V จำนวนหน่วยพิทักษ์ป่า 1. สำนกงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง 2. หน่วยพิทักษ์ป่าหรือหน่วยย่อย หน่วยพิทักษ์ป่าเขาช่อง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 7 ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง พิกัด 876348 หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกสายรุ้ง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง พิกัด 897224 หน่วยพิทักษ์ป่าไพรสวรรค์ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 4 ตำบลโพรงจระเข้ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง พิกัด 905192 หน่วยพิทักษ์ป่าโตนเต๊ะ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 2 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พิกัด975066 หน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พิกัด 6-01-355 E 7-84-386 N หน่วยพิทักษ์ป่าเหนือคลอง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล พิกัด 6-12-876- E 7-73-210 N129747 หน่วยพิทักษ์ป่าท่ามะปราง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา พิกัด 217905 หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งนารี ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง พิกัด 187910 หน่วยพิทักษ์ป่าตะโหมด ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 11 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัด พัทลุง พิกัด 141014 หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านพูด ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัด พัทลุง พิกัด 6-06-427E 8-13-483N หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านโตน ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที 6 ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง พิกัด 991274 หน่วยพิทักษ์ป่าย่อยบ้านตระ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 2 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พิกัด 6-03-425E 7-99-761N หน่วยพิทักษ์ป่าคีรีวง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล พิกัด 885855 หน่วยพิทักษ์ป่าย่อยหินจอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พิกัด 918948 หน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร เพิ่มหลัง กย.2545

การคมนาคม

มีความสะดวกมากเพราะที่ตั้งสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด อยู่ติดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4 ) จังหวัดพัทลุง-จังหวัดตรัง ที่บ้านนาวง ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ประมาณ 27 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดตรัง ประมาณ 31 กิโลเมตรสามารถเดินทางได้โดย 1. เส้นทางรถยนต์มีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดวัน 2. เส้นทางรถไฟสายพัทลุงต่อรถยนต์โดยสารประจำทาง พัทลุง-ตรัง ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร 3. เส้นทางอากาศโดยเครื่องบิน ลงที่สนามบินตรัง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางจากตรังไปตามถนนเพชรเกษม ตรัง-พัทลุง ถึงสำนักงานเขตฯ ระยะทางประมาณ 40กิโลเมตร ถ้าลงที่สนามบินหาดใหญ่แล้วต่อรถโดยสารประจำทางไปตามถนนเพชรเกษมสายหาดใหญ่-ตรัง ถึงสำนักงานเขตฯระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร สถานที่โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานได้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง 93000 โทรศัพท์สาธารณะ 074-614456

ที่ตั้ง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7องศา 10 ลิปดา ถึง 7 องศา 35 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 o.45/ ถึง 100 o 05 / ตะวันออก สำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านนาวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา กิ่งอำเภอครีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ชิดทางหลวงหมายเลข 4 (ด้านซ้ายมือถนนเพชรเกษม) ช่วงพัทลุง-ตรัง ห่างจากตัวจังหวัดพัทลุงประมาณ 27 กิโลเมตร และจังหวัดตรัง ประมาณ 35 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 962 กิโลเมตร มี 12 อำเภอ 4 จังหวัด ดังนี้

1. จังหวัดพัทลุง เนื้อที่ประมาณ 265,625 ไร่ หรือประมาณ 425 ตารางกิโลเมตร (25 หมู่บ้าน 8 ตำบล 4 อำเภอ)

  • อำเภอศรีนครินทร์ (หมู่ที่ 1,2,4,5,7 ตำบลบ้านนา), (หมู่ที่ 5,6 ตำบลนำสินธุ์)
  • อำเภอกงหรา (หมู่ที่ 1,5,8,9,11) , (ตำบลคลองเฉลิม หมู่ที่ 1,2,4,7), (หมู่ที่ 5,7 ตำบลคลองทรายขาว) และ(หมู่ที่ 5,7 ตำบลกงหรา)
  • อำเภอป่าบอน (หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งนารี), (หมู่ที่ 1,6 ตำบลหนองธง)

2. จังหวัดตรัง เนื้อที่ประมาณ 259,375 ไร่ หรือประมาณ 415 ตารางกิโลเมตร (18 หมู่บ้าน 5 ตำบล 3 อำเภอ)

  • อำเภอนาโยง (หมู่ที่ 2,3,4,5,7 ตำบลช่อง)
  • อำเภอย่านตาขาว (หมู่ที่ 2,4,8 ตำบลนาชุมเห็ด), (หมู่ที่ 1,4,6 ตำบลโพรงจระเข้)
  • อำเภอปะเหลียน (หมู่ที่ 2,4,5,10,11 ตำบลปะเหลียน), (หมู่ที่ 5,6 ตำบลลิพัง)

3. จังหวัดสตูล เนื้อที่ประมาณ 210,000 ไร่หรือประมาณ 336 ตารางกิโลเมตร (8 หมู่บ้าน 6 ตำบล 4 อำเภอ)

  • อำเภอทุ่งหว้า (หมู่ที่ 7,9 ตำบลทุ่งหว้า), (หมู่ที่ 3 ตำบลป่าแก่บ่อหิน)
  • อำเภอละงู (หมู่ที่ 4,10 ตำบลน้ำผุด)
  • อำเภอมะนัง (หมู่ที่ 5,6 ตำบลปาล์มพัฒนา)
  • อำเภอควนกาหลง (หมู่ที่ 8 ตำบลควนกาหลง), (หมู่ที่ 5,6 ตำบลควนกาหลง), (หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง เป็นที่ที่จะดำเนินการผนวกเพิ่มเติม)

4.จังหวัดสงขลาเนื้อที่ประมาณ 56,976 ไร่ หรือประมาณ 91 ตารางกิโลเมตร (5หมู่บ้าน 2 ตำบล 1 อำเภอ)

  • อำเภอรัตภูมิ (หมู่ที่ 8,9 ตำบลท่าชะมวง) , (หมู่ที่ 5,6,9 ตำบลเขาพระ)

ข้อมูลด้านกายภาพ

พื้นที่

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีพื้นที่ประมาณ 791847 ไร่

ภูมิประเทศ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตั้งอยู่ในเทือกเขาบรรทัดซึ่งเป็นเทือกเขาที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และแบ่งระหว่างภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก แบ่งเป็นจังหวัดพัทลุง และจังหวัดตรังเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ระหว่าง 100 ? 1,350 เมตรและความสูงชันอยู่ระหว่าง 25o-30o ภูเขาบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด นอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมาก และยังเป็นแหล่งต้นน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งอยู่ทางด้านทางทิศตะวันออกของเทือกเขานี้ ได้แก่ คลองนาท่อม คลองหัวมร คลองท่ามะเดื่อ คลองป่าบอน คลองพรุพ้อ และคลองรัตภูมิ ซึ่งคลองเหล่านี้จะเป็นที่รวมของลำน้ำเล็กอีกจำนวนหลายสายที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ทางด้านตะวันตก นั้นก็เช่นเดียวกันยังมี ลำน้ำอีกหลายสาย ที่ต้นน้ำเกิดจากภูเขาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ได้แก่ แม่น้ำตรัง แม่น้ำปะเหลียน คลองลิพังและคลองละงู

ภูมิอากาศ

มี 2 ฤดู คือฤดูฝนและฤดูร้อน ช่วงที่อุณหภูมิต่ำสุดคือ เดือนพฤศจิกายน-มกราคม และช่วงที่อุณหภูมิ สูงสุด คือ เดือนมีนาคม-เมษายน

ข้อมูลด้านชีวภาพ

ทรัพยากรป่าไม้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีสภาพป่าที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ป่าดิบชื้นและป่าเขาหินปูน ซึ่งเป็นป่าที่ไม่ผลัดใบ -ป่าดงดิบชื้น เป็นป่าที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พบตั้งแต่บริเวณลำห้วยขึ้นไปจนถึงยอดเขา มีพรรณไม้ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เรือนยอดปกคลุมมากกว่า 80% บริเวณพื้นที่ป่าปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ ซึ่งเป็นซากของใบไม้กิ่งไม้เป็นจำนวนมาก -ป่าเขาหินปูน เป็นป่าที่ขึ้นอยู่เฉพาะตามภูเขาที่เป็นเขาหินปูนเท่านั้น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด พบว่าป่าเขาหินปูนบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าโตนเต๊ะ และบริเวณถ้ำเจ็ดคตใกล้หน่วยพิทักษ์ป่าคีรีวง สภาพป่าเป็นป่าแคระแกร็น ไม้ที่ขึ้นอยู่มีขนาดเล็ก เนื่องจากมีซับหน้าดินน้อยมากชนิดพรรณไม้บริเวณที่ขึ้นถึงนั้นเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ไม่สูงชัน มีชั้นหน้าดินค่อนข้างหนาและติดอยู่กับป่าดิบชื้น

ทรัพยากรสัตว์ป่า

กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น ค้างคาวขอบหูขาว ค้างคาวขอบหูดำ ค้างคาวหัวดำ ค้างคาวหน้ายาว ค้างคาวหางโผล่ กระรอกหางม้า กระรอกดิน กระเต็น พญากระรอกบินหูแดง หนูขนเสียน หนูหวาย หนูฟาน และหนูฟันขาว กลุ่มนก จำนวน 283 ชนิดมีนกจำนวนหลายวงศ์ ที่มีจำนวนชนิดสูงมากเกิน 10 ชนิด วงศ์กินแมลงมีจำนวน 26 ชนิด วงศ์นกปรอด 17 ชนิด วงศ์นกหัวขวานมี 18 ชนิด วงศ์นกจับแมลง 14ชนิด วงศ์นกกินปลามี 12 ชนิดและวงศ์นกคัดคู 11 ชนิด กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีวงศ์กบต่างๆ จำนวน 16 ชนิด วงศ์อึ่งต่างๆ จำนวน 7 ชนิด กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มเต่า กลุ่มตะพาบน้ำ มีจำนวน 3วงศ์ 9 ชนิด กลุ่มตั๊กแก กิ้งก่าและจิ้งเหลน มี 4 วงศ์ 35 ชนิด กลุ่มงูมี 6 วงศ์ 28 ชนิด กลุ่มปลาน้ำจืด รวมทั้งสิ้น 29 ชนิด วงศ์ที่มีจำนวนชนิดที่สูงที่สุด คือ วงศ์ปลารากกล้วย มีจำนวน 6 ชนิด รองลงไปคือ วงศ์ปลาแขยง และวงศ์ปลาช่อน

สถานที่ติดต่อ

บ้านนาวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya